สารานุกรมหย่งเล่อ

(เปลี่ยนทางจาก หย่งเล่อต้าเตี่ยน)

สารานุกรมหย่งเล่อ หรือ หย่งเล่อต้าเตี่ยน (จีนตัวเต็ม: 永樂大典; จีนตัวย่อ: 永乐大典; พินอิน: Yǒnglè Dàdiǎn; เวด-ไจลส์: Yung-lo Ta-tien) เป็นสารานุกรมภาษาจีนที่ส่วนใหญ่สูญหาย ซึ่งจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิงโปรดให้จัดทำขึ้นใน ค.ศ. 1403 และเสร็จสิ้นใน ค.ศ. 1408 ประกอบด้วยม้วนเอกสารตัวเขียน 22,937 ม้วนหรือบท ใน 11,095 ฉบับ[1] ปัจจุบันเหลือรอดน้อยกว่า 400 ฉบับ[2] ที่ประกอบด้วยเนื้อหาประมาณ 800 บท (ม้วน) หรือร้อยละ 3.5 ของผลงานต้นฉบับ[3]

สารานุกรมหย่งเล่อใน ค.ศ. 2014 จัดแสดงที่หอสมุดแห่งชาติจีน
สารานุกรมหย่งเล่อ ฉบับที่ 2262
หน้าหนึ่งจากเอกสารตัวเขียน 'สารานุกรมหย่งเล่อ'. หอสมุดเชสเตอร์ บีตตี

สารานุกรมส่วนใหญ่สูญหายในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในระหว่างสงครามฝิ่นครั้งที่สอง กบฏนักมวย และการก่อความไม่สงบที่ตามมา ด้วยขอบเขตและขนาดที่แท้จริงของสารานุกรมนี้ ทำให้เป็นสารานุกรมทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดในโลก จนกระทั่งเกือบ 6 ศตวรรษต่อมา วิกิพีเดียแซงหน้าสารานุกรมนี้ในช่วงปลาย ค.ศ. 2007[4][5][6]

ภูมิหลัง แก้

แม้ว่าจักรพรรดิหย่งเล่อทรงมีชื่อเสียงในด้านความสำเร็จทางทหาร พระองค์ก็ทรงเป็นปัญญาชนที่โปรดการอ่าน[7] ความโปรดต่อการวิจัยของพระองค์นำไปสู่การพัฒนาแนวคิดการจัดหมวดหมู่งานวรรณกรรมให้เป็นสารานุกรมอ้างอิง เพื่อเก็บรักษาหนังสือหายากและทำให้การวิจัยง่ายขึ้น[8][9]

การพัฒนา แก้

ราชบัณฑิตกว่าสองพันคนได้ทำงานในโครงการดังกล่าวภายใต้การควบคุมของจักรพรรดิหย่งเล่อ โดยมีเนื้อหารวมกว่า 8,000 บท ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงราชวงศ์หมิงตอนต้น ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาในหลายสาขาวิชา รวมไปถึงเกษตรกรรม ศิลปะ ดาราศาสตร์ การละคร ธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม การแพทย์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ศาสนาและเทคโนโลยี เช่นเดียวกับรายละเอียดของปรากฏการณ์ธรรมชาติที่แปลกประหลาด สารานุกรมดังกล่าว ซึ่งเสร็จสิ้นใน ค.ศ. 1408[1] ที่นานกิงกั๋วจื่อเจี้ยน (南京國子監; มหาวิทยาลัยหนานจิง) ประกอบด้วยหนังสือกว่า 22,877 หรือ 22,937[1] บรรพ (ม้วนหนังสือ หรือบท) ในหนังสือ 11,095 เล่ม กินพื้นที่ 40 ลูกบาศก์เมตร และใช้อักษรจีนกว่า 3,700 ล้านตัวอักษร[2][10] มันได้รับการออกแบบมาให้รวบรวมทุกเรื่องที่เคยเขียนมาเกี่ยวกับลัทธิขงจื๊อ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศิลปะและวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการตรวจเทียบครั้งใหญ่ของการคัดข้อความและผลงานจากวรรณกรรมและความรู้ที่มีอยู่มหาศาลของจีน จักรพรรดิหย่งเล่อทรงพอพระทัยกับสารานุกรมฉบับสมบูรณ์มากจนพระองค์ตั้งชื่อสารานุกรมนี้ตามงรัชสมัยของพระองค์ และทรงเขียนคำนำยาวเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ผลงานเป็นการส่วนพระองค์[9]

หายสาบสูญ แก้

สารานุกรมนี้จัดตั้งในเหวินหยวนเก๋อ (文淵閣) ในหนานจิง จนกระทั่งจักรพรรดิหย่งเล่อย้ายเมืองหลวงไปยังปักกิ่งใน ค.ศ. 1421 และตั้งหย่งเล่อต้าเตี่ยนในพระราชวังต้องห้าม[7] ต่อมาใน ค.ศ. 1557 ในรัชสมัยจักรพรรดิเจียจิ้ง สารานุกรมรอดพ้นจากเพลิงไหม้ที่ทำลายพระราชวังไปสามแห่งในพระราชวังต้องห้ามอย่างหวุดหวิด จากนั้นพระองค์จึงโปรดให้มีการสำเนาใน ค.ศ. 1562 และเสร็จสิ้นใน ค.ศ. 1567[11] ภายหลังต้นฉบับสูญหายถาวร โดยมีข้อสันนิษฐานหลักถึงการสูญหาย 3 รูปแบบ แต่ยังไม่ได้รับข้อสรุป:

