เครื่องแบบลูกเสือไทย

เครื่องแบบลูกเสือไทย เป็นรูปแบบการแต่งกายของลูกเสือสำรอง ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และลูกเสือวิสามัญ ตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2507 ที่กำหนดไว้ในกฏกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ[1] ชุดเครื่องแบบปัจจุบันมาจากการออกแบบของหลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) ในตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา เมื่อปี 2486[2]

ตัวอย่างเครื่องแบบลูกเสือและเนตรนารีไทย

ลักษณะ แก้

เครื่องแบบลูกเสือสำรอง แก้

เสื้อ แก้

เสื้อแขนสั้น แบบและสีตามที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือแต่ละโรงเรียนกำหนดให้สอดชายเสื้ออยู่ภายในกางเกง

หมวก แก้

หมวกทรงกลมมีกะบังหน้าหมวก ทำด้วยผ้าสีกรมท่า ตัวหมวกเย็บด้วยผ้า 6 ชิ้น แนวตะเข็บระหว่างชิ้นและขอบหมวกโดยรอบทาบด้วยด้ายหรือไหมถักสีเหลือง เมื่อเข้าพิธี ประจำกองแล้ว มีตราหน้าหมวกรูปหน้าเสือและอักษรใต้หน้าเสือว่า "ลูกเสือ" สีเหลือง บนผ้าสีกรมท่า ขลิบริมสีกรมท่า รูปไข่ ยาว 4 เซนติเมตร กว้าง 3.5 เซนติเมตร

ผ้าพันคอ แก้

ผ้าพันคอรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วด้านฐาน 90 เซนติเมตร ด้านตั้ง 65 เซนติเมตร สีตามที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือแต่ละโรงเรียนกำหนด และมีห่วงซึ่งไม่ใช่ห่วงกิลเวลล์สวมผ้าผูกคอ

กางเกง แก้

กางเกงขาสั้น แบบและสีตามที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือแต่ละโรงเรียนกำหนด

เข็มขัด แก้

เข็มขัดหนังสีน้ำตาล กว้างไม่เกิน 3 เซนติเมตร หัวชนิดหัวขัด ทำด้วยโลหะสีทอง มีลายดุนรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติภายในกรอบช่อชัยพฤกษ์

ถุงเท้าและรองเท้า แก้

ถุงเท้า รองเท้า ชนิดและสีตามที่ผู้บังคับบัญชาลูกเลือกแต่ละโรงเรียนกำหนด

เครื่องแบบลูกเสือสามัญ แก้

เสื้อ แก้

เสื้อคอพับสีกากี แขนสั้นเหนือศอกผ่าอกตลอด อกเสื้อทำเป็นสาบกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีดุมเหนือเข็มขัด 4 ดุม อกมีกระเป๋าปะข้างละ 1 กระเป๋า มีแถบตรงกึ่งกลางตามทางดิ่ง ปกรูปมนชายกลาแหลม เจาะรังดุมกึ่งกลางกระเป๋า 1 ดุม มีอินทรธนูสีเดียวกับเสื้ออยู่เหนือบ่าทั้งสองข้าง ด้านไหล่กว้าง 3.5 เซนติเมตร เย็บติดกับตะเข็บไหล่เสื้อ ด้านคอกว้าง 2.5 เซนติเมตร ปลายมนมีดุมที่ปลายอินทรธนูทางด้านคอด้านละ 1 ดุม ดุมลักษณะกลมแบนทำด้วยวัตถุสีน้ำตาลแก่ให้สอดชายเสื้ออยู่ภายในกางเกง

หมวก แก้

หมวกปีกกว้างสีกากี พับปีกข้างขวาขึ้นประดับด้วยดอกจันชั้นเดียว ทำด้วยผ้าสีตามสีประจำภาคศึกษา กลางดอกจันมีรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติ ทำด้วยโลหะสีทอง มีหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีน้ำตาลแก่กว้าง 2 เซนติเมตรพันรอบหมวก มีหัวขัดสีน้ำตาลแก่ด้านซ้ายปีกหมวกสองข้างเจาะรูสำหรับร้อยสายรัดด้านหลังศีรษะสายรัดทำด้วยเชือกถักสีเดียวกับหมวก ผูกเป็นปมไว้ข้างหลัง

