อองซิม (เสียชีวิตมิถุนายนหรือกรกฎาคม ค.ศ. 266[a]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หวาง เฉิ่น (จีน: 王沈; พินอิน: Wáng Shěn) ชื่อรอง ฉู่เต้า (จีน: 處道; พินอิน: Chǔdào) เป็นนักประวัติศาสตร์ ขุนพล และขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน หลังการปกครองของวุยก๊กสิ้นสุดลงในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 อองซิมรับราชการต่อไปในราชสำนักของราชวงศ์จิ้น อองซิมเขียนตำรา 5 เล่มที่รู้จักในชื่อ รวมผลงานของหวาง ฉู่เต้า (王處道集 หวางฉู่เต้าจี๋) หรือ รวมผลงานของอองซิม (王沈集 หวางเฉินจี๋) ซึ่งสูญหายไปแล้วในช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์ อองซิมยังเขียนเฉฺวียนจฺวิ้นเหวิน (全晉文) 14 บทอีกด้วย

อองซิม (หวาง เฉิ่น)
王沈
นายทหารม้ามหาดเล็ก
(散騎常侍 ซานฉีฉางชื่อ)
ดำรงตำแหน่ง
?–?
กษัตริย์สุมาเอี๋ยน
ราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู)
ดำรงตำแหน่ง
?–?
กษัตริย์สุมาเอี๋ยน
ขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง)
ดำรงตำแหน่ง
?–265
กษัตริย์โจฮอง / โจมอ / โจฮวน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
นครไท่หยวน มณฑลชานซี
เสียชีวิตค.ศ. 266
บุตรหวาง จฺวิ้น
บุพการี
  • หวาง จี (บิดา)
ญาติอองซอง (ลุง)
อาชีพนักประวัติศาสร์, ขุนพล, ขุนนาง
ชื่อรองฉู่เต้า (處道)
บรรดาศักดิ์เฮาแห่งอันเป๋ง (安平侯 อานผิงโหว)

ประวัติ

แก้

อองซิมเป็นชาวอำเภอจิ้นหยาง (晉陽縣 จิ้นหยางเซี่ยน) เมืองไท่หยวน (太原郡 ไท่-ยฺเหวียนจฺวิ้น) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองไท่หยวน มณฑลชานซีในปัจจุบัน[2] บิดาของอองซิมคือหวาง จี (王機) ซึ่งเสียชีวิตตั้งแต่อองซิมอยู่ในวัยเยาว์ อองซิมจึงได้รับการเลี้ยงดูโดยผู้เป็นลุงคืออองซองซึ่งภายหลังดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีโยธาธิการ (司空 ซือคง) ในราชสำนักวุยก๊ก[3] อองซองมีชื่อเสียงจากความสามารถทางวรรณกรรมและได้เข้ารับราชการกับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์โจซองในตำแหน่งเลขานุการ ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานมหาดเล็ก (侍郎 ชื่อหลาง)[4]

ในปี ค.ศ. 249 ภายหลังจากโจซองถูกสุมาอี้ที่เป็นผู้สำเร็จราชการร่วมปลดจากอำนาจ ในตอนแรกอองซิมก็สูญเสียตำแหน่งของตนแต่ภายหลังก็ได้กลับเข้ารับราชการพลเรือนในตำแหน่งขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง)[5] อองซิมได้ร่วมงานกับสฺวิน อี่ (荀顗) และรฺเหวี่ยน จี๋ (阮籍) ในการเขียนตำราประวัติศาสตร์ 44 เล่ม เว่ยชู (魏書)[6] โจมอจักรพรรดิวุยก๊กทรงโปรดการอ่านตำรา พระองค์เรียกอองซิมว่าเป็น "อาจารย์วรรณกรรม" (文籍先生 เหวินจี๋เซียนเชิง)[7]

ในปี ค.ศ. 260 โจมอทรงวางแผนจะก่อรัฐประหารเพื่อชิงอำนาจคืนจากผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สุมาเจียว พระองค์ทรงเรียกอองซิม อองเหงียบ และอองเก๋งมาเข้าเฝ้าในที่รโหฐานและทรงปรึกษาในเรื่องแผนการกับทั้งสาม แต่อองซิมและอองเหงียบกลับไปรายงานเรื่องแผนการนี้กับสุมาเจียว ในที่สุดโจมอก็ถูกปลงพระชนม์โดยนายทหารของสุมาเจียว หลังโจมอสวรรคต สุมาเจียวตั้งให้อองซิมมีบรรดาศักดิ์เป็น "เฮาแห่งอันเป๋ง" (安平侯 อานผิงโหว) มีศักดินา 2,000 ครัวเรือน[8]

ในปี ค.ศ. 266 ภายหลังจากสุมาเอี๋ยนบุตรชายของสุมาเจียวโค่นล้มรัฐวุยก๊กและก่อตั้งราชวงศ์จิ้น อองซิมรับราชการต่อไปในราชสำนักของราชวงศ์จิ้นและดำรงตำแหน่งเป็นราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู) และนายทหารม้ามหาดเล็ก (散騎常侍 ซานฉีฉางชื่อ)[9] อองซิมเสียชีวิตหลังจากนั้นในปีเดียวกันและได้รับการแต่งตั้งย้อนหลังให้มีฐานันดรศักดิ์ระดับจฺวิ้นกง (郡公)[10]

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. บทพระราชประวัติสุมาเอี๋ยนในจิ้นชูระบุว่าอองซิมเสียชีวิตในวันเหรินจื่อ (壬子) ในเดือน 5 ของศักราชไท่ฉื่อ (泰始) ปีที่ 2 ในรัชสมัยของสุมาเอี๋ยน[1] อย่างไรก็ตามในเดือนนั้นไม่มีวันเหรินจื่อ อองซิมน่าจะเสียชีวิตภายเดือนนั้นซึ่งเทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 20 มิถุนายนถึง 19 กรกฎาคม ค.ศ. 266 ตามปฏิทินกริโกเรียน

อ้างอิง

แก้
  1. [(泰始二年)夏五月壬子,骠骑将军博陵公王沈卒。] จิ้นชู เล่มที่ 03
  2. (王沈,字處道,太原晉陽人也。) จิ้นชู เล่มที่ 39.
  3. (父機,魏東郡太守。沈少孤,養于從叔司空昶,事昶如父。) จิ้นชู เล่มที่ 39.
  4. (好書,善屬文。大將軍曹爽辟為掾,累遷中書門下侍郎。) จิ้นชู เล่มที่ 39.
  5. (及爽誅,以故吏免。後起為治書侍御史,轉秘書監。正元中,遷散騎常侍、侍中,典著作。) จิ้นชู เล่มที่ 39.
  6. (與荀顗、阮籍共撰《魏書》,多為時諱,未若陳壽之實錄也。) จิ้นชู เล่มที่ 39.
  7. (時魏高貴鄉公好學有文才,引沈及裴秀數於東堂講宴屬文,號沈為文籍先生,秀為儒林丈人。) จิ้นชู เล่มที่ 39.
  8. (及高貴鄉公將攻文帝,召沈及王業告之,沈、業馳白帝,以功封安平侯,邑二千戶。沈既不忠於主,甚為眾論所非。) จิ้นชู เล่มที่ 39.
  9. (及帝受禪,以佐命之勳,轉驃騎將軍、錄尚書事,加散騎常侍,統城外諸軍事。) จิ้นชู เล่มที่ 39.
  10. (後沈夫人荀氏卒,將合葬,沈棺櫬已毀,更賜東園秘器。咸寧中,復追封沈為郡公。) จิ้นชู เล่มที่ 39.

บรรณานุกรม

แก้