อิสยาห์ 4 (อังกฤษ: Isaiah 4) เป็นบทที่ 4 ของหนังสืออิสยาห์ในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หนังสืออิสยาห์ประกอบด้วยเนื้อหาคำเผยพระวจนะซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานของผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ และเป็นหนังสือเล่มหนึ่งในหมวดหนังสือผู้เผยพระวจนะ[1]

อิสยาห์ 4
ม้วนหนังสืออิสยาห์ ม้วนคัมภีร์ไบเบิลที่พบที่คุมรานตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลที่เก็บรักษาอย่างดีที่สุด มีทุกวรรคของบทนี้
หนังสือหนังสืออิสยาห์
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู5
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคหลัง
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์23

ต้นฉบับ

แก้

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทนี้เป็นบทที่สั้นที่สุดในหนังสืออิสยาห์ โดยมีเพียง 6 วรรค อัลเบิร์ต บานส์ (Albert Barnes) นักเทววิทยาชาวอเมริกาแย้งว่า "ไม่มีเหตุผลว่าทำไม 6 วรรคนี้จึงต้องทำเป็นบทแยกต่างหาก" จากอิสยาห์ 3[2]

ฉบับพระเจ้าเจมส์ใหม่เรียกวรรค 2-6 ว่า "การฟื้นฟูศิโยน" (The Renewal of Zion)

พยานต้นฉบับ

แก้

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[3]

ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี (ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลหรือหลังจากนั้น) ได้แก่:[4]

  • 1QIsaa: สมบูรณ์
  • 4QIsaa (4Q55): วรรคที่หลงเหลือ: 5-6

ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B;  B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK:  S; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A;  A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q;  Q; ศตวรรษที่ 6)[5]

อนาคตของเยรูซาเล็ม (3:25–4:1)

แก้

ส่วนนี้ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ 3:25 กล่าวถึงว่าเมืองจะสูญสิ้นไปอย่างไร[6]

วรรค 1

แก้
ในวันนั้นหญิงเจ็ดคนจะยึดชายคนหนึ่งไว้ กล่าวว่า
"เราจะกินอาหารของเราเองและสวมเครื่องนุ่งห่มของเราเอง
ขอเพียงให้คนเรียกเราตามชื่อของท่าน
ขอโปรดเอาความอดสูของเราไปเสีย"[7]

ฉบับพระเจ้าเจมส์ใหม่ถือว่าวรรค 1 เป็นเนื้อความต่อเนื่องจากบทที่ 3 ฌ็อง กาลแว็ง นักเทววิทยาสายปฏิรูปแย้งว่า "วรรคนี้ไม่ควรแยกออกมาจากบทก่อนหน้านี้อย่างแน่นอน"[8] ในขณะที่ในอิสยาห์ 3:6 ผู้ชาย "บังคับ" (tapas; แปลว่า "ยึดตัว") พี่น้อง (ผู้ชาย) ให้เป็นผู้ปกครอง ในวรรคนี้ ผู้หญิง "ยึด" (chazaq) ผู้ชายเพื่อให้ได้สามี[6] การที่ผู้หญิงจัดหาอาหารและเครื่องแต่งกายให้ตนเองเป็นการกลับตรงกันข้ามกับระเบียบการแต่งงานในอพยพ 21:10 [6]

การฟื้นฟูศิโยน (4:2–6)

แก้

วรรค 2

แก้
ในวันนั้นกิ่งของพระยาห์เวห์จะงดงามและรุ่งโรจน์
และผลิตผลของแผ่นดินจะเป็นความภูมิใจและเป็นเกียรติ
ของผู้รอดตายในอิสราเอล[9]

ความในเซปทัวจินต์มีความแตกต่างออกไป:

ในวันนั้น พระเจ้าจะทรงฉายด้วยพระสิริเหนือแผ่นดินโลก เพื่อจะทรงยกชูและประทานเกียรติแก่ผู้รอดตายในอิสราเอล[2]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Theodore Hiebert, et al. 1996. The New Interpreter's Bible: Volume VI. Nashville: Abingdon.
  2. 2.0 2.1 Barnes, A., Barnes' Notes on Isaiah 4, accessed 7 March 2018
  3. Würthwein 1995, pp. 35–37.
  4. Ulrich 2010, p. 337-338.
  5. Würthwein 1995, pp. 73–74.
  6. 6.0 6.1 6.2 Motyer 2015, p. 64.
  7. อิสยาห์ 4:1 THSV11
  8. Calvin, J., Calvin's Commentaries on Isaiah 4, accessed 7 March 2018
  9. อิสยาห์ 4:2 THSV11

บรรณานุกรม

แก้
  • Coggins, R (2007). "22. Isaiah". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 433–586. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
  • Motyer, J. Alec (2015). The Prophecy of Isaiah: An Introduction & Commentary. InterVarsity Press. ISBN 9780830895243.
  • Ulrich, Eugene, บ.ก. (2010). The Biblical Qumran Scrolls: Transcriptions and Textual Variants. Brill.
  • Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

ศาสนายูดาห์

แก้

ศาสนาคริสต์

แก้