อิสยาห์ 10
อิสยาห์ 10 (อังกฤษ: Isaiah 10) เป็นบทที่ 10 ของหนังสืออิสยาห์ในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หนังสืออิสยาห์ประกอบด้วยเนื้อหาคำเผยพระวจนะซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานของผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ และเป็นหนังสือเล่มหนึ่งในหมวดหนังสือผู้เผยพระวจนะ[1]
อิสยาห์ 10 | |
---|---|
ม้วนหนังสืออิสยาห์ ม้วนคัมภีร์ไบเบิลที่พบที่คุมรานตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลที่เก็บรักษาอย่างดีที่สุด มีทุกวรรคของบทนี้ | |
หนังสือ | หนังสืออิสยาห์ |
ภาคในคัมภีร์ฮีบรู | เนวีอีม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู | 5 |
หมวดหมู่ | ผู้เผยพระวจนะยุคหลัง |
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | พันธสัญญาเดิม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | 23 |
ต้นฉบับ
แก้บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 34 วรรค
พยานต้นฉบับ
แก้บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[2]
ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี (ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลหรือหลังจากนั้น) ได้แก่:[3]
- 1QIsaa: สมบูรณ์
- 1QIsab: วรรคที่หลงเหลือ: 16‑19
- 4QIsac (4Q57): วรรคที่หลงเหลือ: 23‑32
- 4QIsae (4Q59): วรรคที่หลงเหลือ: 1‑10
ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q; Q; ศตวรรษที่ 6)[4]
วิบัติแก่ผู้ปกครองกดขี่ (10:1–4)
แก้วรรค 1
แก้- วิบัติแก่คนเหล่านั้นที่ออกกฎหมายอธรรม
- และแก่พวกที่เขียนกฎมาบีบบังคับ[5]
วรรค 1-4 ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างชุดข้อความที่ลงท้ายด้วยความเดียวกัน (เปรียบเทียบกับวรรค 4; ที่ต่อเนื่องจากวาทกรรมของอิสยาห์ 9 และขยายความจาก "วิบัติ" ที่ตั้งต้นในบทที่ 5) และความที่กล่าวถึงการโจมตีอัสซีเรียที่ขึ้นต้นด้วยความอย่างเดียวกัน[6]
วรรค 4
แก้- ไม่มีอะไรเหลือนอกจากจะก้มตัวลงอยู่กับพวกนักโทษ
- หรือล้มลงในหมู่คนที่ถูกฆ่า
- ถึงกระนั้นก็ดี พระพิโรธของพระองค์ก็ยังไม่ได้หันกลับ
- และพระหัตถ์ของพระองค์ยังเหยียดออกอยู่[7]
ความว่า "ถึงกระนั้นก็ดี ... ยังเหยียดออกอยู่"ปรากฏความที่มีความหมายเดียวกันครั้งแรกในอิสยาห์ 5:25 และยังปรากฏใน อิสยาห์ 9:12, 9:17 และ 9:21[8]
การพิพากษาอัสซีเรีย (10:5–19)
แก้อิสยาห์ประณามอัสซีเรียที่ไม่ได้ตระหนักว่าตนเป็นเพียง "เครื่องมือแห่งพระพิโรธที่กระทำต่ออิสราเอลทั้งปวง":
- "ขวานจะคุยข่มคนที่ใช้มันจามหรือ?[9]
คนที่เหลืออยู่ของอิสราเอลจะกลับมา (10:20–34)
แก้วรรค 21
แก้- คนที่เหลืออยู่จะกลับมายังพระเจ้าผู้ทรงฤทธิ์ คือคนที่เหลืออยู่ของยาโคบ[10]
- "พระเจ้าผู้ทรงฤทธิ์": จากภาษาฮีบรู אֵל גִּבּוֹר, ʾel gibbor ปรากฏเพียงในวรรคนี้และในอิสยาห์ 9:6 แม้ว่ามีพระสมญานามที่คล้ายกันในเฉลยธรรมบัญญัติ 10:17 และเนหะมีย์ 9:32 ["พระเจ้าที่ยิ่งใหญ่ ทรงฤทธิ์และน่าเกรงกลัว"] และในเยเรมีย์ 32:18 ["พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่และทรงฤทธิ์"] พระสมญานามทั้งหมดนี้หมายถึงพระเจ้า[11]
วรรค 22–23
แก้- อิสราเอลเอ๋ย เพราะแม้ว่าชนชาติของเจ้าจะเป็นดั่งทรายในทะเล
- คนที่เหลืออยู่เท่านั้นจะกลับมา
- การทำลายนั้นถูกกำหนดไว้แล้วด้วยความชอบธรรมอย่างล้นหลาม
- เพราะว่าพระยาห์เวห์องค์เจ้านายผู้ทรงเป็นจอมทัพ
- จะทรงให้การทำลายอย่างหมดสิ้นเกิดขึ้น
- ท่ามกลางแผ่นดินโลกทั้งหมด ตามที่กำหนดไว้[12]
สองวรรคนี้ได้รับการอ้างถึงโดยเปาโลอัครทูตในจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรม (โรม 9:27–28)
ดูเพิ่ม
แก้- เปาโลอัครทูต
- ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: โรม 9
อ้างอิง
แก้- ↑ Theodore Hiebert, et al. 1996. The New Interpreter's Bible: Volume VI. Nashville: Abingdon.
- ↑ Würthwein 1995, pp. 35–37.
- ↑ Ulrich 2010, p. 350-352.
- ↑ Würthwein 1995, pp. 73–74.
- ↑ อิสยาห์ 10:1 THSV11
- ↑ Coggins 2007, p. 447.
- ↑ อิสยาห์ 10:4 THSV11
- ↑ หมายเหตุ [b] ของอิสยาห์ 9:12 ใน NET Bible
- ↑ อิสยาห์ 10:15 THSV11
- ↑ อิสยาห์ 10:21 THSV11
- ↑ หมายเหตุของอิสยาห์ 10:21 ใน NET Bible
- ↑ อิสยาห์ 10:22 -23 THSV11
บรรณานุกรม
แก้- Coggins, R (2007). "22. Isaiah". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 433–486. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- Ulrich, Eugene, บ.ก. (2010). The Biblical Qumran Scrolls: Transcriptions and Textual Variants. Brill.
- Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ศาสนายูดาห์
แก้- Isaiah 10: Hebrew with Parallel English เก็บถาวร 2023-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน