อำเภอพย็องชัง
พย็องชัง (เกาหลี: 평창군; ฮันจา: 平昌郡; อังกฤษ: Pyeongchang) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดคังว็อน ประเทศเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ในเขตภูเขาแทแบ็ก เป็นที่ตั้งของวัดพุทธหลายแห่ง รวมถึง Woljeongsa ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้จากโซลประมาณ 180 กิโลเมตร (110 ไมล์) และเชื่อมต่อด้วยทางด่วนและรถไฟโดยสารความเร็วสูง
พย็องชัง 평창군 | |
---|---|
การถอดเสียงเกาหลี | |
• ฮันกึล | 평창군 |
• ฮันจา | 平昌郡 |
• อักษรโรมันปรับปรุง | Pyeongchang-gun |
• แมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์ | P'yŏngch'ang-gun[1] |
อัลเพนเซียรีสอร์ตและฟาร์มกังหันลมในพย็องชัง | |
ที่มาของชื่อ: 平 "สงบสุข" หรือ "ที่ราบ", 昌 "ความเจริญรุ่งเรือง" | |
ที่ตั้งในจังหวัดคังว็อน | |
ประเทศ | เกาหลีใต้ |
จังหวัด | คังว็อน |
เขตการปกครอง | 1 อึบ, 7 มย็อน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,463.65 ตร.กม. (565.12 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2013) | |
• ทั้งหมด | 43,666 คน |
• ความหนาแน่น | 30 คน/ตร.กม. (80 คน/ตร.ไมล์) |
• ภาษาถิ่น | คังว็อน |
เขตเวลา | UTC+9 |
พย็องชังได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 และพาราลิมปิกฤดูหนาว 2018[2] โดยได้รับการเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็น "PyeongChang" (อักษร 'C' พิมพ์ใหญ่) ด้วยจุดประสงค์ในการแข่งขันเมื่อ ค.ศ. 2018 เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับเปียงยางในประเทศเกาหลีเหนือ[3][4]
ประวัติ
แก้ภูมิภาคพย็องชังเคยอยู่ใภายใต้การปกครองของราชวงศ์โคกูรยอในสมัยสามราชอาณาจักร และในขณะนั้นมรชื่อว่า Uk-o-hyeon (욱오현)[5] หบะราชวงศ์ชิลลาเข้าพิชิตราชวงศ์โคกูรยอและแพ็กเจ พื้นที่นี้จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Baek-o-hyeon (백오현)[6]
หลังสถาปนาราชวงศ์โคกูรยอ พื้นที่นี้จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Pyeongchang-hyeon ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของว็อนจู[7]
เมื่อสถานปนาราชวงศ์โชซ็อนใน ค.ศ. 1392 ภูมิภาคนี้ได้รับการเลื่อนสถานะจาก hyeon ไปเป็นเทศมณฑล (gun)[8] หลังดินแดนนี้ถูกแบ่งไปเป็น 8 แคว้นในรัชสมัยพระเจ้าแทจง พื้นที่นี้อยู่ใน Gangwon-do[9]
ภูมิศาสตร์
แก้กีฬา
แก้พย็องชังเป็นเมืองเจ้าภาพในเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 1999 และโอลิมปิกฤดูหนาว 2018
เอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 1999
แก้เอเชียนเกมส์ฤดูหนาวจัดขึ้นใน ค.ศ. 1999 ที่จังหวัดคังว็อน ซึ่งรวมถึงพย็องชัง ในตอนแรกคาดว่าจังหวัดนี้จะเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ฤดูหนาวครั้งที่สาม 3 ที่เกาหลีเหนือสละสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม มีการประกาศให้ฮาร์บินเป็นเมืองเจ้าภาพ ทำให้จังหวัดคังว็อนกลายเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ฤดูหนาวครั้งที่ 4 ในเวลาเดียวกัน[10]
มีนักกีฬาเข้าแข่งขันทั้งหมด 799 คน โดยจัดการแข่งขันประเภทสกีลงเขา, สกีครอสคันทรี, ทวิกีฬาฤดูหนาว, สเกตความเร็วระยะสั้น และสเกตลีลาที่พย็องชัง[11]
โอลิมปิกฤดูหนาว 2018
แก้ณ วันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 มีการประกาศให้พย็องชังเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 และพาราลิมปิกฤดูหนาว 2018 โดยสามารถเอาชนะคู่แข่งจากอีก 2 เมืองคือ มิวนิกและอานซี ถือเป็นการแข่งขันฤดูหนาวที่สามในเอเชีย หลังโอลิมปิกฤดูหนาว 1972 ที่ซัปโปโระ ประเทศญี่ปุ่น และโอลิมปิกฤดูหนาว 1998 ที่นางาโนะ ประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นการแข่งขันฤดูหนาวเอเชียครั้งแรกที่จัดนอกประเทศญี่ปุ่น พย็องชังประสบความสำเร็จในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 หลังจากการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2 ครั้งก่อนหน้า ทั้งในปี 2010 และ 2014 ไม่ประสบผลสำเร็จ โดยพ่ายแพ้ให้กับแวนคูเวอร์ ประเทแคนาดา และโซชี ประเทศรัสเซีย ตามลำดับ[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ "P'yŏngch'ang-gun: South Korea - name, geographic coordinates, administrative division, and map". Geographical Names. สืบค้นเมื่อ 8 July 2011.
- ↑ "S. Korean city to host 2018 Winter Olympics". CNN. 6 July 2011. สืบค้นเมื่อ 6 November 2011.
- ↑ Swalec, Andrea (28 November 2017). "Pyeongchang? Pyongyang? Olympic Host City Location Is Easily Mistaken". NBC4 Washington. Washington. สืบค้นเมื่อ 15 February 2018.
- ↑ Keating, Josh. "Pyongchang vs. PyeongChang vs. Pyeongchang". Slate. สืบค้นเมื่อ 23 February 2018.
- ↑ 관동대학교영동문화연구소(평창군지편찬위원회), 평창군지 상, Pyoengchang County, 2003, pp. 48–49
- ↑ 관동대학교영동문화연구소(평창군지편찬위원회), 평창군지 상, Pyoengchang County, 2003, p. 61
- ↑ Goryeosa. 1455.
- ↑ "연혁". happy700.or.kr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-09. สืบค้นเมื่อ 2024-07-03.
- ↑ "강원도 역사와 문화". www.provin.gangwon.kr.
- ↑ 관동대학교영동문화연구소(평창군지편찬위원회), 평창군지 상, Pyoengchang County, 2003, p. 777
- ↑ 관동대학교영동문화연구소(평창군지편찬위원회), 평창군지 상, Pyoengchang County, 2003, p. 778
- ↑ "Pyeongchang named as host city for 2018 Winter Olympics". Daily Telegraph. 6 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2011. สืบค้นเมื่อ 7 July 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Pyeongchang County government website (ในภาษาอังกฤษ)
- Pyeongchang 2018 website (ในภาษาอังกฤษ)