กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ

(เปลี่ยนทางจาก องค์การยูนิเซฟ)

กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations Children's Fund) หรือ ยูนิเซฟ (UNICEF) เป็นหน่วยงานของสหประชาชาติเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม, พัฒนาการ, สุขภาพรวมถึงความเป็นอยู่ของเด็กและแม่ในประเทศกำลังพัฒนา ก่อตั้งโดยสมัชชาสามัญแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ด้วยชื่อในขณะนั้นว่า กองทุนฉุกเฉินสำหรับเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations International Children's Emergency Fund)

กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ
ชื่อย่อยูนิเซฟ
ผู้ก่อตั้งลุดวิก ไรช์มัน
ประเภทกองทุน
สถานะตามกฎหมายเริ่ม 11 ธันวาคม 1946; 77 ปีก่อน (1946-12-11) (กองทุนฉุกเฉินสำหรับเด็กแห่งสหประชาชาติ)
สํานักงานใหญ่นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ
กรรมการบริหาร
แคทเธอรีน เอ็ม. รัสเซลล์
องค์กรปกครอง
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ
เว็บไซต์www.unicef.org

การอุปถัมภ์

แก้
  • ในวันที่ 7 กันยายน 2549 ทางยูนิเซฟได้ทำข้อตกลงกับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา โดยเสื้อของสโมสรจะมีสัญลักษณ์ของยูนิเซฟ ซึ่งเป็นครั้งแรกของสโมสรฟุตบอลที่มีโฆษณาหน่วยงานแทนที่โฆษณาสินค้า

ภารกิจหลัก

แก้

องค์การยูนิเซฟ ปัจจุบันจะดูแลงานที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือเด็กทั่วโลก ดูแลพัฒนาการ การศึกษาพื้นฐาน ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ เช่นการได้รับการศึกษาของเด็กหญิง การปกป้องเด็กจากความรุนแรง การทารุณทำร้ายเด็ก การใช้แรงงานเด็ก โรคเอดส์ที่ติดต่อมาถึงเด็ก รวมถึงการพิทักษ์สิทธิของเด็กด้วย

โครงสร้างองค์กรและผู้ร่วมงาน

แก้

หัวใจหลักในการทำงานของยูนิเซฟ คือ การลงภาคสนามไปกับบรรดาผู้อาสามาร่วมงานด้วยในมากกว่า 150 กว่าประเทศ และยังมีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ มากกว่า 120 ประเทศ สำหรับของไทยจะมี คุณอานันท์ ปันยารชุนทูตสันถวไมตรี และ นวลพรรณ ล่ำซำ ทูตองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย โดยตั้งแต่ปี 2551 มี ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ และ แอน ทองประสม เข้าร่วมเป็นทูตพิเศษเพื่อเยาวชนขององค์การยูนิเซฟ นอกจากนี้ยังมี นิชคุณ หรเวชกุล พอลล่า เทเลอร์ ดาวิกา โฮร์เน่ พชร จิราธิวัฒน์ วนิษา เรซ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ผลิตโชค อายนบุตร พีชญา วัฒนามนตรี กันต์พิมุกต์ ภูวกุล มาริโอ้ เมาเร่อ และ แอนนา เสืองามเอี่ยม ร่วมเป็น Friends of UNICEF

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ถัดไป
มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์   รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
(1965)
  René Cassin