อุตบะฮ์ อิบน์ ฆ็อซวาน

อุตบะฮ์ อิบน์ ฆ็อซวาน อัลมาซินี (อาหรับ: عُتبة بن غَزْوان المازني, อักษรโรมัน: ʿUtba ibn Ghazwān al-Māzinī; ป. ค.ศ. 581–638) เป็นผู้ติดตามที่เป็นที่รู้จักของศาสดามุฮัมมัด เขาเป็นบุคคลที่ 7 ที่เข้ารับอิสลามและทำการฮิจเราะห์ไปยังอะบิสซีเนีย แต่กลับมาอยู่กับมุฮัมมัดที่มักกะฮ์ก่อนทำการฮิจเราะห์ครั้งที่สองไปยังมะดีนะฮ์ เขาเข้ารบในยุทธการที่บะดัร (ค.ศ. 624) ยุทธการที่อุฮุด (ค.ศ. 625) ยุทธการสนามเพลาะ (ค.ศ. 627) และยุทธการอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงยุทธการที่ยะมามะฮ์

อนุสาวรีย์ของอุตบะฮ์ ผู้ก่อตั้งเมือง ที่บัสรา

ในสมัยรัฐเคาะลีฟะฮ์ของอุมัร (ครองราชย์ ค.ศ. 634–644) อุตบะฮ์นำทัพ 2,000 นายในการทัพต่ออัลอุบุลละฮ์ที่กินระบะเวลาจากมิถุนายนถึงกันยายน ค.ศ. 635 เมื่ออัลอุบุลละฮ์ถูกพิชิตแล้ว อุตบะฮ์จึงส่งกองทัพข้ามแม่น้ำไทกริสที่ิอำเภอฟุรอต ตามมาด้วยมัยซานและ Abarqubaz จากนั้นเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการบัสรา (อิรัก) จากเคาะลีฟะฮ์ ใน ค.ศ. 639 อุตบะฮ์เดินทางไปทำฮัจญ์และขอให้ปลดเขาออกจากตำแหน่งผู้ว่าการ อุมัรปฏิเสธ แต่ในขณะที่อุตบะฮ์กำลังเดินทางกลับบัสรา เขากลับตกอูฐและเสียชีวิต ทำให้อัลมุฆีเราะฮ์ อิบน์ ชัวะอ์บะฮ์ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าการต่อจากเขา

ต้นกำเนิดและผู้ติดตามของมุฮัมมัด

แก้

อุตบะฮ์เกิด ป. ค.ศ. 581 โดยเป็นบุตรของฆ็อซวาน อิบน์ อัลฮาริษ อิบน์ ญาบิร[1] เขาอยู่ในตระกูล Banu Mazin ซึ่งเป็นตระกูลย่อยจากสาย Mansur ibn Ikrima ของเผ่าก็อยส์ในฮิญาซ (อาระเบียตะวันตก)[1][2] อุตบะฮ์อยู่ในสมาพันธ์ตระกูลบะนูเนาฟัลของเผ่ากุร็อยช์แห่งมักกะฮ์[2] เขาเข้ารับอิสลามในช่วงแรกและเป็นผู้ติดตามของมุฮัมมัด[2] เขาเป็นที่รู้จักจากการเป็นบุคคลที่ 7 ที่เข้ารับอิสลามและเข้าในกลุ่มอพยพ 2 ครั้ง เช่นเดียวกันกับการมีส่วนสู้รบในยุทธการที่บะดัรและการรุกรานที่นำหรือตามคำสั่งของมุฮัมมัด[1] อุตบะฮ์แต่งงานกับลูกสาวของอัลฮาริษ อิบน์ กะละดะฮ์จากบะนูษะกีฟ อัลบะลาษุรีรายงานว่าเธอชื่อ Azda[3] ส่วนอัลมะดาอินีระบุว่าเธอชื่อ Safiyya[4]

การพิชิตอิรัก

แก้

ในสมัยรัฐเคาะลีฟะฮ์อะบูบักร์ (ค. 632 – 634) ฝ่ายมุสลิมภายใต้การนำของคอลิด อิบน์ อัลวะลีดอาจเริ่มต้นการทัพแรกต่อซาเซเนียนของเปอร์เซียที่เมโสโปเตเมียตอนล่าง (อิรัก) แต่ผลประโยชน์เหล่านี้ดำรงอยู่ได้ไม่นานหรือจำกัด อุมัร (ค. 634 – 644) ผู้สืบทอดของอะบูบักร์ ส่งอุตบะฮ์ไปยังแนวหน้านี้จากเมืองหลวงที่มะดีนะฮ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการพิชิตอิรักขั้นสุดท้าย[2] กองทัพของเขามีขนาดค่อนข้างเล็ก โดยข้อมูลอาหรับสมัยกลางระบุจำนวนที่ 300 ถึง 2,000 นาย[2]

อุตบะฮ์ดำเนินการจู่โจมเมืองอัลอุบุลละฮ์และกองทหารม้าเปอร์เซียที่แข็งแกร่ง 500 นาย[2] เขาตั้งค่ายใกล้หมู่บ้านชื่อ Khurayba เขาแต่งตั้งนาเฟียะอ์ อิบน์ อัลฮาริษ อิบน์ กะละดะฮ์ น้องเขยที่เป็นหนึ่งในร้อยโทของเขา ป้องกันเมืองที่เขาใช้เป็นฐานปฏิบัติการต่อฐานซาเซเนียนอื่น ๆ ในพื้นที่นี้[2] ภายหลัง ตัวเขาหรืออัลมุฆีเราะฮ์ อิบน์ ชัวะอ์บะฮ์กับMujashi ibn Mas'ud al-Sulami ผู้บัญชาการร้อยโทของเขา เข้ายึดครองเมืองอัลฟุรอตกับมัยซาน และอำเภอ Abazqubadh กับ Dast Maysan ทั้งหมดอยู่ริมแม่น้ำไทกริสตอนล่าง[5]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Bosworth 2000, p. 944.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Donner 1981, p. 213.
  3. Donner 1981, p. 415.
  4. Friedmann 1992, p. 171.
  5. Donner 1981, pp. 213–214.

บรรณานุกรม

แก้
  • Bosworth, C. E. (2000). "ʿUtba b. Ghazwān". ใน Bearman, P. J.; Bianquis, Th.; Bosworth, C. E.; van Donzel, E. & Heinrichs, W. P. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume X: T–U. Leiden: E. J. Brill. p. 944. ISBN 978-90-04-11211-7.
  • Donner, Fred M. (1981). The Early Islamic Conquests. Princeton: Princeton University Press. ISBN 0-691-05327-8.
  • Friedmann, Yohanan, บ.ก. (1992). The History of al-Ṭabarī, Volume XII: The Battle of al-Qādisīyyah and the Conquest of Syria and Palestine. SUNY Series in Near Eastern Studies. Albany, New York: State University of New York Press. ISBN 978-0-7914-0733-2.