หมู่บ้านวังดิน

หมู่บ้านในตำบลวังดิน อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ประเทศไทย
หมู่บ้านวังดิน
Ban Wang Din


ป้ายทางเข้าหมู่บ้านวังดินในปัจจุบัน ถ่ายเมื่อ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
พิกัดภูมิศาสตร์:100.273164° 100.273164°[ลิงก์เสีย]

ข้อมูลทั่วไป
ตำบล วังดิน
อำเภอ เมือง
จังหวัด อุตรดิตถ์
รหัสไปรษณีย์ 53000
การปกครอง
ผู้ใหญ่บ้าน นายประสาท ติคำ
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ -
ประชากร 400

หมู่บ้านวังดิน หรือ บ้านวังดิน (ชื่อเดิม บ้านวังช้าง) เป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลวังดิน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ชาวบ้านส่วนใหญนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง มีโรงเรียน 1 แห่ง ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่

ปัจจุบันหมู่บ้านวังดิน อยู่ในระดับการปกครองพื้นที่มีหมู่เดียว จำนวนสี่ร้อยกว่าหลังคาเรีอน ปัจจุบันมีนายประสาท ติคำ เป็นผู้ใหญ่บ้านวังดิน หมู่ 1[1]

ประวัติ แก้

ความเป็นมาชื่อหมู่บ้าน แก้

 
วัดวังดิน วัดประจำหมู่บ้านวังดินในปัจจุบัน

ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พื้นที่ตำบลวังดิน เป็นป่าที่สมบูรณ์มีสัตว์จำพวก ช้างป่าควายป่า เสือหมี หมูป่า และสัตว์ป่า อื่นๆ เมื่อครั้งเกิดศึกทัพเมืองเวียงจันทร์ ในลาวหนีทัพอพยพเข้ามาทาง บ่อเบี้ย น้ำปาด ฟากท่า ร่นมาตั้งมั่น อยู่บ้านด่าน ปากฝาง แล้วขยับขยายกันมา ทำกินที่บ้านวังดิน มีแหล่งน้ำสมบูรณ์ บางส่วนย้ายสู่น้ำหมัน วังหัวดอย น้ำรี ในเขตอำเภอท่าปลาในปัจจุบัน

สภาพหมู่บ้านในอดีตยุคร่วมสมัย ประชากรส่วนใหญ่บ้านวังดินเป็นคนไทยภาคเหนือพูดภาษา "คำเมือง" (ภาษาภาคเหนือ) เล่าสืบว่ามีเพียงไม่กี่หลังคาเรือน อยู่ห่างกันเงียบสงบ สมัยก่อนยุคไฟฟ้าเข้าสู่ชุมชน จะใช้ตะเกียง น้ำมันก๊าซ ในอดีตจะมีกิจกรรมเฉพาะงานวัด รำวง ลิเก มวย เป็นต้น เวลาป่วยไข้ ไม่สบาย จะมีหมอประจำหมู่บ้านยุคร่วมสมัยคือหมอเปลี่ยน มีโต รักษากันด้วยสมุนไพร ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น

ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อ จากชื่อเดิม เรียกว่า บ้านวังช้าง เพราะช้างป่าลงมาหากินน้ำที่ลำห้วย ต่อมาวังน้ำที่ช้างป่า ลงมานั้น มีดิน และโคลนมาก ชาวบ้าน จึงเรียกว่า วังดิน (บ้านวังดิน) สืบมาจนปัจจุบัน

จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ปี 2559 ฝนตกหนัก 3 วัน 2 คืน น้ำป่าไหลหลาก จากเขา ท่วมบ้าน น้ำรี วังหัวดอย น้ำหมัน ลงมาถึงบ้านวังดิน เป็นพื้นที่ต่ำ กินพื้นที่ บริเวณ กว้าง เกิดความเสียหายอย่างหนัก ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญที่เคยเกิดขึ้นในหมู่บ้านวังดิน[1]

สภาพด้านสังคม แก้

 
ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำไม้กวาดพื้นบ้านของชุมชนวังดินในปัจจุบัน

บ้านน้ำริดใต้ มีการบริการขั้นพื้นฐาน มีถนนสายบ้านด่านวังดิน-น้ำหมัน ตัดผ่านชุมชนการเดินสะดวกและอยู่ห่างจากอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ระยะทาง 28 กิโลเมตร บ้านวังดินหมู่ 1 จำนวนครัวเรือน 143 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งสิ้น 400 คน เป็นชาย 180 คน เป็นหญิง 220 คน ผู้สูงอายุ 64 คน เป็นชาย 28 หญิง 36 คน คนพิการรวมทั้งสิ้น 17 คน แยกเป็นชาย 9 คนหญิง 8 คน [1]

สภาพภูมิศาสตร์ แก้

 
บ้านเรือนเก่าแก่ในพื้นที่ตำบลวังดินในปัจจุบัน

หมู่บ้านวังดิน มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียงดังนี้[1]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลน้ำหมัน
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบ้านด่าน
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านนาต้นโพธิ์
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลขุนฝาง

เศรษฐกิจ แก้

บ้านวังดิน พื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตร ทำนา เป็นหลักรองลงมาข้าวโพด ไม้สักทำการเกษตรส่วนใหญ่ ต้องอาศัยน้ำฝน เป็นหลัก นอกจากนี้ต้องอาศัย ห้วยสว่างใจ ที่เก็บน้ำประจำตำบลที่อยู่บ้านวังข่าส่งน้ำมาเพื่อใช้ในการอุปโภค ส่วนน้ำที่ใช้บริโภคต้องซื้อ จากหมู่บ้านใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ บ้านวังดินหมู่ 1 ยังมีภูมิปัญญาใช้ในเชิงเศรษฐกิจชุมชน คือทำไม้กวาด คือภูมิปํญญา ท้องถิ่น เพราะมีสวนต้นกงสาธิต ที่ใช้ถักไม้กวาดอีกด้วย[1]

วัฒนธรรมประเพณี แก้

ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเถรวาท ประเพณีต่างๆ ยึดถือปฏิบัติเหมือนกันกับชาวพุทธเถรวาทในแถบใกล้เคียง เช่น บวชพระ ประเพณีแต่งงาน งานศพ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีวันลอยกระทง ประเพณีก่อข้าวเปลือก ฯลฯ[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 พระณัฐพล ขนฺติพโล และพระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี. (2559). โครงการบันทึกข้อมูลท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย จังหวัดอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์ : หน่วยวิทยบริการวัดหมอนไม้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

17°44′52″N 100°16′23″E / 17.747914°N 100.273164°E / 17.747914; 100.273164