เคานต์แห่งตูลูซ

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

เคานต์แห่งตูลูซ (อังกฤษ: Count of Toulouse) เป็นตำแหน่งผู้ปกครองเคาน์ตีตูลูซ เคานต์แห่งตูลูซคนแรก ๆ เป็นผู้บริหารเมืองและอาณาเขตภายใต้ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง เมื่อมาถึงสมัยของราชวงศ์กาโรแล็งเชียง การแต่งตั้ง “เคานต์” หรือ “ดยุก” ก็เป็นเรื่องทำกันเป็นปกติขึ้นและเป็นที่รู้จักกันดีมากขึ้น แต่ในที่สุดตำแหน่งก็กลายเป็นตำแหน่งสืบตระกูล

ภาพจินตนาการของแรมงที่ 4 ผู้ก่อตั้งเคาน์ตีตริโปลี

“เคานต์แห่งตูลูซ” ที่เป็นตำแหน่งสืบตระกูลครองเมืองตูลูซและอาณาบริเวณรอบ ๆ มาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 มาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1270 เคานต์แห่งตูลูซในบางโอกาสก็มีตำแหน่งเป็นเคานต์ของแกร์ซี, รูแอร์ก, อาลบี และนีม และเป็นมากราฟแห่งกอเธียและพรอว็องส์ นอกจากนั้น แรมงที่ 4 ก็เป็นผู้ก่อตั้งเคาน์ตีตริโปลีซึ่งเป็นหนึ่งในอาณาจักรครูเสดและผู้สืบเชื้อสายจากแรมงก็ครองตริโปลีต่อมา

อาณาจักรเคานต์แห่งตูลูซเป็นอาณาจักรที่สืบต่อจากราชอาณาจักรวิซิกอท (ค.ศ. 418–ค.ศ. 721) ตูลูซ (รวมทั้งแอควิเทเนีย (อ็อกซิทาเนีย) และล็องเกอด็อก) ต่างก็รับกฎหมายของวิซิกอทและโรมันมารวมกันใช้ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้สิทธิแก่สตรีมากกว่ากฎหมายของอาณาจักรอื่นในสมัยเดียวกันมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่อนุญาตให้สตรีมีสิทธิในการรับที่ดินและตำแหน่งเป็นมรดกได้ และสามารถบริหารอิสระจากสามีหรือญาติที่เป็นชาย สตรีสามารถระบุผู้รับมรดกได้ในพินัยกรรมถ้าไม่มีทายาท และสามารถเป็นผู้แทนตนเองในศาลได้เมื่อมีอายุเกิน 14 ปีและเลือกคู่แต่งงานได้เองเมื่อมีอายุได้ 20 ปี[1]

อ้างอิง

แก้
  1. Klapisch-Zuber, Christine; A History of Women: Book II Silences of the Middle Ages, The Belknap Press of Harvard University Press, Cambridge, Massachusetts, London, England. 1992, 2000 (5th printing). Chapter 6, "Women in he Fifth to the Tenth Century" by Suzanne Fonay Wemple, pg 74. According to Wemple, Visigothic women of Spain and the Aquitaine could inherit land and title and manage it independently of their husbands, and despose of it as they saw fit if they had no heirs, and represent themselves in court, appear as witnesses (by the age of 14), and arrange their own marriages by the age of twenty

ดูเพิ่ม

แก้