ฮังไก (杭盖乐队) เป็นวงดนตรีแนวโฟล์กร็อกสัญชาติมองโกเลียที่ก่อตั้งที่ปักกิ่ง วงนี้ได้รับความนิยมในกลุ่มเล็ก ๆ จากการนำดนตรีพื้นบ้านของมองโกเลียมาบรรเลงร่วมกับดนตรีสมัยใหม่ เช่น พังก์ร็อก

ฮังไก
วงฮังไกขณะทำการแสดงในปี 2011
วงฮังไกขณะทำการแสดงในปี 2011
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดปักกิ่ง, จีน
แนวเพลงโฟล์กร็อก, อินดีร็อก
ช่วงปี2004-ปัจจุบัน
ค่ายเพลงTian Hao Entertainment
สมาชิกยิลชิ (อิลลิชิ) - ร้องนำ, ทปชูร
ยิลลาตา (เฉิง หลี่) - ร้องนำ, กีตาร์
บาตูบาเกน (บาเกน) - ร้องนำ (ขับร้องโดยลำคอ), โมรินคูร
หูหรื่อฉา (ฮูรชา) - ร้องนำ
ไอ่ หลุน (อัลเลน) - กีตาร์
เน่ว์ ชิน - เบส
เหม่ง ต่า - กลองชุด
อดีตสมาชิกฮูเกอจิลตู; อู๋ จุนเต๋อ; หลี่ จงเต๋า; ฉู่ จิงเชิน
เว็บไซต์http://site.douban.com/hanggai/ (ภาษาจีน)

ภูมิหลัง แก้

สถานีวิทยุ NPR ได้กล่าวว่า ในขณะที่ดนตรีแนวซีป็อปกำลังครองประเทศจีน วงฮังไกได้รุกเข้าสู่ตลาดของจีนโดยมีจุดเด่นที่การนำดนตรีสมัยใหม่รวมเข้ากับดนตรีพื้นบ้านของมองโกเลีย[1][2] สมาชิกบางคนของวงเป็นชาวมองโกเลียในและสมาชิกที่เหลือเป็นชาวฮั่นที่มีความเชี่ยวชาญในการเล่นเครื่องดนตรีมองโกล[3] และสมาชิกทุกคนนั้นมาจากเขตปกครองตนเองมองโกเลียในและปักกิ่ง[4][5]

คำว่า "ฮังไก" เป็นภาษามองโกเลีย ที่หมายถึงบรรยากาศอันเป็นสุขที่รายล้อมด้วยทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่ ภูเขายาวสุดลูกหูลูกตา สายน้ำที่ไหลอย่างสงบ ต้นไม้ที่โบกสะบัดไปตามแรงลม และท้องฟ้าอันกว้างใหญ่[6] วงนี้ถูกก่อตั้งเมื่อยิลชิ หัวหน้าวง ที่ได้ฟังการร้องเพลงโดยลำคอของชาวมองโกลและต้องการค้นหารากเหง้าของตนเอง โดยเข้านั้นได้เดินทางไปยังมองโกเลียในเพื่อศึกษาการร้องเพลงด้วยลำคอ และที่นั่นเขาก็ได้พบกับฮูเกอจิลตูและบาเกน ผู้ที่จะเป็นสมาชิกเริ่มแรกของวง[7] ในการสัมภาษณ์กับ NPR ยิลชิได้กล่าวว่า "พวกเราส่วนใหญ่ได้ทิ้งจากเส้นทางชีวิตที่พวกเราเคยเป็น…และเมื่อพวกเราได้เข้าไปในเมืองใหญ่ พวกเราก็ถูกคลื่นวัฒนธรรมซัดซาดถาโถม ทำให้เราทอดทิ้งสิ่งที่เราเคยเป็น รวมถึงดนตรีพื้นบ้านเองก็ได้หายไปจากชีวิตเราอย่างสิ้นเชิง"[1]

อิทธิพลและรูปแบบด้านดนตรี แก้

สมาชิกของฮังไกมีภูมิหลังที่หลากหลาย หัวหน้าวงอย่างยิลชิเองเคยเป็นหัวหน้าวงแนวพังก์ร็อกชื่อว่า T9.[1] ประสบการณ์ของสมาชิกแต่ละคนได้นำไปสู่ความเป็นเอกลักษณ์ในการนำดนตรีพื้นบ้านมาบรรเลงร่วมกับดนตรีที่ได้รับความนิยม ในการสัมภาษณ์กับ Spinner ยิลชิได้กล่าวว่าวงของเขาได้รับอิทธิพลจากศิลปินร็อกตะวันตกหลายวง เช่น "พิงก์ ฟลอยด์, เรดิโอเฮด, เรจอะเกนสต์เดอะแมชชีน, ซีเครทแมชีนส์, อิเล็กทราเลน และ นีล ไดอะมอนด์…" โดยพวกเขาต่างก็มีอิทธิพลอย่างมากต่อวง[2] ขณะเดียวกัน แต่ละเพลงของฮังไกต่างก็มีเสียงของเครื่องดนตรีพื้นบ้านของมองโกเลียอย่างทปชูรและโมรินคูร นอกจากนี้ทางวงเองก็ได้นำเครื่องดนตรีที่มีผู้รู้จักน้อยกว่าเช่นกัน[6]

ในแต่ละอัลบั้มของวง ได้มีการใช้กีตาร์ไฟฟ้า เบส แบนโจ และเครื่องดนตรีสังเคราะห์ในการทำเพลง เพื่อให้มีอรรถรสในการฟังอย่างไม่มีรอยต่อและทันสมัย[5][8][9]

ทุกเพลงของฮังไกนั้นเป็นเพลงที่ดัดแปลงมาจากเพลงพื้นบ้านของมองโกเลีย และส่วนใหญ่จะมีการร้องเพลงจากลำคอ ซึ่งเป็นเทคนิคพิเศษของชาวมองโกเลีย โดยจะมีการร้องเพลงจากลำคอสองแบบในเวลาเดียวกัน[10]

จุดมุ่งหมาย แก้

เป้าหมายของการก่อตั้งวงฮังไกคือการช่วยให้สังคมชาวมองโกเลียในประเทศจีนแข็งแกร่งขึ้น และช่วยให้พวกเขานั้นค้นพบตัวตนทางวัฒนธรรมของตนเองในสังคมสมัยใหม่ของจีน โดยยิลชิได้เปรียบเทียบตนเองว่า เขานั้นเป็นชาวมองโกลที่ได้เรียนภาษาท้องถิ่นของตนเอง เพื่อที่จะร้องเพลงเกี่ยวกับผู้คนที่เส้นทางชีวิตค่อยๆจางหายไปอย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่เคยได้ใช่ชีวิตของตนเองสักครั้ง[1] แม้ว่าเพลงส่วนใหญ่ของฮังไก เช่นเพลง Wuji จะเป็นเพลงง่าย ๆ พาให้นึกถึงอดีตจากเนื้อเพลงอย่าง "ทุ่งหญ้าที่ข้าเกิดมา....ข้าจะร้องเพลงสรรเสริญท่านตลอดกาล....มองโกเลียบ้านเกิดที่รักของข้า....ข้าจะร้องเพลงและเล่นทบชูรให้ท่านฟัง..." เพลงเหล่านี้ก็ยังแทรกไปด้วยเสียงผู้คนในสถานีรถไฟปักกิ่ง พร้อมกับแรงจูงใจในการค้นหาตัวตนของตัวเองในกระแสวัฒนธรรมหลักอันเชี่ยวกรากของจีน[6][9]

ในการสัมภาษณ์กับ Spinner เมื่อถูกถามถึงการที่ดนตรีของฮังไกถูกจัดให้เป็นดนตรีแบบ "จีน" ยิลชิได้ตอบว่า "ดนตรีของฮังไกเป็นดนตรีมองโกลดั้งเดิมมากๆ เพลงบางเพลงอาจมีอิทธิพลจากดนตรีจีน เพราะเพลงพวกนี้ถูกแต่งขึ้นหลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนในปี 1949 และพวกเราทุกคนก็เกิดหลังจากนั้นนานเลยล่ะ! เราโตมาและได้อิทธิพลมาจากอะไรก็ตามแต่ที่เราได้ฟัง และเราเองก็ยังค้นหารากเหง้าด้านดนตรีของเราอยู่"

โรบิน ฮัลเลอร์ อดีตโปรดิวเซอร์ของวงได้เสริมว่า "ความสัมพันธ์ระหว่างชาวฮั่นกับชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในชายแดนประเทศ -- ทิเบต มุสลิมอุยกูร์...และแน่นอน มองโกล มันทั้งใกล้ชิดและซับซ้อน...ราชวงศ์ของจีนหลายราชวงศ์ถูกก่อตั้งโดยชนเผ่าเรร่อนทางเหนือ...เพลงพื้นบ้านของมองโกลและวัฒนธรรมแบบเร่ร่อนจึงมักจะถูกตีความว่าเป็นวัฒนธรรมแบบ 'จีน' สำหรับชาวจีน แต่คำว่า 'จีน' เป็นคำที่มีความหมายกว้างมาก ถ้าให้ยกตัวอย่าง...มันก็เหมือนกับเพลงของชาวเคลท์นั่นแหละ ชาวอังกฤษส่วนใหญ่ต่างก็คิดว่ามันเป็นเพลงอังกฤษ แต่แท้จริงแล้วมันแตกต่าง สวยงาม และค่อนข้าง 'อันตราย' แบบที่เพลงพื้นบ้านของอังกฤษไม่ได้เป็น!"[2]

จากการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านของมองโกเลียประสานกับดนตรีสมัยใหม่ ฮังไกได้สร้างแนวดนตรีแบบใหม่ที่จะเชื่อมคนรุ่นใหม่กับรากเหง้าทางวัฒนธรรมกับวัฒนธรรมกระแสหลัก ยิลชิได้สรุปว่า "เพลงของฮังไกมาจากเพลงพื้นบ้านของมองโกเลีย แม้เพลงของฮังไกจะไม่ได้กล่าวถึงช่วงเวลาที่เจงกิสข่านเรืองอำนาจ แต่มันก็สะท้อนต่อวิถีชีวิตของชาวมองโกล"[2]

ผลงาน แก้

  • Hanggai (Beijing Dongfang Yingyin, 1 เมษายน 2007)
  • Introducing Hanggai (World Music Network, 28 กรกฎาคม 2008)
  • He Who Travels Far (World Connection, 18 ตุลาคม 2010)
  • Four Seasons (Starsing Records, 1 พฤษภาคม 2012)
  • Baifang (Harlem Recordings, 7 กุมภาพันธ์ 2014)
  • Horse Of Colors (Tian Hao Entertainment, 9 พฤษภาคม 2016)

ทัวร์ แก้

ในปี 2010 ฮังไกได้มีโอกาสแสดงในงานเทศกาลเฮฟวีเมทัลที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปอย่าง วากเกนโอเพนแอร์[11] เทศกาลศิลปะ ซิดนีย์เฟสติวัล ในเดือนมกราคม 2011.[12] เทศกาล Music & Art Festival iในเมืองแมนเชสเตอร์, รัสแทนเนสซี สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 9-12 มิถุนายน 2011 ในเทศกาลวูดฟอร์ดโฟลก์เฟสติวัล ในเดือนธันวาคม 2011 นับตั้งแต่ปี 2010 ฮังไกได้จัดงานเทศกาลของตนเอง โดยจะจัดขึ้นทุกปี พร้อมกับเชิญศิลปินอย่างวงฮุน-ฮูร-ตูจากสาธารณรัฐตูวา และวงเดอะแรนดีเอเบลสเตเบิล[13]

ฮังไกนั้นเป็นวงที่ได้รับความนิยมพอสมควรในเนเธอร์แลนด์ โดยมักจะได้ไปแสดงในงานเทศกาลและคอนเสิร์ตหลายครั้ง[14]

เกร็ด แก้

เพลง 酒歌 (Jiu Ge/เพลงในวงเหล้า) ถูกบันทึกในขณะที่กำลังจัดงานสังสรรค์ขึ้นจริงๆ ดดยสมาชิกแต่ละคนได้เขียนเนื้อร้องและบันทึกเสียงในคืนนั้น [6] ในปี 2009 เพลงนี้ยังได้ถูกบันทึกเสียงร่วมกับวงสํญชาติดัตช์ชื่อ โจวิงก์ เพื่อเป็นเพลงธีมในงานเทศกาล ซวาร์เตครอสส์

หัวหน้าวงอย่างยิลชินั้นได้เรียนการร้องเพลงด้วยลำคอ หลังจากที่โอดซูเรน บาตาร์ ปรมาจารย์ด้านการร้องเพลงด้วยลำคอจากมองโกเลีย ได้ถูกเชิญโดยคณะเพลงและระบำมองโกเลียใน เพื่อมาประชุมเกี่ยวกับศิลปะในมองโกเลียใน[15] โดยเขานั้นได้เรียนก่อนที่จะก่อตั้งวงฮังไกขึ้น[16]

ฮังไกเป็นหนึ่งในห้าวงที่อยู่ในภาพยนตร์สารคดี Beijing Bubbles - Punk and Rock in Chinas Capital กำกับโดย จอรจ์ ลินดท์ และซูซาน เมสเมอร์

วงนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดในฤดูกาลที่สองของรายการโทรทัศน์ของจีน Sing My Song.[17]

References แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 http://www.npr.org/templates/story/story.php?storyId=95430242
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 http://www.spinner.com/2008/08/12/hangin-with-hanggai-an-olympian-qanda-with-the-mongolian-chinese/
  3. http://china.org.cn/english/NM-e/146801.htm
  4. http://www.hanggaiband.com.cn/about/index.htm
  5. 5.0 5.1 http://findarticles.com/p/articles/mi_m1197/is_3_52/ai_n31151877/
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-21. สืบค้นเมื่อ 2017-02-19.
  7. http://pitchfork.com/reviews/albums/11973-introducing-hanggai/
  8. http://www.cduniverse.com/productinfo.asp?pid=7699850
  9. 9.0 9.1 http://www.bbc.co.uk/music/reviews/3xf9
  10. http://www.last.fm/music/Hanggai
  11. http://www.last.fm/festival/937566+Wacken+Open+Air+2010/lineup#all
  12. http://www.theaustralian.com.au/news/arts/better-than-all-right-on-first-night/story-e6frg8n6-1225984606719
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-02-19.
  14. http://3voor12.vpro.nl/lokaal/gelderland/nieuws/2009/oktober/traditionele-mongoolse-muziek-volgens-hanggai.html
  15. http://www.hanggaiband.com.cn/media/index.htm
  16. http://www.beijing-bubbles.com/
  17. http://tv.sohu.com/singmysong/

Further information แก้