เจมส์ แคเมอรอน

ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวแคนาดา
(เปลี่ยนทางจาก เจมส์ แคเมรอน)

เจมส์ แฟรนซิส แคเมอรอน (อังกฤษ: James Francis Cameron;[1] เกิด 16 สิงหาคม ค.ศ. 1954) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวแคนาดา[2][3] หลังจากทำงานด้านเทคนิคพิเศษ เขาก็ประสบความสำเร็จหลังกำกับและเขียนบทภาพยนตร์แนวโลดโผนบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์เรื่อง ฅนเหล็ก 2029 (1984) เขากลายเป็นผู้กำกับยอดนิยมในฮอลลีวูดและถูกว่าจ้างให้เขียนบทและกำกับ เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก (1986) สามปีต่อมาก็กำกับภาพยนตร์เรื่อง ดิ่งขั้วมฤตยู (1989) เขาได้รับคำชมจากการใช้เทคนิคพิเศษใน ฅนเหล็ก 2029 ภาค 2 (1991) หลังภาพยนตร์ คนเหล็ก ผ่านิวเคลียร์ (1994) แคเมอรอนถ่ายทำภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาในเวลานั้นก็คือ ไททานิค (1997) ซึ่งทำให้เขาได้รับ รางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และลำดับภาพยอดเยี่ยม

เจมส์ แคเมอรอน

แคเมอรอนใน ค.ศ. 2016
เกิดเจมส์ แฟรนซิส แคเมอรอน
(1954-08-16) สิงหาคม 16, 1954 (70 ปี)
คาพุสคาซิง รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา
ศิษย์เก่าวิทยาลัยฟูลเลอร์ตัน
อาชีพ
  • ผู้กำกับภาพยนตร์
  • ผู้เขียนบท
  • ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์
  • นักตัดต่อภาพยนตร์
  • นักสำรวจทะเลลึก
ปีปฏิบัติงานค.ศ. 1978–ปัจจุบัน
คู่สมรส
บุตร4 คน

หลังจาก ไททานิค แคเมอรอนเริ่มโครงการที่ต้องใช้เวลาเกือบ 10 ปีในการสร้าง นั้นก็คือภาพยนตร์แนวมหากาพย์บันเทิงคดีวิทยาศาสตร์เรื่อง อวตาร (2009) โดยถือเป็นหลักสำคัญของเทคโนโลยีสามมิติและเขาได้รับการเสนอชื่อรางวัลออสการ์สามสาขาเดิม ถึงแม้ว่า อวตาร จะเป็นภาพยนตร์เดียวของเขาที่ถ่ายทำในระบบสามมิติ แต่ก็ทำให้แคเมอรอนเป็นผู้สร้างภาพยนตร์สามมิติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในแง่ของรายได้จากบ็อกซ์ออฟฟิศ[4] ในช่วงเวลาระหว่างการสร้าง ไททานิค และ อวตาร แคเมอรอนใช้เวลาหลายปี สร้างภาพยนตร์สารคดีมากมาย (โดยเฉพาะสารคดีใต้น้ำ) และร่วมพัฒนา ระบบกล้องฟิวชัน ดิจิทัลสามมิติ นักเขียนชีวประวัติกล่าวว่า แคเมอรอนเป็นกึ่งนักวิทยาศาสตร์และกึ่งศิลปิน[5] แคเมอรอนยังให้การสนับสนุนเทคโนโลยี การถ่ายทำใต้น้ำ และการควบคุมยานพาหนะจากระยะไกล[2][3][6] เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2012 แคเมอรอนดำน้ำลงไปถึงจุดที่ลึกที่สุดของร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ด้วยเรือดำน้ำ ดีพซีชาลเลนเจอร์[7][8][9] เขาเป็นคนแรกที่ทำได้ในการดำลงไปคนเดียวและเป็นคนที่สามจากการดำทั้งหมดที่เคยเกิดขึ้น เมื่อปี ค.ศ. 2010 นิตยสาร ไทม์ ได้ยกให้แคเมอรอนเป็นหนึ่งใน 100 บุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก[10] แคเมอรอนกลายเป็นผู้กำกับคนแรกในประวัติศาสตร์ที่มีภาพยนตร์สามเรื่องทำเงิน 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ได้แก่ ไททานิค, อวตาร และ อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ) ทั้งยังเป็นผู้กำกับคนแรกที่เงินรวมทั้งหมด 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงเป็นผู้กำกับที่มีภาพยนตร์ภาคต่อที่ทำเงินสูงสุดในประวัติศาสตร์ (อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ)

ผลงานภาพยนตร์

แก้
ปี เรื่อง สตูดิโอ
1982 ปิรันย่า 2: ปลาปีศาจพันธุ์สยอง (Piranha II: The Spawning) โคลัมเบีย พิกเจอส์
1984 ฅนเหล็ก 2029 (The Terminator) โอไรออน พิกเจอส์
1986 เอเลี่ยน 2: ฝูงมฤตยูนอกโลก (Aliens) ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์
1989 ดิ่งขั้วมฤตยู (The Abyss)
1991 ฅนเหล็ก 2029 ภาค 2 (Terminator 2: Judgment Day) ไตรสตาร์ พิกเจอส์
1994 คนเหล็ก ผ่านิวเคลียร์ (True Lies) ยูนิเวอร์แซล พิกเจอส์ / ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์
1997 ไททานิก (Titanic) ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ / พาราเมาต์ พิกเจอส์
2009 อวตาร (Avatar) ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์
2022 อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ (Avatar: The Way of Water) ทเวนตีท์เซนจูรีสตูดิโอส์
2025 อวตาร 3 (Avatar 3)
2029 อวตาร 4 (Avatar 4)

ผลตอบรับ

แก้

ผลตอบรับ ทั้งคำวิจารณ์และรายได้ จากการกำกับภาพยนตร์ทั้งหมด 9 เรื่องของ เจมส์ แคเมอรอน

ปี เรื่อง รอตเทนโทเมโทส์[11] เมทาคริติก[12] ไอเอ็มดีบี[13] ทุนสร้าง รายได้ทั่วโลก
1982 ปิรันย่า 2: ปลาปีศาจพันธุ์สยอง   5% (3.30/10) (19 รีวิว) 15 (5 รีวิว) 3.8 (‎9,329) $145,786 $389,106
1984 ฅนเหล็ก 2029   100% (8.80/10) (67 รีวิว) 84 (21 รีวิว) 8.1 (889,988) $6,400,000 $78,680,331
1986 เอเลี่ยน 2: ฝูงมฤตยูนอกโลก   98% (9.10/10) (82 รีวิว) 84 (22 รีวิว) 8.4 (‎735,520) $18,500,000 $183,300,764
1989 ดิ่งขั้วมฤตยู   88% (7.30/10) (51 รีวิว) 62 (14 รีวิว) 7.5 (184,427) $70,000,000 $90,000,098
1991 ฅนเหล็ก 2029 ภาค 2   91% (8.40/10) (85 รีวิว) 75 (22 รีวิว) 8.6 (1,128,617‎) $102,000,000 $520,884,847
1994 คนเหล็ก ผ่านิวเคลียร์   70% (6.60/10) (54 รีวิว) 63 (17 รีวิว) 7.3 (‎270,912‎) $115,000,000 $378,882,411
1997 ไททานิก   88% (8.00/10) (253 รีวิว) 75 (35 รีวิว) 7.9 (1,227,851) $200,000,000 $2,257,844,554
2009 อวตาร   82% (7.50/10) (336 รีวิว) 83 (38 รีวิว) 7.9 (‎1,350,828) $237,000,000 $2,923,706,026
2022 อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ   76% (7.10/10) (437 รีวิว) 67 (68 รีวิว) 7.6 (425,226) $350,000,000 $2,320,250,281
เฉลี่ย และ รวม   78% (7.34/10) 68 7.5 $1.099 พันล้าน $8,753,938,418

  0–59% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบ   60–100% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบ

สีแดง 0–19 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบเลย 20–39 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบ สีส้ม 40–60 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ให้ปานกลาง สีเขียว 61–80 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบ 81–100 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบมาก

$ ดอลลาร์สหรัฐ

รางวัล

แก้

จำนวนรางวัลที่เข้าชิงและได้รับจากภาพยนตร์ของ เจมส์ แคเมอรอน

ปี เรื่อง รางวัลออสการ์ รางวัลแบฟตา รางวัลลูกโลกทองคำ
เสนอชื่อเข้าชิง ชนะ เสนอชื่อเข้าชิง ชนะ เสนอชื่อเข้าชิง ชนะ
1986 เอเลี่ยน 2: ฝูงมฤตยูนอกโลก 7 2 4 1 1
1989 ดิ่งขั้วมฤตยู 4 1
1991 ฅนเหล็ก 2029 ภาค 2 6 4 3 2
1994 คนเหล็ก ผ่านิวเคลียร์ 1 1 1 1
1997 ไททานิก 14 11 10 8 4
2009 อวตาร 9 3 8 2 4 2
2022 อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ 4 1 2 1 2
ทั้งหมด 45 22 28 6 16 7

อ้างอิง

แก้
  1. Space Foundation. (n.d.). America's vision: The case for space exploration, p. 42. Retrieved December 12, 2009.
  2. 2.0 2.1 Sony (2009). James Cameron returns to the abyss with Reality Camera System. Retrieved December 25, 2009.
  3. 3.0 3.1 Thompson A (2009). "The innovative new 3D tech behind James Cameron's Avatar". Fox News. Retrieved December 25, 2009.
  4. Glenday, Craig (2013). Guinness Book of Records. p. 204. ISBN 978-1-908843-15-9.
  5. Milian, Mark; Rebecca Keegan (December 10, 2009). "James Cameron biographer says the 'Avatar' director is half scientist, half artist[Updated]". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ January 5, 2010.
  6. Parisi P (1998). Titanic and the making of James Cameron: The inside story of the three-year adventure that rewrote motion picture history. New York: Newmarket. Partial text. Retrieved January 5, 2010.
  7. Than, Ker (March 25, 2012). "James Cameron Completes Record-Breaking Mariana Trench Dive". National Geographic Society. สืบค้นเมื่อ March 25, 2012.
  8. Broad, William J. (March 25, 2012). "Filmmaker in Submarine Voyages to Bottom of Sea". New York Times. สืบค้นเมื่อ March 25, 2012.
  9. AP Staff (March 25, 2012). "James Cameron has reached deepest spot on Earth". MSNBC. สืบค้นเมื่อ March 25, 2012.
  10. "The 2010 TIME 100". Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0040-781X. สืบค้นเมื่อ 2018-05-08.
  11. "เจมส์ แคเมอรอน". รอตเทนโทเมโทส์.
  12. "เจมส์ แคเมอรอน". เมทาคริติก.
  13. "เจมส์ แคเมอรอน". ไอเอ็มดีบี.