เซิน หง็อก ถั่ญ
เซิน หง็อก ถั่ญ (เวียดนาม: Sơn Ngọc Thành; เขมร: សឺង ង៉ុកថាញ់) เป็นนักการเมืองชาตินิยมและนิยมสาธารณรัฐในกัมพูชา มีประวัติการต่อสู้ที่ยาวนานในฐานะกบฏผู้ต่อต้านรัฐบาลและได้เป็นนายกรัฐมนตรีในเวลาสั้น ๆ
เซิน หง็อก ถั่ญ | |
---|---|
นายกรัฐมนตรีกัมพูชา คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 14 สิงหาคม พ.ศ. 2488 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2488 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ |
ก่อนหน้า | เจ้านโรดม สีหนุ |
ถัดไป | สมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศ |
ดำรงตำแหน่ง 18 มีนาคม พ.ศ. 2516 – 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | |
ประธานาธิบดี | ลอน นอล |
ก่อนหน้า | สีสุวัตถิ์ สิริมตะ |
ถัดไป | ฮาง ทุน ฮัก |
รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2516 | |
ก่อนหน้า | คาน์ วิค |
ถัดไป | ลอง โบเรต |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2451 จ่าวิญ โคชินจีน |
เสียชีวิต | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2520 (68 ปี) เวียดนาม |
พรรคการเมือง | กรมประชาชน เขมรเสรี |
ชีวิตช่วงแรก
แก้เซินเกิดที่เมืองจ่าวิญ ในเวียดนามใต้เมื่อ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2451 บิดาเป็นชาวเขมรต่ำ มารดาเป็นลูกครึ่งจีน-เวียดนาม[1] ผ่านการศึกษาในไซ่ง่อนและปารีส เรียนกฎหมายอีก 1 ปีแล้วจึงกลับสู่อินโดจีน โดยมาทำงานเป็นพนักงานฝ่ายปกครองในโพธิสัตว์และอัยการในพนมเปญก่อนจะเป็นรองผู้อำนวยการสถาบันพุทธศาสนา[2] เซินร่วมมือกับปัช เชือน ออกหนังสือพิมพ์ภาษาเขมรฉบับแรกชื่อ นครวัต เมื่อ พ.ศ. 2479 แนวคิดของหนังสือพิมพ์นี้คือเรียกร้องให้ชาวเขมรต่อต้านการครอบงำทางการค้าของต่างชาติ และเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง แนวคิดของทัญเป็นพวกฝ่ายขวา นิยมสาธารณรัฐ ทำให้เขากลายเป็นฝ่ายตรงข้ามกับพระนโรดม สีหนุเขายังให้การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างเอเชียและสนับสนุนการสอนภาษาเวียดนามในโรงเรียน
ความเกี่ยวข้องกับรัฐบาล
แก้หลังจากการต่อต้านฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2482 เซินได้ลี้ภัยไปยังญี่ปุ่นและกลับมาเมื่อพระนโรดม สีหนุประกาศเอกราชของกัมพูชาเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2488 ระหว่างการยึดครองของญี่ปุ่น และได้เป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคม เมื่อมีการฟื้นฟูอำนาจของฝรั่งเศสในเดือนตุลาคม เซินถูกจับกุมและถูกส่งตัวไปยังไซ่ง่อนและฝรั่งเศสโดยลำดับ[3] ผู้ที่สนับสนุนเขาหลายคนเข้าร่วมกับเขมรอิสระเพื่อต่อสู้กับเจ้าอาณานิคม เซินได้กลับสู่กัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2494 แต่เขาปฏิเสธตำแหน่งรัฐมนตรี โดยหันไปร่วมมือกับผู้นำเขมรอิสระหลายคนและออกหนังสือพิมพ์ "แขมร์โกรก" (ខ្មែរក្រោក, Khmer Kraok) เพื่อสนับสนุนให้ต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส และถูกสั่งห้ามพิมพ์อย่างรวดเร็วใน พ.ศ. 2495 หลังจากนั้น เซินจึงออกจากเมืองไปจัดตั้งกลุ่มต่อต้านในเขตป่าของจังหวัดเสียมราฐ
เซินพยายามเข้าควบคุมเขมรอิสระและกลุ่มผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ซึ่งในจำนวนนี้มีพระนโรดม จันทรังสี และพุทธ ฉายสนับสนุนการเป็นผู้นำของเขา หลังกัมพูชาได้รับเอกราช เซินได้รับการสนับสนุนมากจากชาวแขมร์กรอมแต่มีอิทธิพลน้อยภายในประเทศกัมพูชา และยืนอยู่ตรงข้ามกับกลุ่มฝ่ายซ้าย[ต้องการอ้างอิง]
เขมรเสรี
แก้หลังจากสงครามอินโดจีนครั้งแรกสงบลงเมื่อ พ.ศ. 2497 เซินได้จัดตั้งกองทหารที่เรียกเขมรเสรีในฐานที่มั่นเดิมของเขาที่เสียมราฐเพื่อต่อต้านพระนโรดม สีหนุ ซึ่งทรงเริ่มเห็นว่าเขาเป็นศัตรูสำคัญ ใน พ.ศ. 2502 กลุ่มเขมรเสรีกล่าวหาว่าพระนโรดม สีหนุเป็นคอมมิวนิสต์เพราะร่วมมือกับเวียดนามเหนือ[4] เซินได้เคลื่อนไหวตามแนวชายแดนไทยและเวียดนามใต้ และตั้งสถานีวิทยุออกอากาศโจมตีพระนโรดม สีหนุ หลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2513 ทัญได้รับเชิญให้เข้าร่วมรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรของลน นล และนำกองกำลังเขมรเสรีเข้าร่วมด้วย
ใน พ.ศ. 2515 เซินได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่หลังจากเป็นเป้าหมายของการวางระเบิด (คาดว่าดำเนินการโดยฝ่ายของ ลน นน) เซินจึงลี้ภัยไปเวียดนามใต้ หลังจากที่ฝ่ายเวียดนามเหนือได้รับชัยชนะ เซินถูกจับกุมในเวียดนามใต้ และถูกคุมขังจนเสียชีวิตในคุกเมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2520 รวมอายุได้ 69 ปี
อ้างอิง
แก้- Corfield, Justin J., The History of Cambodia, ABC-CLIO, 2009, ISBN 0313357234
- Kiernan, Ben; How Pol Pot came to power, Yale University Press, 2004, ISBN 9780300102628