เดอะซิมส์ (ชุดวิดีโอเกม)

เดอะซิมส์ (อังกฤษ: The Sims) เป็นหนึ่งในชุดวิดีโอเกมที่พัฒนาโดยแม็กซิส และจัดจำหน่ายโดยอิเลคโทรนิค อาร์ต เดอะซิมส์เป็นหนึ่งในชุดวิดีโอเกมที่ประสบความสำเร็จตลอดกาล โดยเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551 มีการรายงานว่าชุดเกม เดอะซิมส์ มียอดขายมากกว่า 100 ล้านชุด[1] และเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 ชุดเกม เดอะซิมส์ ได้ชื่อว่าเป็นชุดเกมคอมพิวเตอร์ที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดเกมหนึ่งในประวัติศาสตร์[2]

เดอะซิมส์
สัญลักษณ์ของเกมชุด เดอะซิมส์ (2557–ปัจจุบัน)
ประเภทจำลองสถานการณ์ชีวิต
ผู้พัฒนาแมกซิส (พ.ศ. 2543–พ.ศ. 2549, พ.ศ. 2556–)
เดอะซิมส์สตูดิโอ (พ.ศ. 2549–)
ผู้จัดจำหน่ายอิเล็กทรอนิก อาตส์
ผู้จัดสร้างวิลล์ ไรต์
ระบบปฏิบัติการหลากหลาย
ลงครั้งแรกบนไมโครซอฟท์ วินโดวส์
วางจำหน่ายครั้งแรกเดอะซิมส์
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
จำหน่ายครั้งล่าสุดเดอะซิมส์ 4: คอตเทจลีฟวิง
1 มิถุนายน พ.ศ. 2564
ภาคแยกSee below

โลกของเดอะซิมส์เป็นโลกแห่งจินตนาการที่ดำเนินอยู่ภายในเกม ผู้เล่นจะต้องควบคุมซิมส์คนหนึ่งหรือครอบครัวซิมส์ครอบครัวหนึ่ง และมีหน้าที่ตัดสินใจหรือสั่งการให้ตัวละครที่เราควบคุมอยู่ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่เราต้องการ โดยมีหลักการว่า คำสั่งที่เราป้อนให้ตัวละครชาวซิมส์นั้น ควรจะเป็นคำสั่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของชาวซิมส์ในขณะนั้นมากที่สุดและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่สุด ผู้เล่นจะต้องช่วยให้ตัวละครที่ตนเองควบคุมสามารถดำเนินชีวิตในโลกของพวกเขาได้อย่างปกติสุข นอกจากตัวเกมภาคหลักแต่ละภาคยังมีภาคเสริมอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มความหลากหลายในการเล่นตามมาอีกมากมาย

ประวัติ แก้

 
จากรูปคือเกมทั้งหมดในเกมชุดเดอะซิมส์

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ได้ประกาศอย่างเป็นเป็นทางการว่าเกมชุด เดอะซิมส์ ถูกจำหน่ายไปมากกว่า 52 ประเทศ[3] และเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551 เกมชุดเดอะซิมส์ทำลายสถิติด้วยการจำหน่ายทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านชุด[1] และได้ชื่อว่าเป็นชุดเกมคอมพิวเตอร์ที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดเกมหนึ่งในประวัติศาสตร์[2]

ชุดเกมหลัก แก้

เดอะซิมส์ แก้

เดอะซิมส์ (อังกฤษ: The Sims) เป็นเกมแรกในตระกูลเดอะซิมส์ เดิมวางจำหน่ายเฉพาะในรูปแบบสำหรับคอมพิวเตอร์ในระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 มีภาคเสริมทั้งหมด 7 ภาค (รวมกับตัวหลักแล้วมีทั้งหมด 8 ภาค) ซึ่งภาคเสริมเหล่านี้ถูกนำไปจัดรวมเป็นกล่องเดียวกับภาคหลัก หรือภาคเสริมด้วยกันในหลายรูปแบบ รวมทั้งมีการผลิตในรูปแบบอื่นๆอีก เช่น เพลย์สเตชัน 2, เกมบอย แอดวานซ์ ฯลฯ ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2545 มีรายงานว่าเกมเดอะซิมส์มียอดจำหน่ายไปมากกว่า 6.3 ล้านก๊อปปี้ทั่วโลก และยังเป็น เกมคอมพิวเตอร์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในประวัติศาสตร์ แซงหน้าเกมมิสท์ที่มียอดจำหน่ายเท่ากันในเวลานั้นอีกด้วย[4]

