อัลอุบุลละฮ์ (อาหรับ: الأبلة) หรือชาวกรีกในสมัยก่อนอิสลามเรียกว่า อาโปโลกูเอมโปรีโอน (กรีกโบราณ: 'Απολόγου 'Εμπόριον) เป็นเมืองท่าที่ต้นอ่าวเปอร์เซียทางตะวันออกของบัสราในประเทศอิรักปัจจุบัน ในสมัยกลาง เมืองนี้ทำหน้าที่เป็นท่าเรือการค้าหลักของอิรักสำหรับการค้ากับอินเดีย

ที่ตั้ง

แก้
 
ตัวนครแสดงเป็น "al-Ubullah" ทางตะวันออกเฉียงเหนือของบัสรา บนแผนที่อิรักในคริสต์ศตวรรษที่ 9 (เมโสโปเตเมียตอนล่าง)

อัลอุบุลละฮ์ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของชะวากทะเลยูเฟรติสไทกริสที่บริเวณทางเข้าสู่อ่าวเปอร์เซีย[1][2] เมืองนี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกของบัสราเก่าและอยู่ด้านเหนือของคลองที่มีชื่อว่า Nahr al-Ubulla ซึ่งเชื่อมบัสราเข้ากับแม่น้ำไทกริสทางตะวันออกเฉียงใต้ ออบอดอน (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิหร่าน) และลงไปยังอ่าวเปอร์เซีย[3][4] ย่าน 'Ashar ของบัสราในปัจจุบันตั้งอยู่บนพื้นที่อัลอุบุลละฮ์[5][6]

ประวัติ

แก้

อัลอุบุลละฮ์มีความเกี่ยวข้องกับเมืองโบราณอาโปโลกูเอมโปรีโอนในเอกสารตัวเขียนบันทึกเส้นทางการเดินเรือในทะเลอีริทเธรียนของกรีก[5] เมืองนี้มีอายุอย่างน้อยในสมัยซาเซเนียน (คริสตศตวรรษที่ 3–7) และอาจถึงก่อนหน้านั้น[1] Eutychius of Alexandria นักประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 รายงานว่า เมืองนี้ก่อตั้งโดยแอร์แดชีร์ที่ 1 จักรพรรดิซาเซเนียน (ครองราชย์ ค.ศ. 212–224)[5] เมืองนี้อยู่ในอาณาจักรลัคมิดที่เป็นรัฐบริวารของซาเซเนียนจนกระทั่งสิ้นสุดสมัย[1]

ในช่วงการพิชิตดินแดนโดยมุสลิมยุคต้นเมื่อคริสต์ทศวรรษ 630 อัลอุบุลละฮ์ถูกพิชิตโดยกองทัพอาหรับของอุตบะฮ์ อิบน์ ฆ็อซวาน อัลมาซินีหลังเอาชนะกองทหารรักษาการณ์ซาเซเนียน 500 นาย เมืองนี้ถูกอุตบะฮ์ อิบน์ ฆ็อซวานเข้าพิชิตถึงสองครั้ง[7][8] ในจดหมายที่เขียนถึงอุตบะฮ์ เขากล่าวถึงเมืองนี้เป็น "ท่าอัลบะห์ร็อยน์ (อาระเบียตะวันออก), อุมาน, อัลฮินด์ (อินเดีย) และอัสซีน (จีน)"[5] หลังสถาปนาบัสรา เมืองกองทหารรักษาการณ์อาหรับให้ไกลออกไปจากทะเล อัลอุบุลละฮ์จึงสูญเสียความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ แต่ยังคงเป็นท่าการค้าหลักจนกระทั่งการรุกรานของมองโกล[5]

การรุกรานของมองโกลในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ส่งผลให้พื้นที่หลายแห่งในอิรักส่วนนี้ รวมถึงอัลอุบุลละฮ์ เสื่อมถอยลง[5] อิบน์ บะฏูเฏาะฮ์ นักเดินทางในคริสต์ศตวรรษที่ 14 กล่าวถึงบริเวณเป็นเพียงแค่หมู่บ้าน และประมาณช่วงนี้ อัลอุบุลละฮ์จึงหายไปจากบันทึกทางประวัติศาสตร์[5]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Bosworth 1999, p. 357, note 850.
  2. Kramers 2000, p. 765.
  3. Kramers 2000, pp. 765–766.
  4. Fred McGraw Donner, The Early Islamic Conquests (Princeton: Princeton University Press, 1981), 46, 160.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Kramers 2000, p. 766.
  6. Gibb 1962, p. 281, note 40.
  7. Donner, 174-176, 179.
  8. Heba al-Zuraiqi & Irsan Ramini, “The Muslim Conquest of the City of al-Ubulla” in the Journal of Islamic Studies, Vol. 31, No. 2 (2020), 173-184.

บรรณานุกรม

แก้
  • Bosworth, C. E., บ.ก. (1999). The History of al-Ṭabarī, Volume V: The Sāsānids, the Byzantines, the Lakhmids, and Yemen. SUNY Series in Near Eastern Studies. Albany, New York: State University of New York Press. ISBN 978-0-7914-4355-2.
  • Donner, Fred McGraw (1981). The Early Islamic Conquests. Princeton University Press.
  • Gibb, H. A. R. (1962). The Travels of Ibn Battuta, A.D. 1325-1354, Volume 2. The Hakluyt Society at Cambridge University Press. ISBN 9781351539920.
  • Huntingford, G.W.B. (2010). The Periplus of The Erythraean Sea, By an Unknown Author. Burlington: Ashgate Publishing Company.
  • Kramers, J. H. (2000). "Ubulla". ใน Bearman, P. J.; Bianquis, Th.; Bosworth, C. E.; van Donzel, E. & Heinrichs, W. P. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume X: T–U. Leiden: E. J. Brill. pp. 765–766. ISBN 978-90-04-11211-7.

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Ramini, Irsan; Al-Zuraiqi, Heba (2020). "The Muslim Conquest of the City of al-Ubulla". Journal of Islamic Studies. 31 (2): 173–184. doi:10.1093/jis/etaa004.