อากีรา

ผู้เก็บกู้ทุ่นระเบิด และภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑ์ชาวกัมพูชา

อากีรา (เขมร: អាគីរ៉ា; อักษรโรมัน: Aki Ra บางครั้งเขียน Akira เกิดประมาณ พ.ศ. 2513) เป็นอดีตทหารเด็กชาวกัมพูชาที่ถูกเกณฑ์โดยเขมรแดง ซึ่งภายหลังทำงานเป็นผู้เก็บกู้ทุ่นระเบิดและภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ในเมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา เขาอุทิศชีวิตเพื่อกำจัดทุ่นระเบิดในกัมพูชา และดูแลเด็กที่ตกเป็นเหยื่อกับระเบิด อากีรากล่าวว่าตั้งแต่ปี 2535 เขาได้เก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิดมากถึง 50,000 ลูก และเขาเป็นผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดกัมพูชา (អង្គការដោះមីនកម្ពុជា​; Cambodian Self Help Demining, CSHD)[2]

อากีรา
Aki Ra
អាគីរ៉ា
อากีรา ใน พ.ศ 2549
เกิดអឿន យក្ស (เอือน เยียะ; Eoun Yeak)
ไม่ทราบ (ป. พ.ศ. 2513)[1]
เสียมราฐ, กัมพูชา
อาชีพนักรณรงค์เก็บกู้ทุ่นระเบิด, ภัณฑารักษ์, ผู้อำนวยการ Cambodian Self Help Demining (องค์กรเอกชน)
คู่สมรสហួត (ฮวด; Hourt) (เสียชีวิต 2552)
บุตร3 (អមតៈ (อมตะ), មីនា (มีนา), មេត្តា (เมตตา))

ปฐมวัย แก้

อากีราไม่แน่ใจอายุของตนเองแต่เชื่อว่าเขาเกิดในปี 2513[1][3] หรือปี 2516[4] บิดามารดาถูกสังหารโดยเขมรแดง[5] เขาเป็นเด็กกำพร้าในค่ายของเขมรแดง เขาได้รับการเลี้ยงดูร่วมกับเด็กกำพร้าคนอื่น ๆ อีกหลายคนโดยผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ ยวน (យួន; Yourn) ในไม่ช้าเขาก็กลายเป็นทหารเด็กเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ อีกหลายคน เมื่อความแข็งแรงของเขาเพียงพอที่จะเป็นประโยชน์กับหน่วยทหารเขมรแดงในท้องถิ่น[6] เมื่อกองทัพเวียดนามบุกกัมพูชาเพื่อโค่นล้มระบอบเขมรแดง เขาถูกควบคุมตัวโดยทหารเวียดนาม[7] ต่อมาเขาได้สมัครเป็นทหารในกองทัพปฏิวัติประชาชนกัมพูชาของรัฐบาลสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาที่ตั้งขึ้นใหม่ หน้าที่ของเขารวมถึงการวางทุ่นระเบิดตามพื้นที่ขุดบริเวณชายแดนกัมพูชาติดกับไทย ชื่อ "อากีรา" ตั้งโดยคนรู้จักชาวญี่ปุ่น และไม่ใช่ชื่อเกิดของเขา ชื่อเดิมของเขาคือ เอือน เยียะ (អឿន យក្ស; Eoun Yeak) แต่หนึ่งในหัวหน้างานของเขาเคยเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเขากับ AKIRA ซึ่งเป็นบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับงานหนัก[6][8]

การกวาดล้างทุ่นระเบิด แก้

หลังจากวางทุ่นระเบิดหลายพันลูกในฐานะทหาร อากีราได้รับงานเป็นผู้เก็บกู้ทุ่นระเบิดกับองค์กรสนับสนุนการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งสหประชาชาติ (United Nations Mine Action Service, UNMAS) ใน พ.ศ. 2534[9] หลังจากออกจาก UNMAS ในปี 2535 เขายังคงปลดชนวนและกำจัดทุ่นระเบิดในชุมชนของเขาต่อไป เขาใช้มีดพับ จอบ และท่อนไม้ในการเก็บกู้เนื่องจากไม่มีเครื่องมือ[10] เขาจะปลดชนวนกับระเบิดและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ยังไม่ระเบิด (unexploded ordnance, UXO) ที่เขาพบในหมู่บ้านเล็ก ๆ และนำเปลือกของวัตถุที่เก็บกู้กลับบ้าน บางครั้งเขาจะขายเป็นเศษเหล็กเพื่อใช้เป็นทุนในการทำงานของเขา[11]

