สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม

สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม (ฝรั่งเศส: Mathilde, Reine des Belges; ดัตช์: Mathilde, koningin der Belgen; พระราชสมภพ: 20 มกราคม พ.ศ. 2516) หรือพระนามเดิมว่า มาตีลด์ มารี คริสตียาน กีแลน ดูว์เดอแกม ดาโก (Mathilde Marie Christiane Ghislaine d'Udekem d'Acoz) เป็นสมเด็จพระอัครมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม ทรงมีเชื้อสายสืบแต่สกุลขุนนางของโปแลนด์[1][2] พระองค์เป็นพระราชินีพระองค์แรกที่ถือสัญชาติเบลเยียม ภายหลังจากการขึ้นครองราชย์ของพระราชสวามี

มาตีลด์
สมเด็จพระราชินีแห่งชาวเบลเยียม
ดำรงพระยศ21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 – ปัจจุบัน
ก่อนหน้าเปาลา
พระราชสมภพมาตีลด์ มารี คริสตียาน กีแลน
20 มกราคม พ.ศ. 2516 (51 พรรษา)
อูคเคิล ประเทศเบลเยียม
พระราชสวามีสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม
(พ.ศ. 2542 – ปัจจุบัน)
พระบุตร
ราชวงศ์ดูว์เดอแกม ดาโก
พระราชบิดาเคานต์ปาทริก ดูว์เดอแกม ดาโก
พระราชมารดาเคาน์เตสอันนา มารียา คอมอรอฟสกา

พระราชประวัติ

แก้

สมเด็จพระราชินีมาตีลด์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2516 เป็นธิดาคนแรกจากบุตรทั้งห้าคนของเคานต์ปาทริก ดูว์เดอแกม ดาโก[3][4] กับเคาน์เตสอันนา มารียา[5] (สกุลเดิม คอมอรอฟสกา) พระชนกเป็นบุตรของบารอนชาร์ล ดูว์เดอแกม ดาโก มีเชื้อสายวอลลูน ส่วนพระชนนีเป็นพระธิดาของเคานต์มีคาเอล คอมอรอฟสกี กับเจ้าหญิงโซเฟีย ซาพีฮาแห่งกราชิตชึน[1]

พระองค์มีพระพี่น้อง 5 คน โดยมีพระองค์เป็นบุตรคนโต มีพระอนุชาและพระขนิษฐา ได้แก่

  1. นางสาวมารี-อาลิกซ์ ดูว์เดอแกม ดาโก (16 กันยายน พ.ศ. 2517 – เมษายน พ.ศ. 2540)
  2. มาร์กราวีน เอลีซาแบ็ต ปัลลาวีชีนี (17 มกราคม พ.ศ. 2520) สมรสกับมาร์กราฟอัลฟอนโซ ฟอน ปัลลาวีชีนี มีบุตรด้วยกันสองคน
  3. บารอเนสเอแลน ยานเซน (22 กันยายน พ.ศ. 2522) สมรสกับบารอนนีกอลา ยานเซน มีธิดาหนึ่งคน
  4. เคานต์ชาร์ล-อ็องรี ดูว์เดอแกม ดาโก (13 พฤษภาคม พ.ศ. 2528)

พระองค์ตรัสภาษาฝรั่งเศส ดัตช์ อังกฤษ และอิตาลีได้ แม้ว่าจะทรงสืบเชื้อสายโปแลนด์มาจากพระชนนี แต่พระชนนีมิได้สอนภาษาโปแลนด์แก่พระองค์ ด้วยเห็นว่าไม่สำคัญนัก พระองค์จึงทราบเพียงคำในภาษาโปแลนด์ไม่กี่คำ[6]

พระองค์มีพระจริยวัตรนุ่มนวลงดงาม เรียบง่าย และเป็นกันเองกับประชาชนโดยทั่วไป[2] ชาวเบลเยียมเห็นด้วยว่าสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปทรงสนพระทัยประกอบพระราชกรณียกิจมากขึ้น[2]

การศึกษา

แก้

ทรงสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้นสถาบันเวียร์ฌฟีแดล (Institut de la Vierge Fidèle) ต่อมาทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรการฝึกอรรถบำบัด (เกียรตินิยม) จากสถาบันเสรีมารี ฮัปส์ (Institut Libre Marie Haps) ที่กรุงบรัสเซลส์ ช่วง พ.ศ. 2534–2537

สมเด็จพระราชินีมาตีลด์ทรงงานเป็นนักอรรถบำบัด ช่วง พ.ศ. 2538–2542 ภายหลังทรงเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาสาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยคาทอลิกแห่งลูแวง และได้รับปริญญาบัตร (เกียรตินิยม) ใน พ.ศ. 2545

อภิเษกสมรส

แก้
 
พระราชสวามีและพระองค์ ขณะเสด็จไปในงานอภิเษกสมรสของมกุฎราชกุมารีวิกตอเรีย กับดาเนียล เวสต์ลิง

