ฮิโรยูกิ มูราโมโตะ

ฮิโรยูกิ มูราโมโตะ (ญี่ปุ่น: 村本博之โรมาจิMuramoto Hiroyuki, พ.ศ. 250910 เมษายน พ.ศ. 2553) หรือที่เป็นที่รู้จักในชื่อฮิโระ มูราโมโตะ เป็นช่างภาพและผู้สื่อข่าว เคยทำงานให้กับออสเตรเลียนบอร์ดแคสติงคอร์ปอเรชัน (เอบีซี) ในโตเกียว ในปี พ.ศ. 2533s[1] และเป็นผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์สเป็นเวลานานกว่า 15 ปี[2]

ฮิโรยูกิ มูราโมโตะ
เกิดพ.ศ. 2509
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
เสียชีวิต10 เมษายน พ.ศ. 2553
ไทย กรุงเทพมหานคร, ไทย
สัญชาติญี่ปุ่น
อาชีพนักข่าว/ช่างภาพ
องค์การสำนักข่าวรอยเตอร์ส

การทำงาน แก้

มูราโมโตะจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทมเพิล เขาทำงานให้กับเอ็นบีซี และเอบีซีในเวลาต่อมา หลังจากนั้นเขาเข้าร่วมกับรอยเตอร์สในฐานะช่างภาพสมัครเล่นใน พ.ศ. 2535 และกลายมาเป็นช่างภาพอาชีพใน 3 ปีถัดมา ขณะที่เขาทำงานอยู่กับรอยเตอร์สเขาได้เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงหลายพื้นที่ ทั้งประเทศเกาหลีเหนือและประเทศฟิลิปปินส์ (ในช่วงที่การเมืองไม่มั่นคง)

นอกจากนี้เขายังได้เข้าร่วมกิจกรรมการกุศลหลายประเภท โดยเขาได้ใช้เวลา 2 วัน ในการเดิน 100 กิโลเมตรบริเวณภูเขาไฟฟูจิ เพื่อนำเงินไปช่วยเหลือคนยากไร้ในทวีปแอฟริกา

การเสียชีวิต แก้

มูราโมโตะถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 เวลาประมาณ 21.00 น. บริเวณถนนดินสอ หน้าอาคารพรรณี ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ทหารบุกเข้าสลายการชุมนุมของ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ซึ่งมูราโมโตะได้เข้าไปถ่ายภาพเหตุการณ์บริเวณถนนราชดำเนิน ร่างมูราโมโตะถูกส่งไปที่โรงพยาบาลกลางและถูกชันสูตรที่สถาบันนิติเวชวิทยา กรมตำรวจ โดยผลชันสูตรระบุว่าเสียชีวิตจากกระสุนปืนความเร็วสูงที่ทรวงอก ทำลายปอด และหลอดเลือดแดงใหญ่[3]

วันที่ 30 เมษายน 2558 ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งว่า ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำหรือไม่อาจทราบได้ว่ากระสุนปืนที่ยิงถูกมูราโมโตะและผู้ตายอีก 2 คน คือ วสันต์ ภู่ทอง ผู้ร่วมชุมนุม และ ทศชัย เมฆงามฟ้า ผู้ร่วมชุมนุม มีแนววิถีกระสุนปืนมาจากทิศทางใด[4]

อ้างอิง แก้

  1. Doherty, Ben (2010-04-14). "Military signals Thai PM's time is running out". Telegraph. The Age. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-14. สืบค้นเมื่อ 2010-04-18. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthor= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  2. Szep, Jason (2010-04-10). "Reuters journalist killed in Bangkok protests". Reuters. The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-13. สืบค้นเมื่อ 2010-04-18.
  3. ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณี เม.ย.-พ.ค.53
  4. "ศาลสั่งไม่ทราบใครยิง 'ฮิโรยูกิ-วสันต์-ทศชัย' เหยื่อกระสุน 10 เม.ย.53 ตาย". ประชาไท. ประชาไท. 2015-04-30.