เกลนดา แจ็กสัน
เกลนดา เมย์ แจ็กสัน, ซีบีอี (อังกฤษ: Glenda May Jackson; เกิด 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1936) เป็นนักแสดงและอดีตนักการเมืองพรรคแรงงานชาวบริติช เจ้าของรางวัลออสการ์ รางวัลโทรทัศน์เอมมี่ เเละ รางวัลโทนี่ ทำให้เธอเป็นหนึ่งในนักแสดงเพียงไม่กี่คนที่ได้รับทริปเปิลคราวน์ของการแสดง
เกลนดา แจ็กสัน ซีบีอี | |
---|---|
แจ็กสันในปี ค.ศ. 1971 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของฮัมสตีดและคิลเบิร์น ฮัมสตีดและไฮเกต (1992–2010) | |
ดำรงตำแหน่ง 9 เมษายน 1992 – 30 มีนาคม 2015 | |
ก่อนหน้า | เจฟฟรีย์ ฟินส์เบิร์ก |
ถัดไป | ทิวลิป ศิดดิก |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1936 เบอร์เคนเฮด เชชเชอร์ อังกฤษ |
พรรคการเมือง | พรรคแรงงาน |
คู่สมรส | รอย ฮอดจส์ (1958–1976) |
บุตร | แดน ฮอดจส์ |
ศิษย์เก่า | ราชสถานศิลปะการละคร |
อาชีพ | นักแสดง (1955–1992, 2016–ปัจจุบัน) นักการเมือง (1992–2015) |
ในฐานะอาชีพนักแสดงในช่วงปลายทศวรรษ 1950 เธอใช้เวลาสี่ปีในฐานะสมาชิกของบริษัทรอยัลเชกสเปียร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 โดยเฉพาะผลงานกำกับของปีเตอร์ บรุก ในระหว่างที่แจ็กสันหันไปแสดงภาพยนตร์ เธอได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมถึง 2 ครั้ง จากการแสดงในภาพยนตร์เรื่อง วีเมนอินเลิฟ (1970) และ อะทัชออฟคลาส (1973) และได้เข้าชิงอีกสองครั้งในสาขาเดียวกันจากเรื่อง ซันเดย์บลัดดีซันเดย์ (1971) และ เฮดดา (1975) เธอยังได้รับสองรางวัลจากไพรม์ไทม์เอ็มมีอะวอดส์ ในละครยาวทางช่องบีบีซีเรื่อง เอลิซาเบธอาร์ (1971) รวมถึงได้รับรางวัลโทนี สาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยมในด้านละครเวที จากการแสดงของเธอใน ทรีทอลวีเมน ที่เขียนโดยเอ็ดเวิร์ด อัลบี
แจ็กสันกลายเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน ค.ศ. 1992 โดยเป็นสมาชิกของฮัมสตีดและไฮเกต[1] ในช่วงที่โทนี แบลร์เป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรอยู่นั้น เธอดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 ถึง 1999 ภายหลังมีการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ในปี ค.ศ. 2010 แจ็กสันเอาชนะคริส ฟิลล์จากพรรคอนุรักษนิยม ด้วยคะแนนอย่างสูสี[2] และขึ้นเป็นสภาสามัญชนในเขตฮัมสตีดและคิลเบิร์นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งเกษียณตัวเองในการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2015[3]
ในด้านชีวิตส่วนตัว แจ็กสันแต่งงานกับผู้ประกาศข่าว รอย ฮอดจส์[4] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 และหย่ากันในปี ค.ศ. 1976[5] ทั้งคู่มีลูกชายด้วยกัน 1 คนคือ แดน ฮอดจส์ (เกิด 7 มีนาคม ค.ศ. 1969) เป็นนักหนังสือพิมพ์ใน เดอะเมลออนซันเดย์
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Late Show with Stephen Colbert (2018-05-15). Glenda Jackson Moved From Acting to Politics. YouTube.com. สืบค้นเมื่อ 2018-05-15.
- ↑ Andy Bloxom (7 May 2010). "General Election 2010: the 10 closest battles". The Telegraph. London: telegraph.co. สืบค้นเมื่อ 2011-11-04.
- ↑ Graham, Georgia (23 June 2011). "Glenda Jackson won't stand in next election". Ham & High.
- ↑ Ian Hall (28 February 2003). "Profile: Dan Hodges, Freedom To Fly". PR Week. prweek.com. สืบค้นเมื่อ 2011-11-04.
- ↑ "Milestones". Time. Time.com. 9 February 1976. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2013-08-16. สืบค้นเมื่อ 2011-11-04.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เกลนดา แจ็กสัน |