กษัตริย์ฟีลิปและพระองค์ทรงหมั้น และได้เสกสมรสกันเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ทรงจดทะเบียนสมรสที่ศาลาว่าการกรุงบรัสเซลส์ และทำพิธีทางศาสนาที่มหาวิหารแซ็งมีเชลและแซ็งกูดูลา พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าหญิงแห่งเบลเยียม เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 (ประกาศเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน และมีผลตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคมปีเดียวกันนั้น) ทั้งสองมีพระโอรสและพระธิดา 4 พระองค์ คือ[7]

  1. เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต เตแรซ มารี เอแลน (ประสูติ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2544)
  2. เจ้าชายกาบรีแยล โบดวง ชาร์ล มารี (ประสูติ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2546)
  3. เจ้าชายแอมานุแอล เลออปอล กีโยม ฟร็องซัว มารี (ประสูติ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2548)
  4. เจ้าหญิงเอเลออนอร์ ฟาบียอลา วิกตอรียา อาน มารี (ประสูติ 16 เมษายน พ.ศ. 2551)

พระองค์เป็นแม่ทูนหัวของเจ้าหญิงอะเลกซียาแห่งเนเธอร์แลนด์และเจ้าหญิงอิซาเบลลาแห่งเดนมาร์ก

พระราชกรณียกิจ

แก้

ในฐานะที่พระองค์เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ พระองค์ได้ประกอบพระกรณียกิจและได้อุปถัมภ์องค์กรการกุศลหลายรายการ ทั้งนี้พระองค์มีส่วนร่วมในสภาเศรษฐกิจโลก พระองค์ได้ตั้งกองทุนขึ้นใน พ.ศ. 2544 เพื่อส่งเสริมดูแลบุคคลที่มีความเสี่ยง และรางวัลประจำปีแก่ผู้ที่ทำงานเป็นอย่างดี[8] เป็นต้นว่า การศึกษา สุขภาพสตรี และการปกป้องสตรีจากความรุนแรง[9]

ตั้งแต่ พ.ศ. 2552 พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของยูนิเซฟเบลเยียม โดยทรงหน้าที่พิเศษเป็นผู้แทนองค์การอนามัยโลกเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน[10]

พระองค์และพระราชสวามีนำผู้แทนทางเศรษฐกิจไปยังสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ. 2554 และประเทศเวียดนามใน พ.ศ. 2555[11]

พระเกียรติยศ

แก้

พระอิสริยยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม
 
ตราประจำพระอิสริยยศ
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลHer Majesty
(ใต้ฝ่าละอองพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับYour Majesty
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)
  • นางสาวมาตีลด์ ดูว์เดอแกม ดาโก (20 มกราคม พ.ศ. 2516 — 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542)
  • เฮอร์รอยัลไฮนิส เจ้าหญิงมาตีลด์แห่งเบลเยียม, ดัชเชสแห่งบราบันต์ และเคาน์เตสแห่งดูว์เดอแกม ดาโก (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 — 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556)
  • เฮอร์มาเจสตี สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งชาวเบลเยียม (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 — ปัจจุบัน)

หลังการอภิเษกสมรส พระชนก และพระปิตุลาของพระองค์ ได้รับการสถาปนาเป็น เคานต์

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 M.J. Miankowski, Genealogia potomków Sejmu Wielkiego: Anna Maria Komorowska
  2. 2.0 2.1 2.2 สารคดีพิเศษ: ๒๕ พระราชอาคันตุกะ[ลิงก์เสีย]
  3. RTL Info - 'Le père de la princesse Mathilde est mourant' เก็บถาวร 2008-03-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ฝรั่งเศส)
  4. Vader prinses Mathilde ligt op sterven (ดัตช์)
  5. "Father of Princess Mathildes passes away". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-08. สืบค้นเมื่อ 2012-07-08.
  6. Wprost Weekly, The Polish-Belgian Queen (Krolowa polsko-belgijska) 21 December-28, 2008
  7. นิตยสาร WhO? - คิมหันต์บันเทิงของเจ้ายุโรป Royal Summer:Denmark/Belgium/Dutch/Spain
  8. Princess Mathilde Fund http://www.monarchie.be/monarchy-today/royal-initiatives/princess-mathilde-fund
  9. Prix Princess Mathilde (French) http://www.kbs-frb.be/call.aspx?id=209800&LangType=2060
  10. WHO/Europe press release http://www.euro.who.int/en/what-we-publish/information-for-the-media/sections/latest-press-releases/princess-mathilde-of-belgium-to-visit-albania-as-who-special-representative-focus-on-frontline-health-workers-and-immunization เก็บถาวร 2013-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. สถานีวิทยุเวียดนาม ภาคภาษาไทย - มกุฎราชกุมารฟีลิปพร้อมด้วยเจ้าหญิงมาธิลด์แห่งเบลเยียมเสด็จเยือนเวียดนาม[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม ถัดไป
ดอญาเปาลา รูฟโฟ ดิคาลาเบรีย    
สมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียม
(21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 — ปัจจุบัน)
  ปัจจุบัน