นักท่องเที่ยวเริ่มได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับชายชาวกัมพูชาคนหนึ่งที่ใช้ท่อนไม้เก็บกู้ทุ่นระเบิด และมีบ้านที่เต็มไปด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ถอดชนวนแล้ว[12] ในปี 2542 อากีราเริ่มเรียกเก็บเงินหนึ่งดอลลาร์สหรัฐเพื่อดูชุดสะสมของเขา โดยเขาใช้เงินนั้นเพื่อช่วยเหลือกิจกรรมต่อไป[13] จึงเป็นการเริ่มต้นของพิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดกัมพูชา[14]

อากีราเก็บกู้ทุ่นระเบิดในพื้นที่ที่เขาเคยสู้รบ เมื่อเขาได้ยินเรื่องอุบัติเหตุ หรือเมื่อหัวหน้าหมู่บ้านและชาวนาโทรศัพท์หาเขาที่พิพิธภัณฑ์ และเล่าให้เขาฟังถึงทุ่นระเบิดในหมู่บ้านและขอความช่วยเหลือจากเขา[15] นอกจากนั้นเขาได้จัดกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการให้การศึกษาเรื่องความเสี่ยงต่อทุ่นระเบิดเพื่อสอนผู้คนเกี่ยวกับอันตรายของอาวุธยุทโธปกรณ์และทุ่นระเบิดที่ยังไม่ระเบิด[11]

การรับบุตรบุญธรรม แก้

ขณะที่ทำงานในหมู่บ้านเหล่านี้ เขาพบเด็กได้รับบาดเจ็บและถูกทอดทิ้งจำนวนมาก เขาพาเด็ก ๆ กลับบ้านเพื่ออาศัยอยู่กับเขาและฮวด (ហួត; Hourt) ภรรยาของเขา เด็กบางคนที่ย้ายมาอยู่ที่บ้านเคยเป็นเด็กเร่ร่อนจากเสียมราฐและพนมเปญด้วย ในที่สุดเขาก็รับอุปการะเด็กชายและเด็กหญิงมากกว่ายี่สิบคน[9]

ในช่วงต้นปี 2552 เด็กชายคนหนึ่งมาอาศัยอยู่กับอากีราและฮวด ซึ่งเขาสูญเสียแขนและมือส่วนใหญ่ไปจากระเบิดลูกปรายที่คาดว่าหลงเหลือมาจากสงครามกลางเมืองกัมพูชา เมื่อเด็กชายกับลุงของเขาพบระเบิดในขณะทำงานในทุ่งนาใกล้เมืองพระตะบองทางตะวันตกของเสียมราฐ อากีราพบเขาในโรงพยาบาลและเล่าให้ครอบครัวฟังเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ตอนนี้เขาอาศัยอยู่กับอากีราและเข้าเรียนที่โรงเรียน ปัจจุบันมีเด็กทั้งหมด 29 คนอาศัยอยู่ที่ศูนย์บรรเทาทุกข์พิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดกัมพูชา[6] ในอดีตพวกเขาส่วนใหญ่เป็นเหยื่อของทุ่นระเบิด แต่ปัจจุบันยังรวมไปถึงเด็กที่เกิดมาไม่มีแขนขา ผู้ที่ป่วยด้วยโรคโปลิโอ และบางคนติดเชื้อเอชไอวี บางคนเป็นเด็กกำพร้า ขณะที่บางคนพ่อแม่ไม่สามารถเลี้ยงดูพวกเขาได้[16] เงินทุนที่พิพิธภัณฑ์ได้รับทุ่มเทเพื่อสนับสนุนเด็ก ๆ เหล่านี้ ในเรื่องอาหาร เครื่องนุ่มห่ม และสนับสนุนให้พวกเขาไปโรงเรียน

