ฮาร์เวสต์มูน (เกมชุด)
สตอรีออฟซีซันส์ (อังกฤษ: Story of Seasons[a]) เป็นที่รู้จักในชื่อเกมก่อนหน้าคือ ฮาร์เวสต์มูน (อังกฤษ: Harvest Moon) เป็นเกมจำลองชีวิต, จำลองการบริหารฟาร์มและเล่นตามบทบาทที่สร้างโดยยาซูฮิโระ วาดะ ผลิตโดยมาร์เวลัสในประเทศญี่ปุ่น
สตอรีออฟซีซันส์ | |
---|---|
ประเภท | จำลองชีวิต จำลองการบริหารฟาร์ม เล่นตามบทบาท |
ผู้พัฒนา | แอมคัส (1996) วิคเตอร์ อินเตอร์แอคทีฟซอฟท์แวร์ (1997 – 2001) มาร์เวลัส (2003 – ปัจจุบัน) |
ผู้จัดจำหน่าย |
|
ผู้จัดสร้าง | ยาซูฮิโระ วาดะ |
ระบบปฏิบัติการ | |
วางจำหน่ายครั้งแรก | ฮาร์เวสต์มูน 9 สิงหาคม 1996 |
จำหน่ายครั้งล่าสุด | สตอรีออฟซีซันส์: อะวันเดอร์ฟูลไลฟ์ 27 มิถุนายน 2023 |
ภาคแยก |
ก่อนหน้านั้นในช่วงปี 1996 ถึง 2013 แนตซูเมะได้นำเกม โบกูโจ โมโนงาตาริ มาแปลภาษาอังกฤษและเป็นผู้จัดจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือภายใต้ชื่อ ฮาร์เวสต์มูน จนกระทั่งในปี 2014 มาร์เวลัสได้ประกาศว่า เอกซ์ซีดเกมซึ่งเป็นบริษัทในเครือจะเป็นผู้จัดจำหน่ายและแปลภาษาอังกฤษในเกมภาคล่าสุดในขณะนั้น รวมไปถึงการใช้ชื่อเกมใหม่เป็นสตอรีออฟซีซันส์[1]
กรณีการใช้ชื่อใหม่
แก้ปี 2012 มาร์เวลัสได้ยกเลิกสัญญาลิขสิทธิ์กับแนตซูเมะ[2] โดยเกมหลักสุดท้ายที่แนตซูเมะได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับมาร์เวลัสคือ "ฮาร์เวสต์มูน 3ดี: อะนิวบีกินนิง" วางจำหน่ายวันที่ 19 ตุลาคม 2012 ในอเมริกาเหนือ
หลังจากนั้นแนตซูเมะจะดำเนินการจัดจำหน่ายเกมภายใต้ชื่อ "ฮาร์เวสต์มูน" ต่อไป เนื่องจากชื่อ "ฮาร์เวสต์มูน" นั้น แนตซูเมะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไปเป็นที่เรียบร้อย จึงส่งผลทำให้มาร์เวลัสไม่สามารถใช้ชื่อดังกล่าวเพื่อที่จะจำหน่ายในอเมริกาเหนือได้อีกต่อไป
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2014 แนตซูเมะได้เปิดตัวเกมฮาร์เวสต์มูนของตนเอง โดยที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้พัฒนาเดิมอย่างมาร์เวลัสคือ "ฮาร์เวสต์มูน: เดอะลอสต์วัลเลย์"[3][4] ซึ่งแนตซูเมะได้ร่วมมือกับผู้พัฒนาใหม่อย่าง "อัพซิ คอร์เปอเรชัน" หลังจากที่เปิดตัวภาคเดอะลอสต์วัลเลย์ ทำให้แฟนเกมบางส่วนและแหล่งข่าวที่เกี่ยวกับวิดีโอเกมเริ่มสับสนพอสมควร[5][6]
