วุฒิสภาแคนาดา (อังกฤษ: Senate of Canada; ฝรั่งเศส: Sénat du Canada) คือสภาสูงในรัฐสภาแคนาดา โดยมีแบบแผนมาจากสภาขุนนางในสหราชอาณาจักร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 105 คนมาจากการแต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี[1] การจัดสรรที่นั่งแบ่งตามภูมิภาค ได้แก่ ภูมิภาคทั้งสี่ คือ ออนแทรีโอ ควิเบก ภูมิภาคริมทะเล และแคนาดาตะวันตก โดยแต่ละภูมิภาคมีวุฒิสภาภาคละ 24 คน โดยอีกเก้าที่นั่งจัดสรรให้แก่เมืองส่วนที่เหลือ ได้แก่ นิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์จำนวน 6 คน และดินแดนในแคนาดาเหนืออีกสามแห่ง แห่งละ 1 คน สมาชิกวุฒิสภามีวาระตลอดชีพโดยดำรงตำแหน่งจนเกษียณอายุราชการที่ 75 ปีบริบูรณ์

วุฒิสภาแคนาดา

Senate of Canada
Sénat du Canada
ชุดที่ 44
ประเภท
ประเภท
เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาแคนาดา
ผู้บริหาร
จอร์จ ฟิวรีย์, ไม่สังกัดพรรค
ตั้งแต่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2015
ปีแยแร็ต แร็งแก็ต
ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2020
มาร์ก โกลด์
ตั้งแต่ 24 มกราคม ค.ศ. 2020
ดอน เพล็ตต์, อนุรักษนิยม
ตั้งแต่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019
โครงสร้าง
สมาชิก105 คน
โครงสร้างในปัจจุบันของวุฒิสภา
กลุ่มการเมืองใน
วุฒิสภา
การเลือกตั้ง
แต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี
ที่ประชุม
สำนักงานวุฒิสภาแคนาดา
ออตตาวา ออนแทรีโอ
 แคนาดา
เว็บไซต์
sencanada.ca
ข้อบังคับ
Rules of the Senate (อังกฤษ, ฝรั่งเศส)

ในขณะที่วุฒิสภานั้นคือสภาสูง ส่วนสภาสามัญชนคือสภาล่าง แต่ไม่ได้หมายความว่าวุฒิสภาจะมีบทบาทอำนาจสูงกว่าแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าตามพิธีการแล้วลำดับโปเจียมของสมาชิกวุฒิสภาจะมาก่อนสมาชิกสภาสามัญชน แต่ในทางปฏิบัติแล้วสภาสามัญชนมีบทบาทหลักที่สำคัญกว่า นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสภาสามัญชนเพียงแห่งเดียว และจะสามารถดำรงอยู่ในอำนาจได้เมื่อได้รับความไว้วางใจจางสภาสามัญชน รัฐสภาประกอบด้วยทั้งสองสภาและพระมหากษัตริย์ (ซึ่งมีผู้สำเร็จราชการเป็นอุปราชผู้แทนพระองค์โดยตำแหน่ง)

ในการนิติบัญญัตินั้น จะต้องได้รับเสียงลงมติเห็นชอบโดยทั้งสองสภาเพื่อสามารถจะผ่านร่างกฎหมายได้ และดังนั้นวุฒิสภาสามารถตีตกร่างกฎหมายที่ผ่านโดยสภาสามัญชนได้ ระหว่าง ค.ศ. 1867 ถึง ค.ศ. 1987 วุฒิสภาตีตกร่างกฎหมายน้อยกว่าสองฉบับต่อปี แต่ได้เพิ่มจำนวนสูงขึ้นในปีหลัง[2] ถึงแม้ว่าการนิติบัญญัติสามารถเสนอร่างได้โดยจากทั้งสองสภา แต่ร่างกฎหมายส่วนมากล้วนมาจากสภาสามัญชน โดยมีวุฒิสภาทำหน้าที่เป็นดั่งสภาที่ "พิจารณารอบสองในแบบที่สร่างเมาแล้ว" (ตามคำเรียกของจอห์น เอ. แม็กโดนัลด์ นายกรัฐมนตรีคนแรกของแคนาดา)[3]

อ้างอิง

แก้
  1. Guida, Franco (2006). Canadian almanac & directory (159th ed.). pp. 3–42. ISBN 1-895021-90-1.
  2. url="https://sencanada.ca/en/about/"|name=senfocus/>|title=About the Senate|date=October 2018}}
  3. "FAQs about the Senate of Canada". Government of Canada. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-02. สืบค้นเมื่อ December 7, 2015.