เดอะซิมส์ 2 แก้

แม็กซิสได้จำหน่ายเกม The Sims 2 เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2547 . โดยภาพของเกมนี้จะใช้กราฟิก 3D ช่วยทำให้เกมดูน่าเล่นขึ้นกว่าเดิม โดยสิ่งที่เพิ่มเข้ามาจากเดอะซิมส์ตัวก่อนก็คือ ชาวซิมส์มีวิวัฒนาการ 6 ช่วงอายุ คือ ทารก วัยเด็กหัดเดิน วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยชรา (ในภาคเสริม มหาลัยวัยฝัน มีช่วงอายุวัยมหาลัยเพิ่มขึ้นมา ซึ่งจะเป็นเฉพาะชาวซิมส์ที่เข้ามหาวิทยาลัย) ชาวซิมส์จะเสียชีวิตเองเมื่ออายุขัยในวัยชรา ซึ่งช่วงอายุขัยในวัยชรากำหนดโดยค่าคะแนนปณิธานตอนเริ่มแรกที่ย่างเข้าสู่วัยชรา และตัวเกมยังมีระบบ "แบบสัปดาห์" ทำให้เด็กๆได้อยู่ที่บ้านหลังจากกลับจากโรงเรียน และยังมี "วันหยุดพักผ่อน" สามารถหยุดงานแล้วไม่มีผลกระทบใดๆจากงานที่ทำ อีกทั้งยังมี "แถบระดับปณิธาน" ชาว ซิมส์แต่ละคนมีความปรารถนาและความกลัวที่สอดคล้องกับปณิธาน ช่วงวัยของเขาและเหตุการณ์ปัจจุบัน เมื่อความปรารถนาบรรลุผล ระดับคะแนนปณิธานจะเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าสิ่งที่กลัวเป็นจริง ระดับคะแนนปณิธานจะลดลง และยังมี "รางวัลปณิธาน" คุณสามารถซื้อได้โดยใช้ "คะแนนปณิธาน" โดยคะแนนปณิธาณจะได้จากความปรารถนาที่บรรลุผลเท่านั้น หากสิ่งที่กลัวนั้นเป็นจริง คะแนนปณิธานจะลดลง.

โดยในเกม เดอะซิมส์ 2 นั้นจะข้ามเวลาไปเมื่อ 25 ปีหลังจากตัวเกมเดอะซิมส์ อย่างเช่นครอบครัวโกธได้มีปริศนาการหายตัวไปอย่างลึกลับของเบลล่า โกธในช่วงระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากตัวเกมได้เปลี่ยนรูปแบบจากสไปรต์ 2 มิติไปเป็นรูปแบบสามมิติ เดอะซิมส์ 2 จึงได้มีการทำให้คอนเทนต์ต่างๆสูงขึ้นจากพื้นดิน เนื่องจากเดอะซิมส์ 2 ไม่ได้ทำให้มีความเข้ากันได้กับรุ่นแรกของชุดเกมหลัก อย่างไรก็ตามวัตถุและคุณสมบัติบางอย่างได้ทำซ้ำหรือทำขึ้นมาใหม่สำหรับภาคต่อภาคนี้

เพราะหน้าตาและละแวกเพื่อนบ้านสามารถเลือกได้มากยิ่งขึ้น, อีกทั้งภาคนี้มีทั้งภาคเสริม 8 ภาค และชุดไอเท็มเสริมอีก 9 ภาค (รวมกับตัวหลักแล้ว) ทั้งหมดมี 18 ภาค

เดอะซิมส์ 3 แก้

เดอะซิมส์ 3 นั้นทางอีเอได้ประกาศอย่างเป็นการแล้วเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2549. มีวางจำหน่ายไปทั่วโลกและจำหน่ายในรูปแบบดิจิตอล ดาวน์โหลด เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 [5] การผลิตของ เดอะซิมส์ 3 นั้นเริ่มต้นหลังจากที่ เดอะซิมส์ 2จำหน่ายไปได้ 2 ปีกว่า โดยตัวเกมนั้นจะถูกย้อนไปเมื่อ 25 ปีก่อนจากตัวเกมเดอะซิมส์, โดยเกมนี้ได้เปิดโอกาสให้สามารถเดินไปไหนต่อไหนได้โดยที่ไม่รอยต่อ และได้ปรับปรุงหน้าจอผู้ใช้ ซึ่งในภาคสามนี้จะมีภาคเสริมอื่นๆอีกในอนาคต

ภาคเสริมตัวแรกของเดอะซิมส์ 3 มีชื่อว่า เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ซึ่งพัฒนาโดย The Sims Division ได้วางจำหน่ายแล้ว รวมถึงชุดไอเท็มเสริม ไฮ-เอนด์ ลอฟท์ ซึ่งเป็นชุดไอเท็มเสริมที่ครบรอบ 10 ปี เกมเดอะซิมส์ ได้แถมไอเท็มจากเดอะซิมส์ และเดอะซิมส์ 2 ได้วางจำหน่ายแล้ว และภาคเสริมล่าสุดคือ เดอะซิมส์ 3 แอมบิชันส์ และนอกจากนี้ยังมีสิ่งของเพิ่มเติมให้ดาวน์โหลดอีกใน The Sims 3 Store

เดอะซิมส์ 4 แก้

จากข้อมูลของเว็บไซต์หลักอย่างเป็นทางการของเดอะซิมส์ เดอะซิมส์4 นี้ได้เปิดเผยภาพแล้วและจะทำการเปิดตัวในปี 2014 [6]

ชุดเกมที่นอกเหนือจากนี้ แก้

เดอะซิมส์ ออนไลน์ แก้

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ทางแม็กซิสได้จำหน่ายเกม เดอะซิมส์ ออนไลน์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น อีเอ แลนด์, ซึ่งดัดแปลงมาจากเกมเดอะซิมส์ที่ ได้รับความนิยมอย่างสูง ผู้ใช้ต้องเสียค่าสมาชิกรายเดือน เนื่องจากการเล่นแบบออนไลด์ยังมีค่าใช้จ่ายสูงจึงไม่มีผู้เล่นมากนักโครงการ ถูก EA ปรับปรุงในชื่อ EA-Land และเปิดให้บริการในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ผู้เล่นไม่จำเป็นต้องเสียค่าสมาชิกรายเดือน แต่ผู้เล่นจะต้องจ่ายเงินจริงสำหรับซื้อเงินในเกม (หน่วยเงินเป็นซิโมลีน) และผู้เล่นสามารถเปลี่ยนเงินในเกมเป็นเงินจริงได้ แต่เมื่อถึงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551 อีเอแลนด์ จึงปิดเซิร์ฟเวอร์เกมนี้ไป. เป็นผลมาจากยอดผู้เล่นที่น้อยจนเกินไป ไม่ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงไม่ได้รับความนิยม

มายซิมส์ แก้

มายซิมส์ เป็นหนึ่งในเกมชุด เกมคอนโซล ตัวเกมนี้ผลิตโดย อีเอ จำหน่ายในรูปแบบเครื่องเล่น Wii และ Nintendo DS. โดยตัวละครจะคล้ายๆ Chibi (หรือตัวการ์ตูนญี่ปุ่นตัวเล็กๆ) (จะคล้ายกับเครื่องเล่น Wii ที่ใช้ Mii อวตารเป็นหลัก). เป็นเกมชุดตัวแรกที่แยกจากเดอะซิมส์ วางจำหน่ายเมื่อเดือน กันยายน พ.ศ. 2550. (ในประเทศไทย มายซิมส์จะมีจำหน่ายเฉพาะในรูปแบบ พีซี เท่านั้น)

เดอะซิมส์ สตอรี่ แก้

เดอะซิมส์ สตอรี่ เป็นเกมในตระกูล "เดอะซิมส์", ถอดแบบมาจากเดอะซิมส์ 2, และสามารถเล่นบน โน้ตบุ๊คได้, เกมนี้ยังมีความต้องการของระบบเหมือนเดอะซิมส์ 2เช่นเดิม, แต่ถ้าคุณเล่นบน เดสก์ท็อป. จะมีเพียงโหมดเดียว แต่ถ้าคุณเล่นบนโนัตบุ๊ค จะมีโหมดหยุดอัตโนมัติ ในเวลาที่คุณปิดฝาจอโน้ตบุ๊ค ตัวเกมจะหยุดชั่วคราว แล้วก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิมอีกครั้งเมื่อเปิดฝาจอโน้ตบุ๊ค[7] ในตอนนี้, ทั้งสามเกมได้จัดจำหน่ายเรียบร้อยแล้ว.[8]

เดอะซิมส์ คานิวอล แก้

เดอะซิมส์ เมดิวัล แก้

ชุดเกมสำหรับคอนโซลและเครื่องเล่นพกพา แก้

ยุค เดอะซิมส์ แก้

เดอะซิมส์เป็นเกมแรกที่ลงบนเครื่องคอนโซล ซึ่งใช้ชื่อเดียวกับเกมภาคหลักที่ลงบนเครื่องพีซี

เดอะซิมส์ บัสติน' เอ้าท์ เป็นหนึ่งในเกมชุดคอนโซล เดอะซิมส์ เดอะซิมส์ บัสติน' เอ้าท์ จำหน่ายในรูปแบบ เพลย์สเตชัน 2, เอกซ์บอกซ์, นิทเทนโด เกมคิวบ์, เกมบอย แอดวานซ์ และ เอ็น-เกจ จำหน่ายในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี พ.ศ. 2546. ดังนั้นในเกมนี้ ชาวซิมส์สามารถออกจากบ้านแล้วมาพื้นที่ต่างๆในเกมได้อย่างเช่น Shiny Things Lab หรือ Casa Caliente. ตัวเกมจะมีสองโหมดคือ Bust Out Mode คุณจะต้องเล่นตามภารกิจในเกมเพื่อปลดล็อกสิ่งของต่างๆ และโหมด Freeplay นั้น เปิดโอกาสให้คุณเล่นและดูแลชีวิตเหมือนในเกม เดอะซิมส์ ในรูปแบบพีซี. ตัวเกมดังกล่าวไม่ทำในรูปแบบพีซี เพราะตัวเกมส่วนใหญ่มาจากเดอะซิมส์ตัวหลัก ตัวเกมนี้จึงเหมาะสมกับ เดอะซิมส์ บัสติน' เอ้าท์ นอกเสียจาก ความตั้งใจที่จะให้ชาวซิมส์ได้เลื่อนขั้นและทำให้สำเร็จตามเป้าหมายในเกม. ในเพลย์สเตชัน 2 มีระบบออนไลน์ให้เลือกเล่นได้, อย่างไรก็ตามทางอีเอ จะไม่มีการสนับสนุนเกมเดอะซิมส์ บัสติน' เอ้าท์อีกต่อไป

เดอะเอิร์บ  : ซิมส์ อิน เดอะ ซิตี ตัวเกมจะอยู่ในเมือง, น่าจะเป็นเมืองซิมซิตี. ผู้เล่นจะต้องทำให้ตัวเองมีชื่อเสียงและทำให้ตัวเองโดดเด่นให้ได้. ตัวเกมนี้จำหน่ายในรูปแบบของ เพลย์สเตชัน 2, เอกซ์บอกซ์, นินเทนโด ดีเอส, นิทเทนโด เกมคิวบ์ และ เกมบอย แอดวานซ์. อีกทั้งยังให้นักร้องวง The Black Eyed Peas เป็นตัวละคร NPC อีกด้วย.

ยุค เดอะซิมส์ 2 แก้

เดอะซิมส์ 2, เดอะซิมส์ 2 ตัวโปรดจอมป่วน, และ เดอะซิมส์ 2 โดดเดี่ยวสตอรี่ ทั้งสามเกมได้ปล่อยลงบนเครื่องคอนโซลรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นินเทนโด วี, เพลย์สเตชัน 2, เอกซ์บอกซ์ 360 และ นินเทนโด ดีเอส สำหรับเกม เดอะซิมส์ 2 อพาร์ตเมนต์ เพ็ทส์, เป็นภาคต่อจาก เดอะซิมส์ 2 ตัวโปรดจอมป่วน ซึ่งได้ปล่อยลงบนเครื่อง นินเทนโด ดีเอส เท่านั้น

ยุค เดอะซิมส์ 3 แก้

เดอะซิมส์ 3 และ เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ได้เปิดตัวแล้วบนเครื่อง ไอโฟน และ ไอพอดทัช ส่วนเกมเดอะซิมส์ 3 บนเครื่อง นินเทนโด วี, เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 และ นินเทนโด ดีเอส กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาเกม

ยุค เดอะซิมส์ 4 แก้

อิเลคโทรนิค อาร์ต ได้ประกาศเปิด เดอะซิมส์ รุ่นที่ 4 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2556[9] ช่วงแรกที่ได้มีการประกาศนั้น มีเพียงแต่ข้อมูลเพียงเล็กน้อย รวมถึงตราสัญลักษณ์ในเกม รูปแบบบางส่วน และตัวอย่างวิดีโอการเล่น โดยเผยแพร่บน YouTube เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2556

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2557 ได้มีประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกม โดยประกาศวันจำหน่ายอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน 2557 ในงาน E3 2014 เดือนตุลาคมหลังได้มีการจำหน่าย เดอะซิมส์ 4 ทีมงานก็ได้มีการประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพทช์ใหม่ที่สามารถอัปเดตได้ฟรีจาก Origin โดยมีส่วนเสริมพิเศษที่ถูกตัดออกไปในภาคนี้ เช่นระบบการตายของซิมส์ สระน้ำ และอาชีพใหม่ ในเดือนธันวาคม ภายในปีเดียวกันก็ได้ประกาศตัวชุดเกมเสริม (Game Pack) ใหม่สำหรับเดอะซิมส์ 4 ในชื่อ เอาต์ดอร์รีทรีต (Outdoor Retreat) สามารถซื้อได้ในแบบดิจิตอลเท่านั้น[10] และได้จำหน่ายในเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2558

ในปี พ.ศ. 2558 ได้มีการประกาศภาคเสริมตัวแรกในชื่อ เดอะซิมส์ 4 เก็ตทูเวิร์ค (Get to Work)[11] โดยผู้เล่นที่มีภาคเสริมชุดนี้ จะสามารถพาซิมส์ไปทำงานได้ในที่ทำงานจริง โดยมีอาชีพที่เพิ่มมาใหม่คือ แพทย์, นักสืบ, นักวิทยาศาสตร์ และผู้ประกอบการธุรกิจ ที่สามารถเปิดธุรกิจได้แบบของตนเอง อีกทั้งมีระบบการเจ็บป่วยของซิมส์[12]ที่เพิ่มมาในภาคเสริมนี้อีกด้วย

รางวัลแห่งความสำเร็จ แก้

รางวัลแห่งความสำเร็จที่ เดอะซิมส์ เป็นเกมที่ได้รางวัล Guinness World Records awarding ติดต่อมาถึง 5 สมัย และยังได้รางวัล Guinness World Records: Gamer's Edition 2008 อีกด้วย รวมถึงรางวัล "World's Biggest-Selling Simulation Series"(เกมแนวจำลองชีวิตที่ขายดีที่สุดในโลก) และยังได้รางวัล "Best Selling PC Game of All Time"(เกมคอมพิวเตอร์ที่ขายดีตลอดกาล) สำหรับเดอะซิมส์ 1 ตัวหลัก สามารถขายได้ 16 ล้าน ก๊อปปี้ และก็สามารถขายได้ทั้งหมด (เมื่อรวมเดอะซิมส์และเดอะซิมส์ 2 ทั้งภาคเสริมและตัวหลักแล้ว) 100 ล้านก๊อปปี้

อนาคตของเดอะซิมส์ แก้

กว่าระยะเวลา 5 ปี ที่ The Sims 3 ออกมาให้พวกเราได้เล่นกันพร้อมกับ DLC หรือภาคเสริมที่ทยอยออกมาให้เล่นกันเรื่อยๆ แบบซื้อแทบไม่ทัน มาวันนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่ The Sims 4 จะคลอดออกมาให้พวกเราได้สนุกไปกับชาวซิมส์ในภาคใหม่ที่ได้รับการปรุงแต่งให้น่าสนใจและดูสมจริงมากยิ่งขึ้นกันบ้าง แต่เชื่อเถอะว่าเดี๋ยวก็มีภาคเสริมตามออกมาขายเป็นขบวนรถไฟเหมือนเดิม!!ในอนาคตคาดว่าจะมีเกม The Sim 5,6,7...ๆลๆ มีไปเรื่อยๆจนกว่าผู้ผลิตจะเลิกทำ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "The Sims Celebrates 100 Million Sold Worldwide" (PDF) (Press release). Electronic Arts. 2008-04-16. สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.
  2. 2.0 2.1 "IGN: The Sims 3 Set for Global Launch in 2009". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-15. สืบค้นเมื่อ 2009-06-13.
  3. "The Sims Franchise Celebrates Its Fifth Anniversary and Continues to Break Records". TMC Net. 2005-02-07. สืบค้นเมื่อ 2007-05-19.
  4. Walker, Trey (2002-03-22). "The Sims overtakes Myst". GameSpot. CNET Networks. สืบค้นเมื่อ 2008-12-05.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-08-10.
  6. http://thesims.com/en_US/thesims4เก็บถาวร 2013-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. "About - The Sims Stories". The Sims 2 (EA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-28. สืบค้นเมื่อ 2007-10-31.
  8. "About The Sims Stories: Coming Winter 2008". Yahoo! Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-03. สืบค้นเมื่อ 2007-10-31.
  9. "Maxis Unveils The Sims 4". EA News. May 6, 2013. สืบค้นเมื่อ December 3, 2013.
  10. "Just what Is a Game Pack?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-27. สืบค้นเมื่อ December 19, 2014.
  11. http://simsvip.com/2015/02/04/the-sims-4-get-to-work-expansion-pack-trailer-released/
  12. "Your Sim, M.D." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-01. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้