องค์กรความช่วยเหลือกวาดล้างทุ่นระเบิดของชาวกัมพูชา แก้

หน่วยงานของรัฐบาลกัมพูชาพยายามที่จะปิดพิพิธภัณฑ์หลังจากเปิดได้ไม่นาน และอากีราจำเป็นต้องยุติกิจกรรมเก็บกู้ทุ่นระเบิดที่ "ไม่ได้รับการรับรอง" หลังจากถูกจำคุกช่วงสั้น ๆ ใน พ.ศ. 2544[17] (และอีกครั้งใน พ.ศ. 2549)[18] ในปี 2548 เขาได้เดินทางไปลอนดอน เพื่อรับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการกำจัดอาวุธยุทโธปกรณ์จากโรงเรียนนานาชาติด้านความมั่นคงและการศึกษาวัตถุระเบิด ต่อมาใน พ.ศ. 2551 ด้วยความช่วยเหลือของกองทุนบรรเทาภัยจากทุ่นระเบิด (Landmine Relief Fund) ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลจากสหรัฐ และคณะเก็บกู้ทุ่นระเบิดของทหารผ่านศึกเวียดนามในกัมพูชา ซึ่งเป็นกลุ่มทหารผ่านศึกชาวออสเตรเลีย อากีราได้รับการรับรองอย่างสมบูรณ์ในฐานะผู้เก็บกู้ทุ่นระเบิด และเขาได้ก่อตั้งองค์กรพัฒนาเอกชนแห่งใหม่ขึ้นในชื่อ Cambodian Self Help Demining (CSHD, องค์กรความช่วยเหลือกวาดล้างทุ่นระเบิดของชาวกัมพูชา)[3] องค์กรได้รับการรับรองจากหน่วยงานปฏิบัติการทุ่นระเบิดของกัมพูชาโดยมีการตรวจสอบอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เป็นประจำ และกองทุนบรรเทาภัยจากทุ่นระเบิดมีตัวแทนในประเทศกัมพูชาที่ทำงานร่วมกับ CSHD[19] นอกจากนี้ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวแคนาดา ริชาร์ด ฟิทุสซี (Richard Fitoussi)[20] และผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน ทอม ชาเดียค (Tom Shadyac) ยังให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่อีกด้วย[21]

พิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดมีการย้ายที่ทำการและได้เปิดใหม่ใน พ.ศ. 2551[16][22]

หนังสืออนุญาตของ CSHD คือให้ทำการกวาดล้างทุ่นระเบิดในหมู่บ้านเล็ก ๆ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ถือว่า "มีความสำคัญต่ำ" ส่วนองค์กรกวาดล้างทุ่นระเบิดระดับนานาชาติอื่น ๆ จะปฏิบัติการในพื้นที่ "มีความสำคัญสูง" ในปีแรกของการดำเนินการ CSHD ได้เคลียร์พื้นที่ 163,000 ตารางเมตร และนำผู้คนกว่า 2,400 คนกลับคืนสู่ที่ดินที่เคยอันตรายเกินกว่าจะทำการเกษตรหรืออยู่อาศัยได้ CSHD ทำเช่นนี้โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 4,314 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน

CSHD ได้รับทุนหลักจากพันธมิตรในสหรัฐและออสเตรเลีย ได้แก่กองทุนบรรเทาภัยจากทุ่นระเบิด และคณะเก็บกู้ทุ่นระเบิดของทหารผ่านศึกเวียดนามในกัมพูชา ใน พ.ศ. 2552 สำนักงานกำจัดและลดอาวุธ ในสังกัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ได้มอบเงินสนับสนุนกองทุนบรรเทาภัยจากทุ่นระเบิดจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วย CSHD ในการทำงานเพื่อกวาดล้างเศษซากของสงคราม (explosive remnants of war, ERW) ใน "หมู่บ้านที่มีลำดับความสำคัญต่ำ" ในกัมพูชา การระดมทุนอย่างต่อเนื่องนั้นไม่แน่นอน เนื่องจาก CSHD ต้องแข่งขันกับองค์กรพัฒนาเอกชนด้านทุ่นระเบิดขนาดใหญ่ เช่นองค์กรกลุ่มที่ปรึกษาเรื่องทุ่นระเบิด (Mines Advisory Group) และกองทุนฮาโลเพื่อเก็บกู้ระเบิด (Halo Trust)

