เฉ่าอัน (จีน: 草庵; พินอิน: Cǎo'ān; เป่อ่วยยี: Chháu-am; แปลตรงตัว: "สำนักชีมุงจาก")[1] เป็นศาสนสถานแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในนครจิ้นเจียง มณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน เดิมเป็นศาสนสถานของศาสนามาณีกีหรืออาจรู้จักในชื่อลัทธิเม้งก่า ภายหลังจึงถูกแปลงเป็นพุทธสถาน กล่าวกันว่าที่นี่เป็น "วัดมาณีกีที่พรางเป็นวัดพุทธ"[2] บ้างก็ว่า "เป็นวัดมาณีกีเพียงแห่งเดียวในประเทศจีน"[3] และ "เป็นสิ่งก่อสร้างของศาสนามาณีกีที่สมบูรณ์ที่สุด และอยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน"[4]

เฉ่าอัน
ศาสนา
ศาสนาพุทธ (เดิม ศาสนามาณีกีแบบจีน)
เทพพระพุทโธภาส
ที่ตั้ง
ประเทศจีน
เฉ่าอันตั้งอยู่ในประเทศจีน
เฉ่าอัน
ที่ตั้งเฉ่าอันในประเทศจีน
ดินแดนมณฑลฝูเจี้ยน
พิกัดภูมิศาสตร์24°46′25″N 118°31′47″E / 24.77361°N 118.52972°E / 24.77361; 118.52972
ที่ตั้งประเทศจีน
บางส่วนเฉวียนโจว: ศูนย์กลางทางการค้าของโลกสมัยราชวงศ์ซ่ง-หยวนของจีน
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: (iv)
อ้างอิง1561
ขึ้นทะเบียน2021 (สมัยที่ 44)

ค.ศ. 2021 เฉ่าอันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก พร้อมกับสถานที่สำคัญอื่น ๆ ในเมืองเฉวียนโจว เพราะเป็นหลักฐานของการแลกเปลี่ยนความคิดและวัฒนธรรมทางศาสนาในช่วงยุคกลางของจีน[5]

ประวัติ แก้

เฉ่าอันถูกสร้างขึ้นกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในรัชสมัยจักรพรรดิซ่งเกาจง ปฐมจักรพรรดิแห่งซ่งใต้ เบื้องต้นมีลักษณะเป็นกระท่อมมุงจาก ก่อนก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุเมื่อ ค.ศ. 1882 ในรัชสมัยจักรพรรดิยฺเหวียนฮุ่ยจง

ศาสนามาณีกีค่อย ๆ สูญไปจากแผ่นดินจีนในยุคราชวงศ์หมิง ในช่วงศตวรรษสุดท้ายของการดำรงอยู่ของศาสนามาณีกี มีกวีชื่อ Huang Fengxiang กล่าวถึงวัดเฉ่าอันที่ถูกทิ้งให้โรยรา และกล่าวถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทางพุทธและเต๋าภายในวัด หาได้กล่าวถึงมาณีกีซึ่งเป็นศาสนาดั้งเดิมของวัดเฉ่าอัน[6]

เหอ เฉียวยฺเหวี่ยน (何乔远) นักประวัติศาสตร์ชาวเมืองเฉวียนโจว บันทึกชื่อศาลเจ้าบนเขาหฺวาเปี่ยวของศาสนามาณีกีลงใน หนังสือแห่งฝูเจี้ยน (จีน: 闽书; พินอิน: Mǐnshū) และเขาได้สรุปสิ่งที่เขารู้เกี่ยวกับศาสนามาณีกีไว้ด้วย ถือเป็นหนึ่งในเอกสารเพียงไม่กี่ชิ้นที่กล่าวถึงลัทธิมาณีกีในจีน[7] นายเหอได้บันทึกไว้ว่าในช่วงเวลานั้นอาจยังมีผู้ที่นับถือ "ศาสนาแห่งแสง" อยู่ แต่มีไม่มากนัก[7]

วัดเฉ่าอันถูกบูรณะปรับปรุงเป็นพุทธสถานเมื่อ ค.ศ. 1922 อุทิศแด่บรรพาจารย์ของอินเดียและจีน แต่ต่อมาวิหารนั้นถูกทิ้งให้ทรุดโทรมอีก[8] แซมูเอล เอ็น. ซี. เหลียว (Samuel N.C. Lieu) ระบุไว้ว่าศาสนิกชนในท้องถิ่นเข้าใจว่า คำว่า "หมอหนี" (摩尼) ที่ถูกจารึกในวัดเฉ่าอัน คือ "[ศากย]มุนี" ([释迦]牟尼) ที่หมายถึงพระโคตมพุทธเจ้า ศาสดาในศาสนาพุทธ[8] หลังจากนั้นไม่กี่ปี อู๋ เหวินเหลียง (吴文良) นักโบราณคดีที่เดินทางไปเฉ่าอัน ก็ได้รับคำอธิบายเช่นนี้จากคนท้องถิ่น[9]

วัดเฉ่าอันขึ้นเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้รับการปกป้องของมณฑลฝูเจี้ยนใน ค.ศ. 1961 และขึ้นเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งชาติจีนในมณฑลฝูเจี้ยนเมื่อ ค.ศ. 1996[10]

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ แก้

  1. Samuel N.C. Lieu and Ken Parry, Manichaean and (Nestorian) Christian Remains in Zayton (Quanzhou, South China). ARC DP0557098 เก็บถาวร 2014-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Werner Sundermann, MANICHEISM i. GENERAL SURVEY ที่ Encyclopædia Iranica
  3. Samuel N.C. Lieu, CHINESE TURKESTAN: vii. Manicheism in Chinese Turkestan and China ที่ Encyclopædia Iranica
  4. Lieu 1992, pp. 256–257
  5. "Quanzhou: Emporium of the World in Song-Yuan China". UNESCO World Heritage Centre. United Nations Educational, Scientific, and Cultural Organization. สืบค้นเมื่อ 22 Aug 2021.
  6. Lieu 1992, p. 303
  7. 7.0 7.1 Lieu 1992, p. 301
  8. 8.0 8.1 Lieu 1992, p. 304
  9. Lieu 1980, pp. 80–82
  10. 李玉昆 [Li Yukun] (2006). 福建晋江草庵摩尼教遗址 [The relics of Manichaean temple Cao'an in Jinjiang, Fujian]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2013.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้