ดังนั้นในปีเดียวกัน มาร์เวลัสได้ประกาศให้บริษัทในเครืออย่างเอกซ์ซีดเกม เข้ามาดูแลในเรื่องการแปลภาษาและจัดจำหน่ายในอเมริกาเหนือแทนที่แนตซูเมะ รวมไปถึงการใช้ชื่อใหม่เป็น "สตอรีออฟซีซันส์"[7] ส่วนเกมหลักสตอรีออฟซีซันส์ หรือชื่อเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น "โบกูโจ โมโนงาตาริ: สึนางารุ ชินเท็นจิ" ได้วางจำหน่ายวันที่ 31 มีนาคม 2015 ในอเมริกาเหนือ
การเล่นขั้นพื้นฐาน
แก้การปลูกและการเก็บเกี่ยว
แก้การปลูกนั้นจะต้องมีจอบ, เมล็ดและบัวรถน้ำ การปลูกจะมีเงื่อนไขบางอย่าง ข้อระวัง และ ระยะเวลาในการปลูกซึ่งจะแตกต่างออกไปในแต่ละภาค การเก็บเกี่ยว:ตอนนี้ทุกคนรู้แล้วว่าแต่ละภาคมันแต่ต่าง แต่วิธีการเล่นก็ไม่แตกต่างมากนัก การเก็บเกี่ยวบางภาคต้องใช้เครื่องมือ และ บางภาคก็เก็บมือเปล่าได้เลย อันนี้ขอแบบเสมือนจริงเลยละกัน ต้นไม้บางชนิดอาจต้องเด็ดมาทั้งต้นเช่นมันฝรั่ง และ บางต้นก็เก็บแค่ผลของมันเช่นพวกแอปเปิ้ล มะเขือเทศ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การขายผลผลิต
แก้หลายภาคอาจมีกล่องไม้ไว้สำหรับขายของทุกวัน ๆ แต่บางภาคอาจต้องสั่งขายหรือขายให้กับคนอื่น ภาคที่มีกล่อง ถ้าเราได้ใส่ผลผลิตหรือสิ่งของอื่น ๆ เข้าไปในกล่อง เมื่อถึงเวลาจะมีคนมาซื้อหรืออาจไม่มีคนและเราจะได้รับเงินส่วนนึงจากการขาย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การเลี้ยงปศุสัตว์
แก้แหล่งรายได้รองในเกมซีรีส์นี้คือการซื้อ การดูแล และเลี้ยงปศุสัตว์ ปศุสัตว์สามารถทำผลผลิตขายได้ในแต่ละวัน โดยผู้เล่นต้องดูแลเอาใจใส่กับสัตว์เหล่านี้ทุกวัน เพื่อจะได้สร้างความผูกพันธ์ต่อผู้เล่นและเพิ่มคุณภาพของผลผลิตที่สามารถขายในราคาที่ต่างจากเดิมได้ หากผู้เล่นละเลยการดูแลสัตว์อาจทำให้เจ็บป่วยและถึงขั้นเสียชีวิตได้
ในเกมภาคแรกมีเพียงวัวและไก่ ซึ่งเลี้ยงอยู่ในโรงนาและเล้าไก่ และเลี้ยงด้วยอาหารชนิดเดียวกัน สามารถขายนมและไข่ได้เช่นเดียวกับสัตว์ด้วย ซึ่งต่อมาได้มีการเพิ่มแกะและแยกอาหารระหว่างไก่และวัวกับแกะ เช่นเดียวกับเครื่องจักรที่สามารถเปลี่ยนนมเป็นชีส, ไข่เป็นมายองเนส และขนสัตว์เป็นไหมพรม โดยเกมภาคหลังผู้เล่นสามารถเลี้ยงเป็ด, แพะ, อัลปากาและวัวที่มีสีแต่งต่างกันได้ ส่วนในฮาร์เวสต์มูน: ทรีออฟทรานควิลลิตี หนอนไหมและนกกระจอกเทศได้ถูกนำมาใช้ในซีรีส์นี้ และเกมภาคนี้ยังทำให้ผู้เล่นสามารถผูกพันธ์กับสัตว์ป่าและชักชวนให้อาศัยอยู่ในฟาร์มของผู้เล่นได้