ผ้าผูกคอ แก้

ผ้าผูกคอรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านฐาน 100 เซนติเมตร ด้านตั้ง 75 เซนติเมตร สีตามสีประจำภาคศึกษา และมีห่วงซึ่งไม่ใช่ห่วงกิลเวลล์สวมผ้าผูกคอ

กางเกง แก้

กางเกงสีกากี ขาสั้นเหนือเข่าประมาณ 5 เซนติเมตร ส่วนกว้างของขากางเกงเมื่อยืนตรงห่างจากขาตั้งแต่ 8-12 เซนติเมตร ปลายขาพับเข้ากว้าง 1 เซนติเมตร ผ่าตรงส่วนหน้า ใช้ดุมขนาดย่อมขัดซ่อนไว้ข้างใน มีกระเป๋าตามแนวตะเข็บข้างละ 1 กระเป๋า และมีหูร้อยเข็มขัดยาวไม่เกิน 6 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร

เข็มขัด แก้

เข็มขัดหนังสีน้ำตาล กว้างไม่เกิน 3 เซนติเมตร หัวชนิดหัวขัด ทำด้วยโลหะสีทอง มีลายดุนรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติภายในกรอบช่อชัยพฤกษ์

ถุงเท้า แก้

ถุงเท้ายาวสีกากี พับขอบไว้ใต้เข่า ใต้พับขอบมีสายรัดถุง

รองเท้า แก้

รองเท้าหนังหรือผ้าใบสีน้ำตาลแก่ ไม่มีลวดลาย หุ้มส้นชนิดผูก

เครื่องแบบลูกเสือสามัญเหล่าสมุทร แก้

เครื่องแบบลูกเสือสามัญเหล่าอากาศ แก้

เครื่องแบบลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ แก้

เครื่องแบบลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่เหล่าสมุทร แก้

เครื่องแบบลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่เหล่าอากาศ แก้

เครื่องแบบลูกเสือวิสามัญ แก้

เครื่องแบบลูกเสือวิสามัญเหล่าสมุทร แก้

เครื่องแบบลูกเสือวิสามัญเหล่าอากาศ แก้

เครื่องหมายประกอบ แก้

เครื่องหมายประกอบเครื่องแบบลูกเสือสำรอง แก้

  • เครื่องหมายจังหวัด ทำด้วยผ้า มีขนาด รูปและสี ตามจังหวัดประจำที่ศึกษา ติดที่มุมผ้าผูกคอตรงข้ามด้านฐาน แต่ถ้าใช้ผ้าผูกคอพิเศษสำหรับไปต่างประเทศ ไม่ต้องใช้เครื่องหมายจังหวัด
  • เครื่องหมายลูกเสือสำรอง ทำด้วยผ้าสีกรมท่า รูปไข่ยาว 4 เซนติเมตร กว้าง 3.5 เซนติเมตร มีรูปหน้าเสือและคำว่า "ลูกเสือ" สีเหลืองขลิบริมสีกรมท่า ติดที่อกเสื้อข้างซ้ายเหนือกระเป๋า
  • เครื่องหมายหมู่ ทำด้วยผ้าสีตามที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือแต่ละโรงเรียนกำหนด รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ยาวด้านละ 3.5 เซนติเมตร ติดที่แขนเสื้อใต้ตะเข็บไหล่ซ้าย 1 เซนติเมตร ให้มุมแหลมขึ้น
  • เครื่องหมายชั้น รูปดาว 6 แฉกสีเงิน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร เมื่อสอบได้ตามหลักสูตรดาวดวงที่ 1 ให้ติดที่ข้างขวาหน้าหมวก 1 ดาว เมื่อสอบได้ตามหลักสูตร ดาวดวงที่ 2 ให้ติดเพิ่มขึ้นที่ข้างซ้ายหน้าหมวกอีก 1 ดาว
  • เครื่องหมายประจำการ ทำด้วยผ้าสีเหลือง รูปกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร มีรูปดาว 6 แฉกสีเงิน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร ติดที่อกเสื้อข้างซ้ายเหนือเครื่องหมายลูกเสือสำรอง 1 เซนติเมตร จำนวนเครื่องหมายประจำการให้ติดตามจำนวนปีที่ได้เป็นลูกเสือสำรอง เว้นระยะระหว่างกัน 5 มิลลิเมตร ตามแนวนอน
