เซกิ โอเซกิ (ญี่ปุ่น: 大関正義โรมาจิOzeki Seigi; เกิด 17 ธันวาคม พ.ศ. 2516) เป็นนักแสดงและนายแบบชาวญี่ปุ่น มีชื่อเสียงในวงการบันเทิงไทย จากการแสดงละครเวทีเรื่อง คู่กรรม (2546) รับบทเป็บโกโบริ

เซกิ โอเซกิ
เซกิใน พ.ศ. 2550
เซกิใน พ.ศ. 2550
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด17 ธันวาคม พ.ศ. 2516 (50 ปี)
เซกิ โอเซกิ
ฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น
อาชีพนักแสดง, นายแบบ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2534–ปัจจุบัน

ประวัติ

แก้

เซกิเป็นชาวเมืองฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นบุตรคนเล็กจากทั้งหมดสามคน มีพี่สาวสองคน สำเร็จการศึกษาโทเกียวโชกางากูอิง (Tokyo Shokagakuin) สาขาแฟชั่นดีไซน์ เขาเข้าสู่วงการบันเทิงโดยบังเอิญ จากการที่มีแมวมองชวนเขาถ่ายแบบ และทำงานเป็นนายแบบในประเทศญี่ปุ่น[1] ต่อมา พ.ศ. 2546 เขาได้งานโฆษณาเครื่องดื่มยี่ห้อหนึ่งในไทย ก็ถูกทาบทามให้แสดงละครเวทีเรื่อง คู่กรรมเดอะมิวสิคัล เพราะเขามีบุคลิกตรงกับโกโบริ ตัวเอกของเรื่อง[2] หลังทดสอบการแสดง เขาต้องฝึกร้องและฟังเพลงที่จะต้องแสดงเป็นภาษาไทย[3] โดยใช้เวลาเพียงสัปดาห์เดียวก็จำได้ จากนั้นเขาจึงมีผลงานการแสดงในไทยเรื่อยมา เช่น คู่แรด (2550) รับบท เซกิ[1] และ ซามูไร อโยธยา (2553) รับบท ยามาดะ นางามาซะ[4]

เซกิได้รับการแต่งตั้งเป็นทูตวัฒนธรรมไทยประจำ พ.ศ. 2554 จากกระทรวงวัฒนธรรม[5][6]

ผลงาน

แก้

ภาพยนตร์

แก้
ปี ชื่อเรื่อง รับบท
2544 ดัมป์สตาร์ (ダンプスター: DUMPSTAR) เค็ง
2545 เอมเบรซ (エンブレイス: Embrace)
2550 คู่แรด เซกิ
2553 ซามูไร อโยธยา ยามาดะ นางามาซะ
2557 รักฝังเขี้ยว วายุ

ละครโทรทัศน์

แก้
ปี ชื่อเรื่อง รับบท
2534 ไทเฮกิ (太平記)
2546 ขบวนการนักรบไดโนเสาร์ อาบะเรนเจอร์ ตอน 28 (爆竜戦隊アバレンジャー)
2547 มาสค์ไรเดอร์เบลด ตอน 11-12 (仮面ライダー剣(ブレイド)
ครูไหวใจร้าย ซูบารุ
น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์ ตอน คนที่ใช่ นาโอโตะ
2555 มารยาริษยา เคน
ทองประกายแสด นิค

ละครเวที

แก้
ปี ชื่อเรื่อง รับบท
2546 คู่กรรมเดอะมิวสิคัล โกโบริ
2548 อลหม่านหลังบ้านทรายทอง ชายกลาง
2550 คู่กรรมเดอะมิวสิคัล โกโบริ

มิวสิกวิดีโอ

แก้
ปี เพลง ศิลปิน
2548 หากันจนเจอ ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี และเสาวนิตย์ นวพันธ์

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "เซกิ โอเซกิ หนุ่มยุ่นหัวใจไทย". สนุกดอตคอม. 25 กันยายน 2550. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "เผยโฉม เซกิ โอเซกิ รับบทพระเอกละครเพลงเรื่อง คู่กรรม". สยามโซน. 11 สิงหาคม 2546. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "แขกรับเชิญ-20 ปี แดสฯ 9 ปี ดรีมบอกซ์"ความฝันไม่เคยเปลี่ยน" (2)". คมชัดลึก. 5 เมษายน 2553. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ""ซามูไรอโยธยา" เป็นมากกว่าหนัง". ดาราเดลี. 8 ธันวาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "เซกิ ซามูไรอโยธยา เป็นทูตวัฒนธรรมไทย". กระปุกดอตคอม. 6 ธันวาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "เซกิ โอเซกิ และ บัวขาว ป. ประมุข ได้รับการแต่งตั้งเป็นทูตวัฒนธรรมไทย". Thai Cinema. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้