เจอาร์ สายเกียวโต
เจอาร์ สายเกียวโต (ญี่ปุ่น: JR京都線; โรมาจิ: JR Kyōto-sen) เป็นสายขบวนรถไฟชานเมืองที่ดำเนินการให้บริการโดยบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตก (เจอาร์ ตะวันตก) ในพื้นที่มหานครเคฮันชิง และเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายหลักโทไกโดระหว่างสถานีรถไฟโอซากะ-เกียวโต
เจอาร์ สายเกียวโต | |
---|---|
ขบวนรถไฟเร็วพิเศษรุ่น 223-2000 ซีรีส์ อีเอ็มยู ขณะให้บริการเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2017 | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ชื่อลำลอง | JR京都線 |
เจ้าของ | เจอาร์ ตะวันตก |
ที่ตั้ง | เกียวโตและโอซากะ |
ปลายทาง |
|
จำนวนสถานี | 17 |
การดำเนินงาน | |
รูปแบบ | รางหนัก |
ระบบ | ขนส่งทางรางในเขตเมือง |
ผู้ดำเนินงาน | เจอาร์ ตะวันตก เจอาร์ ขนส่งสินค้า |
ประวัติ | |
เปิดเมื่อ | 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1876 (148 ปี) (ส่วนหนึ่งของสายหลักโทไกโด) 13 มีนาคม ค.ศ. 1988 (36 ปี) (เปลี่ยนชื่อสายเป็น เจอาร์ สายเกียวโต) |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
ระยะทาง | 42.8 กิโลเมตร (26.6 ไมล์) |
รางกว้าง | 1,067 mm (3 ft 6 in) |
ระบบจ่ายไฟ | 1,500 V DC ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว |
ความเร็ว | รางนอก: 130 km/h (81 mph) รางใน: 120 km/h (75 mph) |
ข้อมูลทั่วไป
แก้- ระยะทางทั้งหมด/ผู้ดำเนินงาน: 42.8 กิโลเมตร
- ทางรถไฟ: ทางรถไฟ 4 ทางตลอดสาย
- ระบบอาณัติสัญญาณ: ควบคุมรถไฟอัตโนมัติ
- ความเร็วสูงสุด:
- รางนอก 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รางใน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- ศูนย์ควบคุมการเดินรถ: ศูนย์ควบคุมการเดินรถโอซากะ
- ระบบควบคุมการเดินรถ: ระบบควบคุมการจราจร เจอาร์ เกียวโต-โคเบะ
การให้บริการ
แก้ขบวนรถไฟชานเมืองแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- ขบวนรถด่วนพิเศษ (新快速, Shin-Kaisoku)
- ให้บริการต่อเนื่องมาจากสายบิวาโกะและสายโคเซ ในพื้นที่ของสายเกียวโต ขบวนรถไฟจอดที่สถานีเกียวโต, ทากัตสึกิ, ชินโอซากะ และโอซากะ จากนั้นจะให้บริการต่อเนื่องในเจอาร์ สายโคเบะ ต่อไป
- ขบวนรถด่วน (快速, Kaisoku)
- ให้บริการต่อเนื่องมาจากสายบิวาโกะและสายโคเซ ในพื้นที่ของสายเกียวโต ขบวนรถไฟจอดที่สถานีเกียวโต, นางาโอกะเกียว, ทากัตสึกิ, อิบารากิ, ชินโอซากะ และโอซากะ จากนั้นจะให้บริการต่อเนื่องในเจอาร์ สายโคเบะ ต่อไป นอกจากนี้หลังจากช่วงเช้าขบวนรถไฟจะจอดในสถานีอื่นเพิ่มเติมระหว่างเกียวโต - ทากัตสึกิ ในบางครั้งอาจเรียกในขบวนรถไฟนี้เป็นขบวนรถธรรมดา
- ขบวนรถธรรมดา (普通, Futsū)
- ให้บริการตั้งแต่สถานีเกียวโตถึงนิชิอากาชิ และทากัตสิกิถึงชินซันดะ
นอกจากขบวนรถไฟชานเมืองทั้ง 3 ประเภทดังกล่าว ยังมีขบวนรถไฟด่วนพิเศษฮารูกะ เชื่อมระหว่างพื้นที่เกียวโต-โอซากะ กับท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ, ภูมิภาคโฮกูริกุ และพื้นที่อื่น นอกจากนี้ขบวนรถไฟสินค้าก็เดินรถในทางรถไฟสายนี้เช่นกัน ยกเว้นแนวเส้นทางที่ใกล้กับสถานีโอซากะจะแยกแนวเส้นทางออกไป
สถานี
แก้- ● : รถไฟจอดทุกขบวน
- | : รถไฟวิ่งผ่านทุกขบวน
- ▲ : รถไฟจอดเฉพาะหลังเวลาเร่งด่วน
ขบวนรถไฟธรรมดาจอดทุกสถานี ขบวนรถไฟด่วนจอดเฉพาะบางสถานีในช่วงเวลาเช้าระหว่างเกียวโต-ทากัตสึกิ
ชื่อเส้นทางหลัก | หมายเลข | ชื่อสถานี | ภาษาญี่ปุ่น | ระยะทาง (กิโลเมตร) | การจอด | เปลี่ยนเส้นทาง | ที่ตั้ง | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รถด่วน | รถด่วนพิเศษ | เขต, เมือง | จังหวัด | ||||||
สายหลักโทไกโด | JR-A31 | เกียวโต | 京都 | 0.0 | ● | ● |
|
เขตชิโมเงียว | เกียวโต |
JR-A32 | นิชิโอจิ | 西大路 | 2.5 | ▲ | | | เขตมินามิ | |||
JR-A33 | คัตสึรางาวะ | 桂川 (久世) |
5.3 | ▲ | | | ||||
JR-A34 | มูโกมาจิ | 向日町 | 6.4 | ▲ | | | มูโก | |||
JR-A35 | นางาโอกะเกียว | 長岡京 | 10.1 | ● | | | นางาโอกะเกียว | |||
JR-A36 | ยามาซากิ | 山崎 | 14.1 | ▲ | | | โอยามาซากิ | |||
JR-A37 | ชิมาโมโตะ | 島本 | 16.3 | ▲ | | | ชิมาโมโตะ | โอซากะ | ||
JR-A38 | ทากัตสึกิ | 高槻 | 21.6 | ● | ● | ทากัตสึกิ | |||
JR-A39 | เท็ทสึ-ทงดะ | 摂津富田 | 24.5 | | | | | ||||
JR-A40 | JR โซจิจิ[1] | JR総持寺 | 26.2 | | | | | อิบารากิ | |||
JR-A41 | อิบารากิ | 茨木 | 28.2 | ● | | | ||||
JR-A42 | เซ็งริโอกะ | 千里丘 | 31.1 | | | | | เซ็ทสึ | |||
JR-A43 | กิชิเบะ | 岸辺 | 32.8 | | | | | ซูอิตะ | |||
JR-A44 | ซูอิตะ | 吹田 | 35.2 | | | | | ||||
JR-A45 | ฮิงาชิ-โยโดงาวะ | 東淀川 | 38.3 | | | | | เขตโยโดงาวะ | |||
JR-A46 | ชินโอซากะ | 新大阪 | 39.0 | ● | ● |
| |||
JR-A47 | โอซากะ | 大阪 | 42.8 | ● | ● |
|
เขตคิตะ |
ประวัติ
แก้เจอาร์ สายเกียวโต เป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายหลักโทไกโด เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ.1876 ระหว่างสถานีโอซากะ-มูโกมาจิ และในวันที่ 9 สิงหาคม ปีเดียวกัน เปิดสถานียามาซากิ, อิบารากิ, ซูอิตะ และในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1877 เปิดสถานีเกียวโต ต่อมาเมื่อมีการแปรรูปมาเป็นบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตกจึงตั้งชื่อสายนี้ว่า เจอาร์ สายเกียวโต ในวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1988