เจ้าหญิงมารีอา กาเบรียลลาแห่งซาวอย
เจ้าหญิงมารีอา กาเบรียลลาแห่งซาวอย (อิตาลี:Maria Gabriella di Savoia) (24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1940-) พระราชธิดาพระองค์กลางในสมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลีกับเจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม กษัตริย์และราชินีองค์สุดท้ายแห่งราชบัลลังก์อิตาลี
เจ้าหญิงมารีอา กาเบรียลลาแห่งซาวอย | |||||
---|---|---|---|---|---|
เจ้าหญิงแห่งอิตาลี | |||||
ประสูติ | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483 เมืองเนเปิลส์ ประเทศอิตาลี | ||||
พระสวามี | โรแบร์โต เซลลิงแกร์ เด บัลคานี | ||||
| |||||
พระบุตร | มารีอา เอลิซาเบธ เซลลิงแกร์ เด บัลคานี | ||||
ราชวงศ์ | ซาวอย | ||||
พระราชบิดา | สมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลี | ||||
พระราชมารดา | เจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม |
พระประวัติ
แก้เจ้าหญิงมารีอา กาเบรียลลาแห่งซาวอย หรือพระนามเต็ม มารีอา กาเบรียลลา จูซัปปา เอลเดกอนดา อเดลเลต ลูโดวิกา เฟลิซิตะ เจนนารา ประสูติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1940 เป็นพระราชธิดาพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลีกับเจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม กษัตริย์และราชินีองค์สุดท้ายแห่งราชบัลลังก์อิตาลี โดยพระองค์มีพระเชษฐภคิณี พระเชษฐา และพระขนิษฐาอย่างละหนึ่งพระองค์ ได้แก่ เจ้าหญิงมารีอา ปีอาแห่งบูร์บง-ปาร์มา, เจ้าชายวิคตอริโอ เอ็มมานูเอลแห่งเนเปิลส์ และเจ้าหญิงมารีอา เบียทริซแห่งซาวอย
การศึกษา
แก้เจ้าหญิงมารีอา กาเบรียลลาแห่งซาวอย ได้ศึกษาเกี่ยวกับภาษา และประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ของอิตาลี นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทำการนิพนธ์หนังสือออกมาจำนวนมาก
เสกสมรส
แก้เจ้าหญิงมารีอา กาเบรียลลาแห่งซาวอย ได้เสกสมรสกับนายโรแบร์โต เซลลิงแกร์ เด บัลคานี เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1969 ที่เมส์เม และเสกสมรสตามพิธีทางศาสนาที่อีแซ-ซูร์-แมร์ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1969 แต่ต่อมาทั้งคู่ได้แยกกันอยู่ในปี ค.ศ. 1976 และได้หย่าร้างกันในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1990 อย่างไรก็ตามทั้งคู่ก็มีพระธิดา 1 พระองค์ คือ
ความสัมพันธ์กับชาห์แห่งอิหร่าน
แก้ในปี ค.ศ. 1950 พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ชาห์แห่งอิหร่าน ได้ทรงหย่ากับสมเด็จพระราชินีโซรายา อัสฟานดิยารี-บักติยารี พระมเหสีองค์ที่ 2 เนื่องจากพระเจ้าชาห์สนพระทัยที่จะอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงกาเบรียลลา โดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23ทรงไม่เห็นด้วยและยับยั้งข้อเสนอในการสมรสครั้งนี้ ส่วนในบทบรรณาธิการได้เขียนเรื่องราวของชาห์ที่พยายามจะอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอิตาลีได้ถูกนำมาเรียกกันว่า "กษัตริย์มุสลิมกับเจ้าหญิงคาทอลิก" ส่วนหนังสือพิมพ์ L'Osservatore Romano ของสำนักวาติกันก็ได้เขียนล้อเลียนอีกเช่นกันว่า "องุ่นพิษ"[1] และที่สำคัญที่สุดคือในบทบัญญัติของนิกายโรมันคาทอลิก ข้อที่ 1917 คือ การแต่งงานกับบุคคลที่หย่าร้างแล้วจะถูกลงโทษโดยการไม่คบค้าสมาคม
อ้างอิง
แก้- ↑ Paul Hofmann, Pope Bans Marriage of Princess to Shah, The New York Times, 24 February 1959, p. 1.