รัฐและดินแดนของประเทศแคนาดา

(เปลี่ยนทางจาก เขตการปกครองของแคนาดา)

รัฐและดินแดนของประเทศแคนาดา เป็นเขตการปกครองระดับย่อยในพื้นที่ของประเทศแคนาดา อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐธรรมนูญแคนาดา โดยในการรวมสมาพันธ์แคนาดาเมื่อ ค.ศ. 1867 สามมณฑลอันประกอบไปด้วยบริติชนอร์ทอเมริกานิวบรันสวิก, โนวาสโกเชีย และมณฑลแคนาดา (ซึ่งถูกแบ่งออกเป็นออนแทรีโอและเกแบ็ก) ได้รวมตัวกันจัดตั้งอาณานิคมสหพันธ์เพื่อเตรียมพร้อมเป็นรัฐเอกราชในศตวรรษถัดไป ประวัติศาสตร์แคนาดามีการเปลี่ยนแปลงขอบเขตดินแดนอยู่บ่อยครั้งและมีการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองจากเดิมที่มีเพียง 4 รัฐ กลายเป็น 10 รัฐและ 3 ดินแดน รัฐและดินแดยเหล่านี้ทำให้แคนาดากลายเป็นประเทศที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 2 ของโลกในปัจจุบัน

รัฐและดินแดนของประเทศแคนาดา
แอลเบอร์ตาบริติชโคลัมเบียแมนิโทบานิวบรันสวิกนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์โนวาสโกเชียออนแทรีโอเกแบ็กเกแบ็กพรินซ์เอดเวิร์ดไอแลนด์พรินซ์เอดเวิร์ดไอแลนด์ซัสแคตเชวันนอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์นูนาวุตนูนาวุตนูนาวุตนูนาวุตนูนาวุตยูคอน
หมวดหมู่สหพันธรัฐ
จำนวน10 รัฐ
3 ดินแดน

ความแตกต่างระหว่างรัฐกับดินแดนของแคนาดา นั่นคือ รัฐจะมีอำนาจในการปกครองของตนเองตาม พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ 1867 (เดิมมีชื่อว่า พระราชบัญญัติบริติชนอร์ทอเมริกา 1867)[1], ในขณะที่ดินแดนนั้น อำนาจจะถูกลดทอนลงโดยรัฐสภาแคนาดา อำนาจที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญถูกแบ่งให้กับรัฐบาลแคนาดา (รัฐบาลสหพันธ์) และรัฐบาลประจำรัฐ การเปลี่ยนแปลงอำนาจระหว่างสหพันธ์กับรัฐต้องอาศัยการแปรบัญญัติทางรัฐธรรมนูญ ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงอำนาจของดินแดน มีเพียงรัฐสภาหรือรัฐบาลที่ดำเนินการได้เพียงฝ่ายเดียว

ตามหลักรัฐธรรมนูญแคนาดาสมัยใหม่ รัฐมีลักษณะเป็นรัฐอธิปไตยร่วมบนพื้นที่ในความรับผิดชอบระหว่างรัฐบาลสหพันธ์และรัฐบาลประจำรัฐตาม พระราชบัญญัติ 1867 ในแต่ละรัฐจะมีตำแหน่งผู้แทนที่เรียกกันว่า ผู้ว่าร้อยโท ในขณะที่ดินแดนจะไม่มีความเป็นอธิปไตย เพียงแต่จะได้รับอำนาจบางส่วนจากสหพันธ์ และมีคณะกรรมาธิการเป็นตัวแทนของรัฐบาลสหพันธ์

รัฐ

แก้
ตรา รัฐ ชื่อย่อ เมืองหลวง
[2]
เมืองใหญ่สุด[3] เข้าร่วม
สมาพันธ์[4]
ประชากร
[a]
พื้นที่ (กม2)[6] ภาษา
ราชการ[7]
ที่นั่งในสภา[8]
พื้นดิน พื้นน้ำ ทั้งหมด สามัญชน วุฒิสภา
    ออนแทรีโอ[b] ON โทรอนโต กรกฎาคม 1, 1867 14,755,211 917,741 158,654 1,076,395 อังกฤษ[c] 121 24
    เกแบ็ก QC นครเกแบ็ก มอนทรีออล กรกฎาคม 1, 1867 8,575,944 1,356,128 185,928 1,542,056 ฝรั่งเศส[d] 78 24
    โนวาสโกเชีย NS แฮลิแฟกซ์[e] กรกฎาคม 1, 1867 979,449 53,338 1,946 55,284 อังกฤษ[f] 11 10
    นิวบรันสวิก NB เฟรดริกตัน มองก์ตัน กรกฎาคม 1, 1867 782,078 71,450 1,458 72,908 อังกฤษ
ฝรั่งเศส[g]
10 10
    แมนิโทบา MB วินนิเพก กรกฎาคม 15, 1870 1,380,935 553,556 94,241 647,797 อังกฤษ[c][h] 14 6
    บริติชโคลัมเบีย BC วิกทอเรีย แวนคูเวอร์ กรกฎาคม 20, 1871 5,153,039 925,186 19,549 944,735 อังกฤษ[c] 42 6
    พรินซ์เอดเวิร์ดไอแลนด์ PE ชาร์ลอตต์ทาวน์ กรกฎาคม 1, 1873 159,819 5,660 0 5,660 อังกฤษ[c] 4 4
    ซัสแคตเชวัน SK ริไจนา แซสคาทูน กันยายน 1, 1905 1,178,832 591,670 59,366 651,036 อังกฤษ[c] 14 6
    แอลเบอร์ตา AB เอดมันตัน แคลกะรี กันยายน 1, 1905 4,436,258 642,317 19,531 661,848 อังกฤษ[c] 34 6
    นิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ NL เซนต์จอนส์ มีนาคม 31, 1949 520,438 373,872 31,340 405,212 อังกฤษ[c] 7 6
รวมทุกรัฐ 37,922,003 5,490,918 572,013 6,062,931 335 102