การตอบรับ แก้

ใน พ.ศ. 2548 หนังสือ Children and the Akira Landmines Museum (アキラの地雷博物館とこどもたち) ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาญี่ปุ่น โดยมีอากีราเป็นผู้เขียนหลัก[23][4]

ในปี 2549 มังงะเรื่อง Mitsurin Shonen ~Jungle Boy~ (密林少年~ジャングル・ボーイ~) โดยอากิระ ฟูกายะ (深谷 陽, Akira Fukaya) ได้รับการตีพิมพ์ มังงะเรื่องนี้ไม่เพียงแต่รายงานเรื่องราวของอากีราเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการประชุมที่ผู้เขียนมีกับอากีราอีกด้วย หนังสือเล่มที่สองได้รับการตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2550 และฉบับแปลภาษาฝรั่งเศส Enfant Soldat ได้รับการตีพิมพ์ในปี 2552 โดยสำนักพิมพ์ Éditions Delcourt[24]

ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง A Perfect Soldier ที่บรรยายชีวิตของอากีรา ออกฉายในปี 2553[25][26]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 อากีราได้รับเลือกให้เป็นฮีโร่ของซีเอ็นเอ็น (CNN Hero)[27] และในเดือนกันยายน เขาได้รับเลือกให้เป็น 10 อันดับแรกของ CNN Hero ประจำปี 2553[28]

เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555 อากีราได้รับเกียรติจากมูลนิธิมันแฮ (만해사상실천선양회, SPPMT) ในเกาหลีใต้ โดยได้รับรางวัลมันแฮด้านสันติภาพของมูลนิธิ ประจำปี 2555[29][30] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 อากีราได้รับทุนพอล พี. แฮร์ริสเพื่อสันติภาพและการแก้ไขข้อขัดแย้งจากสโมสรโรตารีเกรเวนเฮิร์สต์ รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา[31]

ชีวิตส่วนตัว แก้

ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง A Perfect Soldier บอกเป็นนัยว่าอากีราประสบปัญหาทางจิต รวมถึงภาวะซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน ฝันร้าย และความวิตกกังวล ซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่เจ็บปวดของเขาในฐานะทหาร[25]

แหล่งข่าวหลายแห่งระบุว่าอากีรามีปัญหาสุขภาพเนื่องจากการสัมผัสกับสารเคมีที่ระเบิดได้เช่น ทีเอ็นที และอาร์ดีเอกซ์ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน[4][15]

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 อากีราถูกจับกุมฐานเก็บวัตถุระเบิดที่บรรจุสารเฉื่อยซึ่งปลดชนวนแล้วไว้ที่พิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดกัมพูชา เขาถูกกล่าวหาว่าไม่มีใบอนุญาตให้แสดงอาวุธ พิพิธภัณฑ์ถูกปิดเป็นเวลาสามเดือน และได้เปิดดำเนินการอีกครั้งหลังจากนั้น[32]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "The Cambodian Landmine Museum and School Founders". The Cambodia Landmine Museum.
  2. "Life of the Land". Time. 31 ตุลาคม 2013.
  3. 3.0 3.1 Charlie Campbell (31 ตุลาคม 2013). "Life of the Land: A Former Child Soldier Makes Cambodia Safe". Time.
  4. 4.0 4.1 4.2 Shibata Yukinori. "Book Review: Children and the Aki Ra Landmines Museum". Bulletin of the Jesuit Social Center. Tokyo. p. 129.3.
  5. "Digging up the past: Legendary Cambodian deminer Aki Ra continues to build Cambodia's future by digging up its past". FCC Cambodia Monthly Newsletter. กรกฎาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2014.
  6. 6.0 6.1 6.2 Ebonne Ruffins (30 กรกฎาคม 2010). "Cambodian man clears land mines he set decades ago". CNN.
  7. Mark Jenkins (มกราคม 2012). "Cambodia's Healing Fields: Land mines once crippled a war-ravaged Cambodia. Today the nation is a model for how to recover from this scourge". National Geographic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มีนาคม 2018.
  8. Kyle Ellison (23 ธันวาคม 2011). "A step inside the Cambodian Landmine Museum". Gadling.
  9. 9.0 9.1 Antonio Graceffo (22 พฤษภาคม 2008). "Aki Ra and Landmine Museum". Mekong.net.
  10. "The Incredible Journey of Aki Ra, Former Child Soldier". Asia Society. Hong Kong. 13 ตุลาคม 2009.
  11. 11.0 11.1 Meghan Wallace (Fall 2010). "Hero Profile: Aki Ra". Journal of ERW and Mine Action (14.3).
  12. Terry Hodgkinson (30 ตุลาคม 2011). Aki Ra's Landmine Museum – โดยทาง ยูทูบ.
  13. "Aki Ra's Cambodia Landmine Museum". Going Slowly. พฤศจิกายน 2011.
  14. Julie Stern & Megan Hinton (Spring 2014). "Landmine Museums Encourage Remembrance and Education". Journal of ERW and Mine Action (18.1).
  15. 15.0 15.1 Matthew Smeal (13 พฤศจิกายน 2006). "Cambodia's slow recovery from Khmer Rouge". Eureka Street. 16 (17).
  16. 16.0 16.1 William Morse (2014). "Cambodia Landmine Museum" (PDF). SEAMEO SPAFA Regional Centre for Archaeology and Fine Arts.
  17. Dan Eaton (26 กุมภาพันธ์ 2001). "Mad About Mines". Time.
  18. Nicky Sullivan (1 มิถุนายน 2012). "From the good life to digging up land mines in Cambodia: Bill Morse chose to move to Cambodia to help activist Aki Ra rid the country of landmines". Christian Science Monitor.
  19. Rare Earth (1 ตุลาคม 2017). Using Landmines to Save Children's Lives – โดยทาง ยูทูบ.
  20. "Canadian filmmaker documents horrors of landmines". CTV News. 4 เมษายน 2012.
  21. "Josh Peace". BravoFACT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2014.
  22. Andy Brouwer (14 เมษายน 2007). "Aki Ra Coming Out of Retirement".
  23. アキ・ラー (1 กันยายน 2005). アキラの地雷博物館とこどもたち. 三省堂. ISBN 978-4-385-36208-3.
  24. Fukaya, Akira; Ra, Aki (2009). Enfant soldat T01 (DEL.SEINEN). Delcourt. ISBN 978-2-7560-1512-5.
  25. 25.0 25.1 loteq101 (21 กรกฎาคม 2013). A Perfect Soldier - The Story of Aki Ra De-mining in Cambodia – โดยทาง ยูทูบ.
  26. Jill Gaeta (Spring 2013). "Review of Documentary A Perfect Soldier by John Severson". The Middle Ground Journal (6).
  27. "CNN Hero Aki Ra Disarms Land Mines In Cambodia He Placed Decades Earlier". Huffpost. 30 กรกฎาคม 2010.
  28. "CNN Heroes Archive: Aki Ra". CNN.
  29. "Aki Ra awarded the Manhae Peace Prize". The Global Clean-Up.
  30. "Aki Ra Wins Grand Peace Prize". Peace Works. 28 สิงหาคม 2012.
  31. Alistair Walsh (8 กุมภาพันธ์ 2013). "Canadian Rotarians honour Aki Ra for peace work". Phnom Penh Post.
  32. Fullerton, Jamie (22 ตุลาคม 2019). "'Whistles, warnings, kaboom!': a day with a landmine clearance team". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้