อมเรศ ภูมิรัตน
ศาสตราจารย์ อมเรศ ภูมิรัตน (24 กรกฎาคม 2491 - ปัจจุบัน) เกิดที่อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์[1] และกรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิจัยไทยที่มีผลงานดีเด่นในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ เชี่ยวชาญด้านการสอน การวิจัย รวมทั้งการประยุกต์และถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ภาคอุตสาหกรรม มาตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี เป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2532 และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในวงการเทคโนโลยีชีวภาพระดับประเทศ โดยริเริ่มให้มีการรวมตัวของนักวิชาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้มีการก่อตั้ง ชมรมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2533 และเป็นประธานคนแรกของชมรมนี้ ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย ศาสตราจารย์ ดร. อมเรศ ภูมิรัตน เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 5 คน ของศาสตราจารย์อมร ภูมิรัตน และคุณหญิงระเบียบ ภูมิรัตน สมรสกับนางนิตยาภรณ์ (สุมาวงศ์) มีธิดา 1 คน คือ พญ. นภัทร ภูมิรัตน
ดร.อมเรศ ภูมิรัตน | |
---|---|
เกิด | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร |
สัญชาติ | ไทย |
มีชื่อเสียงจาก | นักวิจัยไทย |
การศึกษา
แก้- พ.ศ. 2497 - 2500 - ประถมศึกษา โรงเรียนปวโรฬารวิทยา กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2501 - 2506 - มัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมสาธิต มศว ประสานมิตร กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2507 - โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2507 - 2509 - โรงเรียนมัธยมแห่งเมืองเชาว์ซิวล่า รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2509 - 2513 - ปริญญาตรี (เกียรตินิยม) สาขาแบคทีเรียวิทยา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2513 - 2517 - ปริญญาเอก สาขาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงาน
แก้- พ.ศ. 2517 - 2533 - สังกัดภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (เริ่มเข้ารับราชการ เมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2517)
- พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน - สังกัดภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำแหน่งวิชาการ
แก้- พ.ศ. 2517 - อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2519 - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2524 - รองศาสตราจารย์ สาขาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2533 - ศาสตราจารย์ สาขาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2540 - ศาสตราจารย์อาคันตุกะ มหาวิทยาลัยโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน - ศาสตราจารย์ ระดับ 11 สาขาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน - ดำรงตำแหน่ง Collaborative Professor ของมหาวิทยาลัยโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น
ตำแหน่งบริหาร
แก้- พ.ศ. 2532 - รักษาการหัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2532 - 2534 - ผู้อำนวยการโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2533 - 2537 - นายกสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2534 - 2538 - รองคณบดี ฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2538 - 2540 - รองคณบดี ฝ่ายกิจกรรมทั้งหมดศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2542 - 2544 - ประธาน ที่ประชุมคณบดีคณะวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2542 - 2546 - คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2542 - 2546 - กรรมการสภา มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2543 - 2545 - กรรมการสภา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- พ.ศ. 2546 - 2547 - รักษาการผู้อำนวยการ สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2546 - 2547 - รองอธิการบดีและรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2547 - 2550 - ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสมัยที่ 2
- พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน - ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ประยุกต์และบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อีกหนึ่งตำแหน่ง
ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่าง ๆ
แก้- สมาชิกสมาคม Sigma XI
- สมาชิกสมาคม American Society for Microbiology
- สมาชิกสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย
- สมาชิกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสถาน สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
- บรรณาธิการวารสารเทคโนโลยีชีวภาพ (Thai Journal of Biotechnology)
- คณะบรรณาธิการ (Editorial Board) ของ ASEAN Food Journal
- คณะบรรณาธิการ (Editorial Board) ของ Journal of Fermentation and Bioengineering
- คณะบรรณาธิการ (Editorial Board) ของ Journal of Microbiology and Biotechnology
- WHO Short-term temporary consultant
- คณะอนุกรรมการโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย-ญี่ปุ่น สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ของ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- ที่ปรึกษารับเชิญของ International Foundation for Science
- สมาชิก SAC-Food Science International Foundation for Science
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (2549-2551)
เกียรติคุณและรางวัล
แก้- พ.ศ. 2530 - รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ จาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดยได้รับรางวัลดีเยี่ยม จากผลงานวิจัยเรื่อง "การปรับปรุงกรรมวิธีการผลิตซีอิ๊ว"
- พ.ศ. 2534 - รางวัลของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2534 สาขาทั่วไป จากมหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2535 - รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ประจำปี 2535 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2540 - ทุนวิจัยเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ประจำปีพ.ศ. 2540 จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ผลงานด้านการวิจัย
แก้ศาสตราจารย์ ดร. อมเรศ ภูมิรัตน และคณะ ได้ทำงานวิจัยทางด้านจุลชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการอาหารอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จำนวนกว่า 70 เรื่อง ผลงานวิจัยโดยสรุปมีดังนี้
- งานวิจัยด้านการใช้ประโยชน์จากแบคทีเรีย ได้แก่ การศึกษาแบคทีเรียที่มีฤทธิ์ฆ่าแมลง โดยเฉพาะสายพันธุ์ซึ่งฆ่าหนอนแมลงศัตรูพืช และสายพันธุ์ซึ่งสามารถฆ่าแมลงพาหะนำโรค อาทิ Bacillus thuringiensis ศึกษาคุณสมบัติของผลึกสารพิษ ความสามารถที่แบคทีเรียจะยังคงฤทธิ์อยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ การผลิตแบคทีเรียเหล่านี้ในระดับอุตสาหกรรม และพัฒนาให้มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ การถ่ายทอดยีนสารพิษระหว่างแบคทีเรียเหล่านี้ ทั้งในระหว่างสายพันธุ์เดียวกันและสายพันธุ์ต่างกัน ทำให้สามารถสร้างแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ศึกษาขบวนการควบคุมการแสดงออกของยีนโดยใช้เทคนิคทางด้านพันธุวิศวกรรม เพื่อนำไปพัฒนาสายพันธุ์แบคทีเรียที่เหมาะสมต่อไปได้ในอนาคต
- งานวิจัยด้านการใช้ประโยชน์จากเชื้อรา ที่สำคัญได้แก่ การแยกวิเคราะห์เชื้อราต่าง ๆ จากหัวเชื้อซีอิ้วในประเทศไทย และการผลิตเอนไซม์ต่าง ๆ จากเชื้อรา การถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตอาหารหมักจากถั่วเหลือง ไปยังอุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยขบวนการฝึกอบรมและการบริการทางเทคนิคอื่น ๆ การผลิตเอ็นไซม์กลูโคอะมัยเลสในระดับอุตสาหกรรมการใช้เชื้อรา Nomuraea rileyi เพื่อควบคุมหนอนแมลงศัตรูพืช ในกลุ่ม Lepidoptera ซึ่งเป็นหนอนที่ทำลายพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ทั้งพืชผัก ผลไม้และพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ หนอนกลุ่มนี้ได้แก่ หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม และหนอนเจาะสมอฝ้าย โดยได้พัฒนางานวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ภาคเอกชน เพื่อที่จะนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่อไป
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2557 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาวิทยาศาสตร์[4]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๓, ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๑๐, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2535 : ศาสตราจารย์ ดร. อมเรศ ภูมิรัตน. [กรุงเทพฯ] : มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2535. [ISBN 974-7576-65-1]
- เมธีวิจัยอาวุโส สกว. 2540. TRF Senior Research Scholar 1997. [กรุงเทพฯ] : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2540.