  • เครื่องหมายสังกัด
    • ชื่อกลุ่ม หรือกอง ทำด้วยผ้าสีแดง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 7 เซนติเมตร กว้าง 1.5 เซนติเมตรขลิบริมสีขาว มีชื่อกลุ่มหรือกองสีขาว ติดโค้งตามไหล่เสื้อข้างขวา
    • เลขกลุ่มและเลขกอง ทำด้วยผ้าสีแดง รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 3.5 เซนติเมตร ขลิบสีขาวมีตัวเลขอารบิค เลขกลุ่มสีขาวสูง 1.5 เซนติเมตร อยู่ข้างบน และเลขกอง สีขาวสูง 1 เซนติเมตร อยู่ข้างล่างติดใต้เครื่องหมายชื่อกลุ่มหรือกอง กองลูกเสือที่จัดเป็นกลุ่มไม่ได้ ให้มีเลขกองอย่างเดียว
  • เครื่องหมายเสือเผ่น ทำด้วยผ้าสีเขียว รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 3.5 เซนติเมตร มีรูปเสือเผ่นและคำว่า "ลูกเสือ" สีเหลือง ติดที่อกเสื้อข้างขวาเหนือกระเป๋า
  • เครื่องหมายภาษาต่างประเทศ ทำด้วยผ้าสีกากี รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว 6 เซนติเมตร กว้าง 1.5 เซนติเมตร มีอักษรไทยบอกชื่อภาษาต่างประเทศที่ลูกเสือพูดได้ดีสีขาว ติดที่อกเสื้อข้างขวาเหนือกระเป๋า ถ้าติดเครื่องหมายเสือเผ่นอยู่แล้ว ให้ติดใต้เครื่องหมายเสือเผ่น
  • เครื่องหมายวิชาพิเศษ รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมุมมนด้านฐานยาว 3.5 เซนติเมตร ด้านตั้งยาว 2.5 เซนติเมตร ทำด้วยผ้า มีอักษรและรูป ดังนี้
  1. วิชาศิลปะ ผ้าสีเหลือง มีคำว่า "ลูกเสือ" และรูปดินสอสีดำ
  2. วิชากรีฑา ผ้าสีเขียว มีคำว่า "ลูกเสือ" และรูปลูกเสือยืนกางแขนสีขาว
  3. วิชาอ่านหนังสือ ผ้าสีเหลือง มีคำว่า "ลูกเสือ" และรูปหนังสือสีดำ
  4. วิชาสะสม ผ้าสีกรมท่า มีคำว่า "ลูกเสือ" และรูปแว่นขยายสีขาว
  5. วิชาขับขี่จักรยาน 2 ล้อ ผ้าสีเขียว มีคำว่า "ลูกเสือ" และรูปล้อจักรยานสีขาว
  6. วิชาการบันเทิง ผ้าสีเขียว มีคำว่า "ลูกเสือ" และรูปหน้ากากสีขาว
  7. วิชาปฐมพยาบาล ผ้าสีแดง มีคำว่า "ลูกเสือ" และรูปม้วนผ้าพันแผลสีขาว
  8. วิชาทำสวน ผ้าสีกรมท่า มีคำว่า "ลูกเสือ" และรูปบัวรดน้ำสีขาว
  9. วิชามัคคุเทศก์ ผ้าสีแดง มีคำว่า "ลูกเสือ" และรูปลูกศรสีขาว
  10. วิชาการฝีมือ ผ้าสีเหลือง มีคำว่า "ลูกเสือ" และรูปบ้านบนเรือสีดำ
  11. วิชางานบ้าน ผ้าสีแดง มีคำว่า "ลูกเสือ" และรูปแปรงถูพื้นสีขาว
  12. วิชาสังเกตุและจำ ผ้าสีกรมท่า มีคำว่า "ลูกเสือ" และรูปกระต่ายสีขาว
  13. วิชาสัญญาณ ผ้าสีแดง มีคำว่า "ลูกเสือ" สีขาว และรูปธงไขว้สีเขียวและสีขาว
  14. วิชากีฬา ผ้าสีเขียว มีคำว่า "ลูกเสือ" และรูปฟุตบอลสีขาว
  15. วิชาว่ายน้ำ ผ้าสีเขียว มีคำว่า "ลูกเสือ" และรูปกบสีขาว

