อีแก
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Passeriformes
วงศ์: Corvidae
สกุล: Corvus
สปีชีส์: C.  splendens
ชื่อทวินาม
Corvus splendens
Vieillot, 1817
การกระจายพันธุ์
Eudynamys scolopaceus + Corvus splendens

อีแก (อังกฤษ: House crow, Colombo crow; ชื่อวิทยาศาสตร์: Corvus splendens) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกกา (Corvidae)

ลักษณะ แก้

มีความยาวประมาณ 40 เซนติเมตร ค่อนข้างบาง หน้า ผาก, กระหม่อม, คอ และหน้าอกส่วนบนดำเงา ขณะที่ ท้ายทอย และ อกส่วนล่างเป็นสีน้ำตาลเทาอ่อนๆ ปีก หาง และขาเป็นสีดำ มีความแตกต่างตามภูมิภาคในความหนาของปาก และความลึกของพื้นที่สีบนขน

อนุกรมวิธาน แก้

ในพื้นที่แห้งแล้งของเอเชียใต้และประเทศอิหร่านพบชนิดย่อย C. s. zugmayeri ซึ่งมีปลอกคอสีอ่อนมาก ชนิดย่อยที่ถูกจัดจำแนกตั้งชื่อที่พบในประเทศอินเดีย, เนปาล และบังคลาเทศ มีปลอกคอสีเทา ในตอนใต้ของประเทศอินเดีย มัลดีฟส์ (บางครั้งแยกเป็นชนิดย่อย maledivicus) และศรีลังกาเป็นชนิดย่อย C. s. protegatus มีสีเทาเข้ม ชนิดย่อย C. s. insolens จากพม่ามีสีเข้มที่สุดและไม่มีปลอกคอสีเทา[2]

การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย แก้

อีแกมีการกระจายพันธุ์อย่างแพร่หลายในตอนใต้ของทวีปเอเชีย มีถิ่นกำเนิดในประเทศเนปาล, บังคลาเทศ, อินเดีย, ปากีสถาน, ศรีลังกา, มัลดีฟส์ และ ลักษทวีป, ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไทย และชายฝั่งทะเลภาคใต้อิหร่าน มันถูกนำไปสู่ทางตะวันออกของแอฟริการอบๆแซนซิบาร์ (ประมาณปี ค.ศ. 1897[3]) และพอร์ตซูดาน, และไปสู่ประเทศออสเตรเลียโดยเรือแต่มีการกำจัดไปแล้ว เมื่อเร็วๆนี้อีแกก็แพร่เข้ามาในยุโรปและมีการแพร่พันธุ์ในตะขอแห่งฮอลแลนด์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998[4]

มันเข้ามาร่วมตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่กับมนุษย์ตั้งแต่หมู่บ้านเล็กๆไปจนถึงเมืองใหญ่ ในประเทศสิงคโปร์มีความหนาแน่นของนกที่ 190 ตัวต่อตารางกิโลเมตร2 ในปี ค.ศ. 2001 กับความพยายามในกำจัดประชากรนก[5][6] เพราะประชากรมนุษย์ในถิ่นอาศัยทำให้ประชากรของนกเพิ่มขึ้นจากการที่มันสามารถกินขยะได้ไม่เลือก ศักยภาพการรุกรานของนกชนิดนี้ปกคลุมทั่วเขตร้อนของโลก แต่ก็ยังไม่ได้เกิดขึ้นในโลกใหม่ อีแกสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรด้วยความยืดหยุ่นสูง และดูเหมือนจะมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์เป็นอย่างมาก[7]

ในนิทานพื้นบ้าน แก้

อีแก ในนิทานพื้นบ้านของจีน ได้ชื่อว่าเป็นนกกตัญญู อันมีที่มาจากนิทานของชาวไต ชนพื้นเมืองในมณฑลยูนนาน ของจีน ด้วยความที่ธรรมชาติ เมื่อแม่นกป้อนอาหารให้ลูกแล้ว ลูกนกจะแบ่งอาหารนั้นป้อนกลับคืนไปยังแม่นกด้วย อีแกมีชื่อเรียกหลายชื่อต่างออกไป เนื้อหานิทานคล้ายกับนิทานเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ของชาวไทยอีสาน คือ แม่ที่ส่งอาหารให้แก่ลูกชายที่ทำงานตัดไม้ในป่า ด้วยความล่าช้าในการส่ง ทำให้ลูกชายโมโหทุกครั้ง จึงพาลไปตุบทีผู้เป็นแม่ ต่อมาลูกชายได้เห็นภาพของลูกอีแกป้อนอาหารกลับคืนไปยังแม่ จึงสำนึกผิด ในวันหนึ่ง มีเหตุการณ์ทำให้แม่เข้าใจผิดว่าลูกชายโกรธตนเอง จึงวิ่งชนต้นไม้ฆ่าตัวตาย ลูกชายเสียใจมากและสำนึกผิด จึงเอาไม้ต้นที่แม่วิ่งชนตายมาแกะสลักเป็นรูปแม่ตนเอง เมื่อครบรอบวันตายของแม่ตนเอง จะกราบไหว้บูชาและรดน้ำรูปสลักของแม่ ซึ่งได้พัฒนาต่อมาเป็นประเพณีสงกรานต์ ในมณฑลยูนนาน[8]

อ้างอิง แก้

  1. BirdLife International (2004). Corvus splendens. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 12 May 2006. Database entry includes justification for why this species is of least concern
  2. Rasmussen, PC & JC Anderton (2005) Birds of South Asia: The Ripley Guide. Smithsonian Institution and Lynx Edicions. Vol 2. p.598
  3. Cooper, John E. (1996) Health studies on the Indian house crow (Corvus splendens) Avian Pathology 25(2):381
  4. Ottens, G. (2003) Background and development of the Dutch population of House Crows Corvus splendens. Limosa 76(2):69-74
  5. Brook, B.W., Sodhi, N.S., Soh, M.C.K., Lim, H.C. (2003) Abundance and projected control of invasive house crows in Singapore. Journal of Wildlife Management 67(4):808-817
  6. Ryall, C., 2002. Further records of range extension in the House Crow Corvus splendens. BOC Bulletin 122(3): 231-240
  7. Nyari, A., Ryall, C. and Peterson, A. T. 2006. Global invasive potential of the house crow Corvus splendens based on ecological niche modeling. J. Avian Biol. 37:306-311.
  8. นกกตัญญู จากไทยรัฐ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้