ฌ็อง กาลแว็ง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ฌ็อง กาลแว็ง (ฝรั่งเศส: Jean Calvin) หรือ จอห์น แคลวิน (อังกฤษ: John Calvin) เป็นนักเทววิทยาศาสนาคริสต์และศิษยาภิบาลชาวฝรั่งเศสสมัยการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ แนวคิดทางเทววิทยาที่กาลแว็งพัฒนาขึ้นเรียกว่าลัทธิคาลวิน ซึ่งแพร่หลายอยู่ในหลายนิกาย เช่น คริสตจักรปฏิรูป คริสตจักรคองกริเกชันแนล เพรสไบทีเรียน เป็นต้น
ฌ็อง กาลแว็ง | |
---|---|
เกิด | 10 กรกฎาคม 1509 เมืองนัวยง ฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | 27 พฤษภาคม 1564 เมืองเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ |
ชื่ออื่น | เฌออ็อง โชแว็ง |
ผลงานเด่น | หนังสือสถาบันศาสนาคริสต์ |
ตำแหน่ง | ศิษยาภิบาล นักเขียน และนักเทววิทยาศาสนาคริสต์ |
เดิมกาลแว็งเป็นนักกฎหมายที่มีแนวคิดแบบมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และได้ถอนตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี ค.ศ. 1530 เมื่อเกิดการต่อต้านนิกายโปรเตสแตนต์ในฝรั่งเศส กาลแว็งก็ลี้ภัยไปอาศัยที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และได้พิมพ์เผยแพร่ผลงานสำคัญคือหนังสือ "สถาบันศาสนาคริสต์" เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1539 ในปีนั้นกีโยม ฟาแรล ได้ชวนกาลแว็งมาร่วมผลักดันการปฏิรูปศาสนาที่เมืองเจนีวาด้วย แต่สภานครเจนีวาไม่ยอมรับแนวคิดของทั้งสองและขับทั้งสองคนออกจากเมือง จากนั้นมาร์ติน ลูเทอร์ ได้เชิญกาลแว็งไปเป็นศาสนาจารย์ประจำโบสถ์ของผู้อพยพชาวฝรั่งเศสที่เมืองสตราสบูร์ก เขายังคงสนับสนุนการปฏิรูปศาสนาที่เจนีวา จนได้รับเชิญกลับไปเป็นผู้นำคริสตจักรในที่สุด
การปฏิรูปศาสนาคริสต์ตามแนวของกาลแว็งมีทั้งด้านการปกครองคริสตจักร พิธีกรรม และเน้นหลักความเชื่อเรื่องเทวลิขิต เรื่องพระเป็นเจ้าทรงมีอธิปไตยสมูรณ์ในการประทานความรอดจากความตายให้แก่วิญญาณของมนุษย์ และการลงโทษนิรันดร์[1]
อ้างอิง
แก้- Bouwsma, William James (1988), John Calvin: A Sixteenth-Century Portrait, New York: Oxford University Press, ISBN 0-19-504394-4.