เซเลสเทีย
เซเลสเทีย (อังกฤษ: Celestia) เป็นซอฟต์แวร์เสรี ด้านดาราศาสตร์ ใช้ได้ทั้งบนระบบไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และ ลินุกซ์ ภายใต้เงื่อนไขโครงการกนู
ผู้ออกแบบ | คริส ลอเรล (Chris Laurel) |
---|---|
นักพัฒนา | คริส ลอเรล และคณะผู้เขียนโปรแกรม |
วันที่เปิดตัว | 26 กุมภาพันธ์ 2001[1] |
รุ่นเสถียร | 1.6.2.2
/ 13 มกราคม 2021[2] |
รุ่นทดลอง | 1.6.2-beta3
/ 10 มิถุนายน 2020[3] |
ที่เก็บข้อมูล | |
ภาษาที่เขียน | C++ |
ระบบปฏิบัติการ | AmigaOS 4, BSD, ลินุกซ์, แมคโอเอส, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, ไอโอเอส, แอนดรอยด์ |
ขนาด | ลินุกซ์: 27.7 MB AmigaOS 4: 44.4 MB แมคโอเอส: 38.7 MB วินโดวส์: 32.8 MB Source code: 52.6 MB[4] |
ภาษา | 28 ภาษา[5] |
ประเภท | ซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษา |
สัญญาอนุญาต | สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู |
เว็บไซต์ | celestiaproject |
โปรแกรมนี้ออกแบบโดย คริส ลอเรล (Chris Laurel) โดยใช้ฐานข้อมูลดวงดาวจากรายชื่อวัตถุท้องฟ้าของฮิปปาร์คอส (Hipparcos Catalogue) ผู้ใช้โปรแกรมสามารถมองภาพดาวเทียม ดาว จนถึงกลุ่มดาว เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระด้วย OpenGL นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถจำลองภาพการเดินทางไปในอวกาศได้เหมือนจริง และสามารถดาวน์โหลดโปรแกรม add-on เพิ่มเติมได้
จุดเด่นของโปรแกรมเซเลสเทียคือ ผู้ใช้สามารถสร้างวัตถุขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง เป็นฟอร์แมต 3ds (3D Studio Max) กำหนดพื้นผิวของวัตถุได้เอง และกำหนดรูปแบบการเคลื่อนที่ของวัตถุได้ จึงมีผู้ใช้จำนวนมากเขียน add-on ขึ้นมาเอง เพื่อแสดงภาพยานอวกาศในจินตนาการ เช่น ยานอวกาศจากภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส, 2001 จอมจักรวาล หรือแม้แต่จรวดสำรวจดวงจันทร์ในหนังสือการ์ตูน ตินตินผจญภัย ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์
การใช้งานในสื่อ
แก้องค์การอวกาศยุโรป (ESA) และองค์การนาซานำโปรแกรมเซเลสเทียมาใช้ในเชิงการศึกษา[6] กับโครงการเผยแพร่[7] และการเชื่อมต่อกับซอฟต์แวร์วิเคราะห์วิถี[8]
ตัวอย่างภาพจากโปรแกรม
แก้- "ยานอวกาศในสตาร์วอร์ส สร้างจากเซเลสเทีย"
- "ยานอวกาศใน 2001 จอมจักรวาล สร้างจากเซเลสเทีย"
- "ยานอวกาศใน ตินตินผจญภัย สร้างจากเซเลสเทีย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 พฤษภาคม 2006.
อ้างอิง
แก้- ↑ "Alpha release". GitHub. สืบค้นเมื่อ 22 February 2020.
- ↑ "Celestia: News". celestia.space. 10 มิถุนายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 เมษายน 2020. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ "Release 1.6.2 Beta 3". GitHub. สืบค้นเมื่อ 10 June 2020.
- ↑ "Celestia - Browse Files at SourceForge.net". SourceForge. Geeknet, Inc. สืบค้นเมื่อ 9 June 2011.
- ↑ "Celestia localization". Transifex. สืบค้นเมื่อ 22 February 2020.
- ↑ "Celestia Exploration Activity". NASA Learning Technologies. National Aeronautics and Space Administration. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-23. สืบค้นเมื่อ 2007-10-26.
- ↑ "Mars Express orbit lowered". Closing in on the Red Planet. European Space Agency. 2003. สืบค้นเมื่อ 2007-10-26.
Upcoming Mars Express flight orbits until 7 January, getting closer to the Red Planet. Generated with Celestia software.
- ↑ Schouten, G. "Space Trajectory Analysis (STA)" (PDF). Delft University of Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-11-28.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เซเลสเทีย
- เว็บไซต์ทางการ
- GitHub repository Current binaries and source code
- Celestia Archive Repository Archive of Windows, macOS, and Linux binaries
- ฟอรัมทางการ เก็บถาวร 2021-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- "ตัวอย่างภาพจากเซเลสเทีย" องค์การอวกาศแห่งสหภาพยุโรป (ESA)
- "2005 A Celestia Space Odyssey" ตัวอย่างภาพวิดีโอที่สร้างด้วยโปรแกรมเซเลสเทีย
- Celestia.Mobi main site