เครื่องหมายวิชาพิเศษ ถ้าสอบได้ไม่เกิน 9 วิชา ให้ติดที่แขนเสื้อข้างขวา กึ่งกลางระหว่างไหล่กับศอกเรียงกันเป็นแถวตามแนวนอน แถวใดเกิน 3 วิชา ให้ขึ้นแถวใหม่ เว้นระยะระหว่างเครื่องหมายและระหว่างแถว 1 เซนติเมตร ถ้าสอบได้เกินวิชา ให้มีสายสะพายจากบ่าซ้ายไปประจบกันที่ใต้เอวขวา ทำด้วยต่วนหรือสักหลาดสีเหลืองกว้าง 8 เซนติเมตร ขลิบริมสีขาบข้างละ 1 เซนติเมตร และปักเครื่องหมายวิชาพิเศษ

กรณีโต้เถียง แก้

ในปี 2565 มีการสำรวจพบว่าเครื่องแบบลูกเสือสามัญ มีมูลค่าอย่างน้อย 1,021 บาท และเครื่องแบบเนตรนารีสามัญ มีมูลค่าอย่างน้อย 992 บาท[3] หลังมีกระแสเรียกร้องให้เลิกเครื่องแบบลูกเสือเพื่อลดค่าใช้จ่าย ปรากฏว่าปลัดกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดช่วยจัดหาเครื่องแบบให้แก่ครอบครัวยากจน โดยอ้างว่า "วิชาลูกเสือ-เนตรนารี เป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญในการปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันหลักของชาติที่หลอมรวมความเป็นชาติไทย ความสมัครสมานสามัคคี ซึ่งเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่สำคัญในการหล่อหลอมให้คนในชาติมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และทำให้บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรือง รอดพ้นจากเภทภัยทั้งปวง"[4]

ด้านชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระบุว่าพร้อมปฏิบัติตามคำสั่ง แต่ให้จัดงบประมาณมาให้ด้วย[5] ต่อมาปลัดกระทรวงมหาดไทยยืนยันว่าไม่ต้องใช้งบประมาณเพิ่ม แต่ให้ระดมทรัพยากรจากภาคีเครื่อข่าย ภาคเอกชน ประชาสังคม หรือผู้นำทางศาสนา เพราะกระทรวงมหาดไทยไม่มีงบประมาณสำหรับส่วนนี้ แต่เป็นจิตอาสา[6]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "กฎกระทรวงฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๑๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๐๗" (PDF). สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
  2. "ดร.เดชรัต ข้องใจคำสั่งมท.เรื่องชุดลูกเสือคลุมเครือ ไม่บอกมติประชุม-ไม่ระบุแหล่งงบ". มติชนออนไลน์. 28 June 2022. สืบค้นเมื่อ 28 June 2022.
  3. "สำรวจราคาชุดลูกเสือ-เนตรนารี แต่งครบจบที่เท่าไหร่?". The MATTER. 8 June 2022. สืบค้นเมื่อ 28 June 2022.
  4. "ปลัดมหาดไทยสั่งผู้ว่าฯทุกจังหวัดช่วยจัดหา'ชุดลูกเสือ-เนตรนารี'ให้ครอบครัวที่ยากจนขัดสน". สำนักข่าวอิศรา. 26 June 2022. สืบค้นเมื่อ 28 June 2022.
  5. ""ชัชชาติ" ชี้ ชุดลูกเสือ-เนตรนารี ต้องไม่เป็นภาระประชาชน รับลูกปลัด มท.ช่วยหาชุดให้นักเรียน ยันสั่งมาก็ทำ แต่ของบด้วย". ผู้จัดการออนไลน์. 28 June 2022. สืบค้นเมื่อ 28 June 2022.
  6. "ปลัด มท.ย้ำการจัดหาชุด 'ลูกเสือ-เนตรนารี' ให้นักเรียนขาดแคลนไม่ใช้งบราชการ". มติชนออนไลน์. 30 June 2022. สืบค้นเมื่อ 4 July 2022.