สะเต๊ะ
สะเต๊ะ (มลายู: sate; อินโดนีเซีย: sate, satai) เป็นอาหารอย่างหนึ่งซึ่งทำจากเนื้อที่หั่นบาง ๆ หรือหั่นเป็นก้อน อาจจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ เนื้อปลา ฯลฯ เสียบด้วยไม้เสียบที่ทำจากไม้ไผ่ แล้วนำไปย่างบนเตาฟืนหรือเตาถ่าน เสิร์ฟพร้อมเครื่องปรุงรสที่มีรสจัด (ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละตำรับ) เชื่อกันว่าสะเต๊กรูปแบบแรกมีที่มาจากอาหารชวา[2][3][9][10][11] แล้วเผยแพร่ไปทั่วอินโดนีเซีย จนกลายเป็นอาหารประจำชาติ[1][12][13][14] สะเต๊ะมีจุดกำเนิดมาจากเกาะชวาหรือเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย แต่ก็ยังได้รับความนิยมในประเทศอื่น ๆ ด้วย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเทศไทย หรือแม้แต่เนเธอร์แลนด์ซึ่งรับเอาวัฒนธรรมไปกับอาณานิคมของตน
ซาเตโปโนโรโก จากเมืองหนึ่งในจังหวัดชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย | |
ชื่ออื่น | ซาเต, ซาไต, ซัตตี |
---|---|
มื้อ | อ็องเทรหรืออาหารหลัก |
แหล่งกำเนิด | ประเทศอินโดนีเซีย[1][2][3] |
ภูมิภาค | เกาะชวา[2] |
ชาติที่มีอาหารประจำชาติที่เกี่ยวข้อง | อินโดนีเซีย[1] มาเลเซีย[4][5][6][7] สิงคโปร์[8] |
อุณหภูมิเสิร์ฟ | ร้อน |
ส่วนผสมหลัก | เนื้อสัตว์หมักกับเครื่องเทศ แต่งสีเหลือง เสียบไม้ย่างให้สุก กินกับน้ำจิ้มและน้ำอาจาด |
รูปแบบอื่น | หลายแบบทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
คำว่า "สะเต๊ะ" เชื่อว่ามีที่มาจากประเทศจีนในอดีต โดยมาจากภาษาหมิ่นใต้คำว่า "แซบัก" (จีน: 三疊肉; พินอิน: sae bak) หมายถึง "เนื้อสามชิ้น"[15] อย่างไรก็ตามนักวิชาการร่วมสมัยกล่าวว่าคำว่า "สะเต๊ะ" ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาอินโดนีเซีย: "ซาเต" (sate) และภาษามลายู: "ซาเต" (sate) หรือ "ซาไต" (satai) ทั้งสองอย่างอาจจะมีที่มาจากภาษาทมิฬ[16]
สะเต๊ะของอินโดนีเซียอาจได้รับอิทธิพลจากกะบาบที่เป็นอาหารพื้นเมืองของอินเดียภาคเหนือ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากชาวเติร์กอีกต่อหนึ่ง ตำรับดั้งเดิมของชาวตุรกีเป็นเนื้อแพะหั่นเป็นชิ้นหมักแล้วเสียบเหล็กแหลมย่างไฟ ชาวเปอร์เซีย, ชาวอาหรับและชาวอินเดียรับมาดัดแปลง อาจใช้เนื้อบดหรือเนื้อทั้งชิ้น จะเสียบหรือไม่เสียบไม้ก็ได้ เมื่อแพร่หลายมาถึงมลายู-ชวาจึงกลายเป็นสะเต๊ะอย่างที่เห็นในปัจจุบัน[17] โดยร้านขายหมูสะเต๊ะร้านแรกในประเทศไทย คือ ร้านจึงอังลัก ย่านเยาวราช ข้างโรงภาพยนตร์เฉลิมบุรี[18] ปัจจุบันได้ย้ายร้านไปที่ย่านถนนพระรามที่ 4 เขตปทุมวัน
ส่วนสะเต๊ะเข้าสู่ราชสำนักไทยช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดามีรับสั่งไปยังเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชให้หาคนทำอาหารเก่ง ๆ มาทำอาหารอย่างชวาสักสองสามอย่าง จึงส่งคนมุสลิมมาสอน โดยมีหม่อมเจ้าแย้มเยื้อน สิงหราเป็นผู้เรียนและผู้ปรุง[19] เบื้องต้นได้ทำสะเต๊ะโดยใช้เนื้อวัวเป็นเนื้อติดมันอย่างดี หากใช้เนื้อหมูจะต้องเลือกแบบที่ไม่มีพังผืด โดยนิจ เหลี่ยมอุไร ธิดาบุญธรรมของหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ กล่าวไว้ความว่า "เวลาทำก็ยากนะคะ ต้องเลือกเอาแต่หมูดี ๆ ไม่มีพังผืด เนื้อต้องเนื้อติดมันที่มันยอดเยี่ยมอย่างแพงเลย เอามาแล่ มาหั่นบาง ๆ ตามขวางของเส้นหมู แล้วหมักไว้ หมักเคล้าเครื่องเคล้าอะไร หมักไว้ 3 ชั่วโมงถึงเสียบ นิ่มแล้วจึงเสียบ ถึงทานอร่อย"[20] และด้วยรสชาติที่เป็นเลิศ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏจึงประทานชื่อว่า สะเต๊ะลือ[21]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Sara Schonhardt (25 February 2016). "40 Indonesian foods we can't live without". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2017. สืบค้นเมื่อ 13 April 2017.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Bruce Kraig; Colleen Taylor Sen Ph.D. (9 September 2013). Street Food around the World: An Encyclopedia of Food and Culture: An Encyclopedia of Food and Culture. ABC-CLIO. p. 183. ISBN 978-1-59884-955-4.
- ↑ 3.0 3.1 O'Neill, Molly (2000-07-02). "Food; The Stick Shift". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-04-13.
- ↑ Michael Specter (December 2, 1984). "IN MALAYSIA, SPICY SATAY". New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 August 2020.
- ↑ Shalini Ravindran (June 28, 2018). "Five places for great satay". The Star. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2020. สืบค้นเมื่อ 27 August 2020.
- ↑ Erickson, Joan (1982). Southeast Asia Sunset travel guides. Lane Publishing Company. p. 78. ISBN 978-037-606-764-7.
- ↑ Eliot, Joshua (1994). Indonesia, Malaysia & Singapore Handbook. New York: Trade & Travel Publications. p. 352.
- ↑ Rachel Bartholomeusz (June 28, 2018). "So much more to satay than peanut sauce". SBS. สืบค้นเมื่อ 12 February 2021.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Consumers love succulent Satay, Peanut ingredients for global success" (PDF). USA Peanuts. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 May 2014. สืบค้นเมื่อ 2 May 2014.
- ↑ Felicity Cloake (30 January 2014). "How to cook the perfect chicken satay". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 7 July 2014.
- ↑ "Satay Washington DC". satay.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2019. สืบค้นเมื่อ 6 July 2014.
- ↑ Media, Kompas Cyber. "Kemenpar Tetapkan 5 Makanan Nasional Indonesia, Ini Daftarnya". KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2018. สืบค้นเมื่อ 18 April 2018.
- ↑ Owen, Sri (1999). Indonesian Regional Food and Cookery. ISBN 9780711212732. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2013. สืบค้นเมื่อ 7 July 2010.
- ↑ Sara Schonhardt and Melanie Wood (15 August 2011). "40 of Indonesia's best dishes". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2018. สืบค้นเมื่อ 6 July 2014.
- ↑ Willis, Alfred Charles (1934). Willis's Singapore Guide. Singapore : Advertising and Publicity Bureau Ltd. p. 149.
- ↑ Satay, The Free Dictionary
- ↑ อาหารมุสลิม. กทม. แสงแดด. 2547 หน้า 13
- ↑ หน้า 24, แวะชิม...หมูสะเต๊ะเจ้าเก่าเฉลิมบุรีที่สืบทอดมาเกือบ 100 ปี ที่ร้าน 'จึงอักลัก' . "แม่ลิ้นจี่พาชิม". บ้านเมือง: วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
- ↑ เนื่อง นิลรัตน์ ม.ล.. ตำรากับข้าวในวัง ของหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์. กรุงเทพฯ : บัวสรวง, 2549, หน้า 15
- ↑ เนื่อง นิลรัตน์ ม.ล.. ตำรากับข้าวในวัง ของหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์. กรุงเทพฯ : บัวสรวง, 2549, หน้า 16
- ↑ เนื่อง นิลรัตน์ ม.ล.. ตำรากับข้าวในวัง ของหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์. กรุงเทพฯ : บัวสรวง, 2549, หน้า 14
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Recording of an Indonesian sate seller in Jakarta
- Indonesian chicken satay recipe
- Indonesian pork satay recipe
- Surabaya coconut beef satay recipe
- Balinese chicken satay recipe
- Malaysian chicken satay recipe
- Singapore chicken satay recipe เก็บถาวร 2015-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Zamboanga: Satti in the city and more
- Travel Gastronomy: Satti Ala Zambo
- Thai chicken satay recipe เก็บถาวร 2015-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน