เดวิดกับหัวโกไลแอธ (คาราวัจโจ-เวียนนา)

เดวิดกับหัวโกไลแอธ (อังกฤษ: David with the Head of Goliath) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจ[1] จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะในกรุงเวียนนาในประเทศออสเตรีย

เดวิดกับหัวโกไลแอธ
ศิลปินคาราวัจโจ
ปีค.ศ. 1607
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
สถานที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ, เวียนนา

ภาพ “เดวิดกับหัวโกไลแอธ” เขียนราวปี ค.ศ. 1607 ปีเตอร์ รอบบ์ (Peter Robb) ผู้เขียนชีวประวัติของคาราวัจโจเชื่อว่าภาพนี้ซื้อโดยเคานท์แห่งวิลลาเมดิอานาในเนเปิลส์ระหว่างปี ค.ศ. 1611 ถึงปี ค.ศ. 1617 ที่จิโอวานนิ เปียโตร เบลโลริบันทึกไว้ว่าวิลลาเมดิอานากลับไปสเปนพร้อมกับภาพเขียนครึ่งตัวของเดวิดโดยคาราวัจโจ

ภาพของคาราวัจโจแสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชั่วขณะที่บรรยายใน 1 ซามูเอล 17:57: “เมื่อเดวิดกลับมาจากการฆ่าคนฟิลลิสตีน, แอ็บเนอร์ดึงตัวเดวิดเข้าไปหาซอลขณะที่หัวของโกไลแอธยังอยู่ในมือของเดวิด” การวางท่าในภาพเป็นการวางท่าโดยทั่วไปของการเขียนภาพนี้ ที่แสดงเดวิดถือหัวของโกไลแอธด้วยความภูมิใจ ในฉบับบอร์เกเซคาราวัจโจเปลี่ยนเป็นเดวิดยื่นหัวโกไลแอธมาทางผู้ชมภาพ [1] ที่ทำให้ผู้ชมภาพอยู่ในฐานะซอล

ภาพเขียนอาจจะเปรียบได้กับภาพเดียวกัน “เดวิดกับหัวโกไลแอธ” ที่หอศิลป์บอร์เกเซ ที่เขียนไม่ในปี ค.ศ. 1607 ก็ในปี ค.ศ. 1609/1610 ภาพเขียนสองภาพนี้มีความคล้ายคลึงกัน เช่นเดียวกับการเขียนภาพนักบุญจอห์แบ็พทิสต์คาราวัจโจศึกษาและเขียนภาพนี้จากมุมต่างๆ แต่ภาพที่อยู่ที่เวียนนามีบรรยากาศที่ไม่หนักเท่ากับฉบับบอร์เกเซ เดวิดของเวียนนามีความรู้สึกถึงชัยชนะมากกว่าความเดวิดฉบับบอร์เกเซที่ดูมีความรู้สึกใคร่ครวญและซึมเศร้า และใบหน้าของโกไลแอธที่เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นภาพเหมือนตนเองของคาราวัจโจ แต่โกไลแอธบอร์เกเซก็เป็นใบหน้าทั่วไป

นายแบบสำหรับเดวิดทั้งของบอร์เกเซและเวียนนาน่าจะเป็นคนเดียวกับผู้ที่เป็นแบบสำหรับคิวปิดใน “ชัยชนะของความรัก” และ “นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์” ที่โตขึ้น ภาพทั้งหมดเขียนเมื่อปี ค.ศ. 1602 ผู้ที่เป็นแบบของภาพเหล่านี้สันนิษฐานกันโดยผู้เชี่ยวชาญหลายคนรวมทั้งปีเตอร์ รอบบ์ ว่าเป็นเช็คโค เด็กที่เป็นผู้รับใช้ของคาราวัจโจในกรุงโรมเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1600 และเป็นคนคนเดียวกับเช็คโค เดล คาราวัจโจ จิตรกรที่ทำงานที่โรมระหว่างปี ค.ศ. 1610 ถึงปี ค.ศ. 1625 และมีงานเขียนที่มีลักษณะที่เป็นแบบการเขียนของคาราวัจโจ แต่ไม่มีหลักฐานว่าเช็คโคอยู่กับคาราวัจโจหลังจากที่หลบหนีจากโรมในปี ค.ศ. 1606 หรือไม่

อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้