หมายเหตุ:

  1. As of Q1 2021.[5]
  2. ออตตาวา ซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งชาติ ตั้งอยู่ในรัฐออนแทรีโอ ใกล้กับพรมแดนรัฐเกแบ็ก อย่างไรก็ตามเขตเมืองหลวงแห่งชาติมีพื้นที่คร่อมพรมแดนนั้น
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 เป็นภาษาราชการโดยพฤตินัย ในขณะที่ภาษาฝรั่งเศสมีบทบาทที่ถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญ
  4. Charter of the French Language; ภาษาอังกฤษมีบทบาทที่ถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญในรัฐเกแบ็ก
  5. รัฐยกเลิกนครในโนวาสโกเชีย ค.ศ. 1996 โดยเปลี่ยนรูปแบบเป็นเทศบาลท้องถิ่น ดังนั้น เทศบาลที่ใหญ่ที่สุดจึงถูกนับเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด
  6. Nova Scotia has very few bilingual statutes (three in English and French; one in English and Polish); some Government bodies have legislated names in both English and French.
  7. Section Sixteen of the Canadian Charter of Rights and Freedoms.
  8. Although Manitoba has above average constitutional protections for the French language, it is not an official language.

ดินแดน

แก้

มีดินแดนทั้งหมด 3 แห่งในแคนาดา ดินแดนแตกต่างจากรัฐตรงที่จะไม่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง และมีอำนาจที่จำกัดโดยรัฐบาลสหพันธ์[9][10][11] ดินแดนเหล่านี้ครอบคลุงพื้นที่ที่อยู่ทางทิศเหนือของเส้นละติจูด 60 องศาเหนือ พื้นที่ทางทิศตะวันตกของอ่าวฮัดสัน และเกาะที่อยู่ในพื้นที่ตั้งแต่อ่าวเจมส์ไปจนถึงหมู่เกาะควีนเอลิซาเบธ

ดินแดนของประเทศแคนาดา
ตรา ดินแดน ชื่อย่อ
ปณ.
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด[2]
เข้าร่วม
สมาพันธ์[4]
ประชากร[a] พื้นที่ (กม2)[6] ภาษาราชการ ที่นั่งในสภา[8]
พื้นดิน พื้นน้ำ ทั้งหมด สามัญชน วุฒิสภา
    นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ NT เยลโลว์ไนฟ์ กรกฎาคม 15, 1870 45,136 1,183,085 163,021 1,346,106 Chipewyan, Cree, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, Gwich'in, Inuinnaqtun, Inuktitut, Inuvialuktun, North Slavey, South Slavey, Tłįchǫ[12] 1 1
    ยูคอน YT ไวต์ฮอร์ส มิถุนายน 13, 1898 42,192 474,391 8,052 482,443 อังกฤษ, ฝรั่งเศส[13] 1 1
    นูนาวุต NU อีกาลูอิต เมษายน 1, 1999 39,407 1,936,113 157,077 2,093,190 Inuinnaqtun, Inuktitut, อังกฤษ, ฝรั่งเศส[14] 1 1
รวมทุกดินแดน 126,535 3,593,589 328,150 3,921,739 3 3
  1. As of Q1 2021.[5]

อ้างอิง

แก้
  1. Name changed only in Canada by Canada Act, 1982 (UK), s. 1
  2. 2.0 2.1 "Provinces and Territories". Government of Canada. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 9, 2010. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 6, 2013.
  3. Place name (2013). "Census Profile". Statistic Canada. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2013. สืบค้นเมื่อ August 6, 2013.
  4. 4.0 4.1 Reader's Digest Association (Canada); Canadian Geographic Enterprises (2004). The Canadian Atlas: Our Nation, Environment and People. Douglas & McIntyre. p. 41. ISBN 978-1-55365-082-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 3, 2016. สืบค้นเมื่อ November 21, 2015.
  5. 5.0 5.1 "Population estimates, quarterly". Statistics Canada. March 20, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2020. สืบค้นเมื่อ March 20, 2020.
  6. 6.0 6.1 "Land and freshwater area, by province and territory". Statistics Canada. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 24, 2011. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 4, 2013.
  7. Coche, Olivier; Vaillancourt, François; Cadieux, Marc-Antoine; Ronson, Jamie Lee (2012). "Official Language Policies of the Canadian Provinces" (PDF). Fraser Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ เมษายน 28, 2012. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 6, 2012.
  8. 8.0 8.1 "Guide to the Canadian House of Commons". Parliament of Canada. 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 27, 2013. สืบค้นเมื่อ August 6, 2013.
  9. "Northwest Territories Act". Department of Justice Canada. 1986. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 15, 2013. สืบค้นเมื่อ March 25, 2013.
  10. "Yukon Act". Department of Justice Canada. 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 28, 2013. สืบค้นเมื่อ March 25, 2013.
  11. Department of Justice Canada (1993). "Nunavut Act". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 5, 2011. สืบค้นเมื่อ January 27, 2007.
  12. Northwest Territories Official Languages Act, 1988 เก็บถาวร กรกฎาคม 22, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (as amended 1988, 1991–1992, 2003)
  13. "OCOL – Statistics on Official Languages in Yukon". Office of the Commissioner of Official Languages. 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2013. สืบค้นเมื่อ August 6, 2013.
  14. "Nunavut's Official Languages". Language Commissioner of Nunavut. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ สิงหาคม 14, 2013. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 6, 2013.

บทอ่านเพิ่มเติม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้