สัตว์ยังสามารถสืบพันธุ์ได้ โดยผู้เล่นสามารถวางไข่ไก่ในตู้ฟักเพื่อฟักลูกไก่ได้ภายในไม่กี่วัน ส่วนวัวและแกะผู้เล่นใช้น้ำเชื้อตัวผู้ (Miracle Potion) ซึ่งจะทำให้พวกมันตั้งท้อง การซื้อและเพาะพันธุ์ม้าหลายตัวถูกนำมาใช้ใน ฮาร์เวสต์มูน 3 จีบีซี และกลับมาใช้ต่อใน ฮาร์เวสต์มูน: แมจิคัลเมโลดี, ฮาร์เวสต์มูน: ทรีออฟทรานควิลลิตี' ' และ ฮาร์เวสต์มูน: แอนิมอลพาเหรด
เทศกาล
แก้โดยส่วนใหญ่แต่ะภาคจะมีงานเทศกาลต่าง ๆ เพื่อเพิ่มอรรถรสในเกมส์ไม่ให้ผู้เล่นรู้สึกจำเจ ในแต่ละเดือนจะมีงานเทศกาลต่างกันไป อาทิเช่น เทศกาลประกวดสัตว์เลี้ยง เทศกาลทำอาหาร เทศกาลตกปลา เป็นต้น บางเทศกาลสามารถเพิ่มค่ามิตรภาพของชาวเมืองหรือค่าความรักของตัวะครที่เราชอบ และอาจมีของหายากต่าง ๆ ที่ได้จากเทศกาลอีกด้วย
การแต่งงาน
แก้เกมซีรีส์นี้ได้เพิ่มระบบการแต่งงานเข้ามา เพื่อให้ผู้เล่นตัวละครผู้ชายและผู้หญิงได้เริ่มต้นชีวิตคู่ ในบางภาคจะไม่มีระบบการแต่งงาน บางภาคตัวละครผู้หญิงไม่สามารถแต่งงานได้และบางภาคตัวละครหญิงได้แต่งงาน หลังจากนั้นเกมจะเข้าสู่เครดิตจบแต่จะจบเกมอย่างสมบูรณ์ ซึ่งระบบการจะแต่งงานนั้น ต้องมีเงื่อนไขต่างๆ เช่น การทำให้ค่าความรักคู่ครองเต็ม พบเหตุการณ์ความรักให้ครบ และปัจจัยเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย ในเกมซีรีส์นี้สิ่งที่ใช้ในการแต่งงานมาบางภาคส่วนใหญ่คือ "ขนนกสีน้ำเงิน" หากนำไปให้คู่ครองที่มีค่าความรักเต็มและทำเงื่อนไขเสร็จสิ้นแล้ว จะเป็นการยอมรับขนนกสีน้ำเงินเพื่อเป็นการตกลง ผ่านไปสักพักผู้เล่นและคู่ครองจะเข้าพิธีแต่งงาน หลังจากผ่านเหตุการณ์แต่งงานจะมีการเข้าเครดิตเกมและผู้เล่นสามารถเล่นเกมต่อไปได้ โดยหลังแต่งงานคู่ครองจะเรียกผู้เล่นว่าอะไรก็ได้หรือเลือกตามที่เกมกำหนดให้
การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันได้เพิ่มเข้ามาครั้งแรกใน "ฮาร์เวสต์มูน ดีเอสคิวต์" เวอร์ชันญี่ปุ่น ที่ผู้เล่นตัวละครผู้หญิงจะสามารถแต่งงานกับผู้หญิงด้วยกันได้ (เรียกระบบนั้นว่า "เพื่อนสนิท") แต่ในเวอร์ชันอเมริกาเหนือได้ตัดส่วนนั้นออกไป[8]
หลังจากนั้นในเกมภาคทำใหม่ "สตอรีออฟซีซันส์: เฟรนด์ออฟมิเนอร์รัลทาวน์" ได้นำระบบการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันกลับมาอีกครั้ง โดยในเวอร์ชันตะวันตก คู่รักเพศเดียวกันจะได้รับการปฏิบัติเหมือนกับคู่รักเพศตรงข้าม ส่วนสำหรับเวอร์ชันญี่ปุ่นนั้น จะไม่ได้เรียกว่าระบบแต่งงานสำหรับเพศเดียวกัน แต่จะเรียกระบบนั้นว่าเพื่อนสนิท ซึ่งได้นำกลับมาอีกครั้ง[9]
การมีลูก
แก้การมีลูกในซีรีส์เกมนี้ บางภาคสามารถมีลูกเพียงคนเดียว บางภาคอาจมีลูกมากกว่าหนึ่งคน หรือบางภาคลูกของผู้เล่นในเกมสามารถเจริญเติบโตถึงวัยผู้ใหญ่ได้
