เจดีย์ต้าย่าน (จีน: 大雁塔; พินอิน: Dàyàn tǎ; "เจดีย์ห่านใหญ่") เป็นเจดีย์ที่ตั้งอยู่ในซีอานตอนใต้ มณฑลฉ่านซี ประเทศจีน สร้างขึ้นใน ค.ศ. 652 ในสมัยราชวงศ์ถัง ของเดิมมี 5 ชั้น ต่อมาในรัชสมัยบูเช็กเทียน มีการสร้างขึ้นใหม่ใน ค.ศ. 704 และในสมัยราชวงศ์หมิง มีการบูรณะด้านหน้าส่วนนอกที่เป็นอิฐ

เจดีย์ต้าย่าน
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ชื่อทางการR06–CN Great Wild Goose Pagoda
ที่ตั้งซีอาน, อำเภอยั่นถ่า, มณฑลฉ่านซี, ประเทศจีน
บางส่วนSilk Roads: the Routes Network of Chang'an-Tianshan Corridor
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: (ii), (iii), (v), (vi)
อ้างอิง1442
ขึ้นทะเบียน2014 (สมัยที่ 38)
พิกัด34°13′11″N 108°57′34″E / 34.219842°N 108.959354°E / 34.219842; 108.959354
เจดีย์ต้าย่านตั้งอยู่ในประเทศจีน
เจดีย์ต้าย่าน
ที่ตั้งเจดีย์ต้าย่าน ในประเทศจีน
เจดีย์ต้าย่าน
"เจดีย์ต้าย่าน" ในอักษรจีน
ภาษาจีน大雁塔

วัตถุประสงค์หนึ่งของเจดีย์นี้ คือ ไว้บรรจุพระสูตรกับพระพุทธรูปขนาดเล็กที่พระถังซัมจั๋งนำมาจากอินเดีย ปัจจุบัน กำแพงส่วนในของเจดีย์มีรูปพระพุทธเจ้าที่ศิลปินหยัน ลี่เปิ่น สลักไว้

ประวัติ แก้

เจดีย์เดิมสร้างในรัชสมัยของจักรพรรดิถังเกาจง (ครองราชย์ ค.ศ. 649–683) มีความสูง 60 เมตร (198 ฟุต)[1] ส่วนของผนังดินอัดกับหินส่วนหน้าด้านนอกพังลงในห้าทศวรรษต่อมา จักรพรรดินีบูเช็กเทียนจึงรับสั่งใน ค.ศ. 704 ให้สร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ โดยเพิ่มอีก 5 ชั้น

แผ่นดินไหวในมณฑลฉ่านซี ค.ศ. 1556 สร้างความเสียหายแก่เจดีย์ โดยทำให้พังลงไป 3 ชั้น เหลือ 7 ชั้นมาจนถึงปัจจุบัน[2]

ตัวโครงสร้างเอียงไปทางตะวันตกเพียงเล็กน้อย (ไม่กี่องศา) ส่วนเจดีย์เสี่ยวย่าน (เจดีย์ห่านน้อย) ได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยในแผ่นดินไหว ค.ศ. 1556 (ยังไม่ได้ซ่อมแซมถึงปัจจุบัน)[2] เจดีย์ต้าย่านได้รับการซ่อมแซมครั้งใหญ่ในช่วงสมัยราชวงศ์หมิง (1368–1644) และบูรณะอีกครั้งใน ค.ศ. 1964 ตัวเจดีย์ในปัจจุบันมีความสูง 64 เมตร (210 ฟุต) และชั้นบนสุดสามารถเห็นทิวทัศน์ของเมืองซีอานได้

บริเวณนี้ได้รับการยกเป็นแหล่งมรดกโลกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2014

ภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Watson, 185.
  2. 2.0 2.1 Ingles (1982), 144.

บรรณานุกรม แก้

  • Benn, Charles (2002). China's Golden Age: Everyday Life in the Tang Dynasty. Oxford: Oxford University Press.
  • Ingles, O.G. "Impressions of a Civil Engineer in China," The Australian Journal of Chinese Affairs (Number 7, 1982): 141–150.
  • Heng Chye Kiang. (1999). Cities of Aristocrats and Bureaucrats: The Development of Medieval Chinese Cityscapes. Singapore: Singapore University Press. ISBN 9971-69-223-6.
  • Watson, William. (2000). The Arts of China to A.D. 900. New Haven: Yale University Press. ISBN 0-300-08284-3.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้