  • ถูกทำลายในสมัยราชวงศ์หมิงตอนปลาย ใน ค.ศ. 1644 หลี่ จื้อเฉิง ผู้นำกบฏ โค่นล้มราชวงศ์หมิงและยึดครองปักกิ่ง เมืองหลวงของราชวงศ์ ไม่กี่เดือนต่อมา เขาพ่ายแพ้ต่อพันธมิตรอู๋ ซานกุ้ยกับตัวเอ๋อร์กุ่น โดยขณะที่เขาถอนทัพออกจากปักกิ่ง เขาเผาพระราชวังต้องห้ามด้วย[12] หย่งเล่อต้าเตี่ยน อาจถูกเผาทำลายในเพลิงไหม้นั้น
  • ถูกเผาพร้อมกับจักรพรรดิเจียจิ้ง ในช่วงที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพจักรพรรดิเจียจิ้งใกล้เคียงกับช่วงที่สำเนาเอกสารตัวเขียนเกือบเสร็จสมบูรณ์ จักรพรรดิเจียจิ้งสวรรคตในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1566 แต่พระบรมศพถูกฝังในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1567[12] ซึ่งความเป็นไปได้ประการหนึ่งคือพวกเขากำลังรอให้เอกสาตัวเขียนเสร็จสมบูรณ์
  • ถูกเผาในเหตุเพลิงไหม้พระตำหนักเฉียนชิง

เอกสารตัวเขียนต้นฮบับของหย่งเล่อต้าเตี่ยนเกือบสูญหายทั้งหมดในช่วงปลายราชวงศ์หมิง[11] ร้อยละ 90 ของเอกสารตัวเขียน 1567 ฉบับยังคงอยู่รอด จนกระทั่งสงครามฝิ่นครั้งที่สองในสมัยราชวงศ์ชิง จากนั้นการรุกรานปักกิ่งของอังกฤษ-ฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1860 ทำให้เอกสารตัวเขียนส่วนใหญ่ถูกเผาหรือปล้นสดมภ์ โดยททหารบริติชกับฝรั่งเศสนำเอกสารตัวเขียนส่วนใหญ่ไปเป็นของที่ระลึก[3][11]

ใน ค.ศ. 1875 มีเพียง 5,000 บทที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ซึ่งน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของต้นฉบับ แล้วลดหลงเหลือ 800 บทใน ค.ศ. 1894 จากในช่วงกบฏนักมวยและการครอบครองปักกิ่งของพันธมิตรแปดชาติใน ค.ศ. 1900 กองทัพฝ่ายพันธมิตรนำเอกสารตัวเขียนไปร้อยกว่าบท และมีหลายบทที่ถูกทำลายในเหตุเพลิงไหม้สถาบันฮ่านหลิน โดยเหลือเพียง 60 ฉบับเท่านั้นที่คงอยู่ที่ปักกิ่ง[11]

สถานะปัจจุบัน แก้

ชุดสะสมที่สมบูรณณ์ที่สุดตั้งอยู่ในหอสมุดแห่งชาติจีนที่ปักกิ่ง ซึ่งมี 221 ฉบับ[2] รองลงมาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติในไทเป ซึ่งมี 62 ฉบับ[13]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Kathleen Kuiper (31 Aug 2006). "Yongle dadian (Chinese encyclopaedia)". Encyclopædia Britannica Online. Chicago, Illinois. สืบค้นเมื่อ 9 May 2012. Encyclopædia Britannica Inc.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Yongle Encyclopedia". World Digital Library. สืบค้นเมื่อ 24 January 2013.
  3. 3.0 3.1 Foot, Sarah; Woolf, Daniel R.; Robinson, Chase F. (2012). The Oxford History of Historical Writing: Volume 2: 400-1400. Oxford University Press. p. 42. ISBN 978-0-19-923642-8.
  4. "Encyclopedias and Dictionaries". Encyclopædia Britannica. Vol. 18 (15th ed.). 2007. pp. 257–286.
  5. "An Encyclopedia Finished in 1408 That Contained Nearly One Million Pages". April 6, 2011.
  6. "600-year-old Chinese book found in SoCal |Across America |chinadaily.com.cn". www.chinadaily.com.cn.
  7. 7.0 7.1 Christos, Lauren (April 2010). "The Yongle Dadian: The Origin, Destruction, Dispersal and Reclamation of a Chinese Cultural Treasure". Journal of Library & Information Science. 36 (1). ProQuest 2001084158.
  8. Jianying, Huo. "Emperor Yongle." China Today, April 2004, 58.
  9. 9.0 9.1 Tsai, Shih-shan Henry (2001). Perpetual Happiness: The Ming Emperor Yongle. University of Washington Press. ISBN 978-0-295-98109-3.[ต้องการเลขหน้า]
  10. 陈红彦 (2008). "国家图书馆《永乐大典》收藏史话" (PDF). National Library of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 26, 2010.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Wilkinson, Endymion (2000). Chinese History: A Manual. Harvard University Asia Center. pp. 604–5. ISBN 978-0-674-00249-4.
  12. 12.0 12.1 Lin, Guang (2017-02-28). "《永乐大典》 正本陪葬了嘉靖帝?". 《北京日报》. สืบค้นเมื่อ 2018-07-30.
  13. Vast Documents of the Yung-lo Era National Palace Museum

ข้อมูล แก้

  • Ebrey, Patricia Buckley, Anne Walthall, James B. Palais. (2006). East Asia: A Cultural, Social, and Political History. Boston: Houghton Mifflin Company. ISBN 0-618-13384-4.
  • Guo Bogong (郭佰恭). Yongle dadian kao 永樂大典考. Shanghai: Commercial Press, 1937.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้