โดยการมีลูกนั้น มีได้หลังการแต่งงานเสร็จสิ้น สักพักคู่รักผู้หญิงหรือผู้เล่นตัวละครผู้หญิงก็สามารถเจอเหตุการณ์การตั้งครรภ์ หลังจากนั้นคู่รักผู้หญิงหรือผู้เล่นตัวละครผู้หญิงจะได้ลูกชาย, ลูกสาวหรือได้จากการเลือกเพศกำเนิดเด็กทารกของผู้เล่นเองในบางภาคของเกม
หรืออีกกรณีหนึ่ง ของเกมภาคทำใหม่ "สตอรีออฟซีซันส์: เฟรนด์ออฟมิเนอร์รัลทาวน์" ได้เพิ่มการอุปการะเด็กทารกจากนางฟ้าในกรณีที่ผู้เล่นมีคู่รักเป็นเพศเดียวกัน[10]
เกมในชุด
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ XSEED Games Tells a STORY OF SEASONS on Nintendo 3DSเก็บถาวร 2014-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Harvest Moon And Beyond, What's Next For Natsume?". Siliconera. 18 March 2015. สืบค้นเมื่อ 7 May 2018.
- ↑ Whitehead, Thomas (3 June 2014). "Natsume Announces Harvest Moon: The Lost Valley for a 2014 Release on 3DS". Nintendo Life. สืบค้นเมื่อ 28 October 2015.
- ↑ Campbell, Evan (3 June 2014). "Harvest Moon: The Lost Valley Announced - IGN". IGN. สืบค้นเมื่อ 28 October 2015.
- ↑ "So what the hell is happening with Harvest Moon?". Destructoid. 6 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-02. สืบค้นเมื่อ 7 May 2018.
- ↑ "Harvest Moon is no longer the game you grew up with". Polygon. 20 June 2016. สืบค้นเมื่อ 7 May 2018.
- ↑ Moriarty, Colin (28 May 2014). "Harvest Moon Returns in Story of Seasons on 3DS". IGN. สืบค้นเมื่อ 28 October 2015.
- ↑ Rea, Jasmine Maleficent (21 June 2010). "Harvest Moon and Same-Sex Relationships". Bitmob. สืบค้นเมื่อ 19 April 2012.
- ↑ XSEEDGames (2020-05-02). "STORY OF SEASONS: Friends of Mineral Town Localization Blog #1". XSEED Games (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-14. สืบค้นเมื่อ 2020-07-16.
- ↑ "Ushi no Tane xS3 - Having a Child". Ushi no Tane - A Harvest Moon and Story of Seasons Free Help Site (ภาษาอังกฤษ). Cherubae. สืบค้นเมื่อ 2024-01-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)"
หมายเหตุ
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Natsume official site
- เว็บไซต์แฟนคลับในประเทศไทย เก็บถาวร 2009-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน