เจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม

เจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม (อังกฤษ: HRH Princess Marie-José of Belgium; มารี-โจเซ ชาร์ล็อต โซฟี อาเมลี อ็องเรียต กาเบรียลล์; 4 สิงหาคม พ.ศ. 244927 มกราคม พ.ศ. 2544) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีพระองค์สุดท้ายของประเทศอิตาลี ในช่วงการดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระราชินีมเหสีเป็นเวลาสามสิบห้าวันในเดือนพฤษภาคม ทำให้มีพระสมัญญาว่า "ราชินีแห่งเดือนพฤษภาคม" (The May Queen)

เจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม

เจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยี่ยม
-เจ้าหญิงแห่งเบลเยียม
-สมเด็จพระราชินีแห่งอิตาลี (9 พฤษภาคม พ.ศ. 248912 มิถุนายน พ.ศ. 2489)
ประสูติ4 สิงหาคม พ.ศ. 2449
เมืองออสเทนด์ ประเทศเบลเยียม
สวรรคต27 มกราคม พ.ศ. 2544
เมืองทอเนกซ์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ (พระชนมายุ 94 พรรษา)
พระราชสวามีสมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลี
พระราชบุตร-เจ้าหญิงมาเรีย ปีอาแห่งบูร์บง-ปาร์มา
-เจ้าชายวิคตอริโอ เอ็มมานูเอล เจ้าชายแห่งเนเปิลส์
-เจ้าหญิงมารีอา กาเบรียลลาแห่งซาวอย
-เจ้าหญิงมาเรีย เบียทริซแห่งซาวอย
เจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยี่ยม
พระนามเต็ม
มารี โจเซ โซฟี หลุยส์ซา อาเมรี เฮนเรียต โอลกา กาเบรียล
พระปรมาภิไธย
เจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยี่ยม
ราชวงศ์-ราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา
-ราชวงศ์ซาวอย
พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม
พระราชมารดาเอลิซาเบธแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียม

เจ้าหญิงมารี-โจเซ พระราชสมภพ ณ เมืองออสเตนด์ ประเทศเบลเยียม โดยเป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กและพระองค์เดียวในสมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม กับ เอลิซาเบธแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียม พระมเหสี เมื่อแรกประสูติพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเจ้าหญิงแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา และดัชเชสแห่งแซ็กโซนี จนกระทั่งการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 1

อภิเษกกับเจ้าชายแห่งเพียดมอนต์

แก้

เจ้าหญิงทรงอภิเษกสมรสในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2473กรุงโรม กับ เจ้าชายอุมแบร์โต ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมารแห่งอิตาลี จากราชวงศ์ซาวอย พระองค์จึงได้ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพระชายาแห่งเพียดมอนต์ (HRH The Princess of Piedmont) และมีพระโอรสและธิดา 4 พระองค์ดังนี้

ชีวิตการอภิเษกสมรสไม่มีความสุข เนื่องจากเจ้าหญิงมารี-โจเซทรงเปิดเผยในการสัมภาษณ์ครั้งหนึ่งอีกหลายปีต่อมาว่า "เราสองคนไม่เคยมีความสุขเลย" โดยมากมาจากการนอกใจและการชอบทั้งสองเพศของเจ้าชายอุมแบร์โต ในช่วงที่พระชนกและชนนีของพระองค์ชี้นำการอภิเษกกับมกุฎราชกุมารแห่งอิตาลีนั้น ไม่มีเชื้อสายของราชวงศ์นิกายคาทอลิกซึ่งมีโอกาสของราชบัลลังก์คนอื่นที่ยังครองโสดอยู่เลย เวลาต่อมาทั้งสองพระองค์ทรงแยกทางกันหลังจากการล่มสลายของระบอบกษัตริย์ในประเทศอิตาลี

การติดต่อกับพันธมิตรช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

แก้

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เจ้าหญิงทรงเป็นหนึ่งจำนวนช่องทางการทูตเพียงน้อยนิดระหว่างค่ายเยอรมัน/อิตาลีและประเทศในทวีปยุโรปอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสงคราม ในฐานะที่เป็นพระกนิษฐาในสมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโพลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม (ซึ่งทรงถูกจับเป็นตัวประกันโดยกองกำลังเยอรมัน) และในเวลาเดียวกันก็ใกล้ชิดกับรัฐมนตรีบางคนในคณะรัฐบาลของมุสโซลินี นักการทูตชาวอังกฤษคนหนึ่งในกรุงโรมบันทึกไว้ว่าเจ้าหญิงแห่งเพียดมอนต์ทรงเป็นสมาชิกในพระราชวงศ์อิตาลีพระองค์เดียวที่มีการพิจารณาทางการเมืองที่ดี

พระราชินีเพียงหนึ่งเดือน

แก้

หลังจากการเอาใจออกห่างฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลก พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 พระสัสสุระที่สูญเสียความเชื่อถือของเจ้าหญิงทรงถอนตัวออกจากรัฐบาล ส่วนพระสวามีทรงกลายเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนองค์พระประมุขภายใต้ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแห่งราชาณาจักร เจ้าหญิงและพระสวามีเสด็จทั่วทั้งอิตาลีที่บอบช้ำจากสงคราม ซึ่งสร้างความประทับใจในทางที่ดีแก่พสกนิกร มีการคาดเด่าว่าถ้ากษัตริย์วิกเตอร์ เอ็มมานูเอลทรงสละราชสมบัติ โดยให้พระสวามีของเจ้าหญิงทรงเป็นกษัตริย์ในปี พ.ศ. 2486 เรื่องที่เกี่ยวกับราชวงศ์คงจะชนะการลงประชามติในประเด็นของการเลือกเป็นสาธารณรัฐหรือราชาธิปไตย อย่างไรก็ดี พระองค์ก็ยังทรงปฏิเสธที่จะสละราชสมบัติ เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนการลงประชามติ เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอันส่งผลต่อราชบัลลังก์ของพระโอรส

หลังจากการสละราชสมบัติที่ล่าช้าในตอนสุดท้าย เจ้าหญิงมารี-โจเซทรงเป็นสมเด็จพระราชินีมเหสีแห่งอิตาลี โดยเริ่มตั้งแต่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 จนกระทั่งถึงการลงประชามติล้มล้างระบอบกษัตริย์ในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2489 หลังจากระบอบกษัตริย์พ่ายแพ้อย่างย่อยยับ (มากกว่าที่เจ้าหญิงทรงคาดคิดไว้ พระองค์ได้ทรงเกรงว่ามันอาจจะมีเสียงสนับสนุนเพียงเล็กน้อยราวสิบเปอร์เซนต์) พระองค์และพระสวามีเสด็จออกนอกประเทศเพื่อไปประทับในต่างแดนในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2489

ทรงหย่า

แก้

ระหว่างการประทับอยูในต่างแดน สมาชิกทั้งหมดในครอบครัวได้รวมตัวอยู่ด้วยกันเป็นเวลาสั้น ๆ ในประเทศโปรตุเกส แต่เจ้าหญิงกับกษัตริย์อุมแบร์โตทรงตัดสินพระทัยที่จะแยกทางกัน พระองค์และพระโอรสและธิดาทั้งสี่พระองค์เสด็จไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ซึ่งพระองค์ได้ประทับอยู่ตลอดช่วงพระชนม์ชีพที่เหลืออยู่ ในขณะที่กษัตริย์อุมแบร์โตยังคงประทับอยู่ในประเทศโปรตุเกส อย่างไรก็ดี ทั้งสองพระองค์ไม่เคยทรงหย่าร้างกัน ส่วนหนึ่งมาจากเหตุผลทางการเมือง โดยกษัตริย์อุมแบร์โตทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ด้วยความหวัง (แต่ริบหรี่ลงไปในอีกหลายปี) ในกลับคืนสู่ราชบัลลังก์ และการหย่าร้างถือว่าความเสียหายอย่างมากต่อกษัตริย์นิกายคาทอลิก ทั้งสองพระองค์ทรงเคร่งครัดศาสนามาก (ซึ่งผิดธรรมดาสำหรับราชวงศ์อิตาลี อันมีประวัติการต่อต้านคำสอนในศาสนาคริสต์อย่างแรง) นอกจากนี้ยังเกรงว่าการหย่าร้างอาจนำมาซึ่งความสนใจในเรื่องการมีรสนิยมสองเพศของกษัตริย์ ซึ่งได้เอามาใช้กับพระองค์ในการลงประชามติในปี พ.ศ. 2489 และทำให้พระสันตะปาปาไพอัสที่ 17 ที่แม้ว่าทรงนิยมราชวงศ์อย่างเลื่อมใสศรัทธา ได้ระงับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ในปัญหาเกี่ยวกับระบอบราชาธิปไตยออกไป เป็นการตัดสินพระทัยที่พระสันตะปาปาทรงรู้สึกเสียใจอย่างขมขื่นเมื่อระบอบกษัตริย์พ้ายแพ้อย่างย่อยยับ

สิ้นพระชนม์

แก้

เจ้าหญิงมารี-โจเซเสด็จนิวัติประเทศอิตาลีหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระสวามีเมื่อปี พ.ศ. 2526 และพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2544เมืองเจนีวา ด้วยโรคมะเร็งในบัปผาสะเมื่อพระชนมายุ 94 พรรษา โดยทรงดำรงพระชนม์ชีพยาวนานกว่าพระเชษฐาทั้งสองและพระภาติยะบางองค์ การสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงมารี-โจเซเป็นสื่อชักจูงให้รัฐบาลอิตาลีแก้ไขรัฐธรรมนูญและอนุญาตสมาชิกบุรุษในราชวงศ์ซาวอยเสด็จมาเยือนประเทศอิตาลีได้

พระอิสริยยศ

แก้
  • พ.ศ. 2449 - พ.ศ. 2473: สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม (Her Royal Highness Princess Marie-José of Belgium)
  • พ.ศ. 2473 - พ.ศ. 2489: สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพระชายาแห่งเพียดมอนต์ (Her Royal Highness The Princess of Piedmont)
  • 9 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน พ.ศ. 2489: สมเด็จพระบรมราชินีแห่งอิตาลี (Her Majesty The Queen of Italy)
  • พ.ศ. 2489 - พ.ศ. 2544: สมเด็จพระราชินีมารี-โจเซแห่งอิตาลี (Her Majesty Queen Marie-José of Italy)