หนึ่งใจ..เดียวกัน

(เปลี่ยนทางจาก หนึ่งใจเดียวกัน)

หนึ่งใจ..เดียวกัน (อังกฤษ: Where The Miracle Happens) เป็นภาพยนตร์ไทยในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี กำกับโดย สิริปปกรณ์ วงศ์จริยวัตร นำแสดงโดย ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ, ศุกลวัฒน์ คณารศ, ศิรพันธ์ วัฒนจินดา, นิศารัตน์ อภิรดี, ซีแนม สุนทร, รอง เค้ามูลคดี, สมชาย ศักดิกุล และ วิทยา เจตะภัย (ถนอม สามโทน) เป็นภาพยนตร์แนวดราม่า สร้างสรรค์สังคม จากบทพระนิพนธ์ เรื่องสั้นที่...ฉันคิด ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มีเนื้อหากล่าวถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่ค้นหาความสุขที่แท้จริงของชีวิต โดยเริ่มต้นที่ เพียงหลวง โรงเรียนเล็ก ๆ ที่รายล้อมด้วยธรรมชาติ

หนึ่งใจ..เดียวกัน
ใบปิดภาพยนตร์ เรื่อง หนึ่งใจ... เดียวกัน
กำกับสิริปปกรณ์ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
เขียนบททูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
นักแสดงนำทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
ศุกลวัฒน์ คณารศ
ศิรพันธ์ วัฒนจินดา
นิศารัตน์ อภิรดี
ซีแนม สุนทร
รอง เค้ามูลคดี
สมชาย ศักดิกุล
วิทยา เจตะภัย
ผู้จัดจำหน่ายไทยนครฟิล์ม (ชื่อเดิม ไทยฟิล์มพิคเจอร์ส) โอเรียนทัล อายส์
วันฉาย19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
(ดูประวัติการเข้าฉาย)
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ทำเงิน50 ล้านบาท
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย
ข้อมูลจากสยามโซน

หนึ่งใจ..เดียวกัน ได้แถลงข่าวภาพยนตร์เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ที่โรงละครอักษรา คิง พาวเวอร์ คอมเพล็กซ์ รายได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้จะนำไปสมทบทุนโครงการ มิราเคิลออฟไลฟ์ เป็นโครงการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาและขาดโอกาสทางสังคม[1] สืบเนื่องจากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงตระหนักถึงปัญหาการด้อยโอกาสทางการศึกษาของเด็กไทย นอกจากการประชาสัมพันธ์ภายในประเทศแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ ยังได้มีการประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศ อาทิ ที่เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 และเข้าฉายที่กรุงปารีส ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 อีกด้วย[2]

เรื่องย่อ

แก้

พิมพ์ดาว สาวนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง เธอคิดแต่เพียงว่า ความสำเร็จที่สมบูรณ์ประกอบด้วยเงินทองและความมั่งคั่งในชื่อเสียง แต่เมื่อเธอได้สูญเสียลูกสาวไปจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เปรียบเสมือนหนึ่งเธอสูญเสียทุกอย่างในชีวิต เหตุการณ์จึงเริ่มต้นขึ้นที่เพียงหลวง โรงเรียนเล็ก ๆ ที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ที่รายล้อมไปด้วยชาวบ้านและผู้คนหลากหลายความคิด ณ ที่แห่งนี้ทำให้เธอรู้จักการให้ การแบ่งปัน และใจที่เป็นสุข ความสุขของเธอไม่ได้อยู่ท่ามกลางตึกสูงใจกลางเมืองอีกแล้ว แต่กลับอยู่ที่ท้องนาสีเขียวบนดอย และน้ำใจของชาวบ้านที่หลอมรวมเป็นหนึ่ง

ตัวละคร

แก้
  • พิมพ์ดาว แสดงโดย ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี: พิมพ์ดาวเป็นหญิงสาวในสังคมเมือง ที่มีอดีตอันเจ็บปวดจากการเสียลูกสาวในอุบัติเหตุรถยนต์ เธอได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจโดยใช้หัวใจของลูกสาวมาสวมแทน ทั้งที่เธอกับลูกสาวไม่ค่อยเข้าใจกัน จากนั้นเธอจึงมุ่งหน้าสู่ชนบทเพื่อนำเงินไปพัฒนาโรงเรียนในเขตยากจน เป็นการไถ่โทษและแก้ตัวในสิ่งที่เธอเคยทำผิดพลาด แต่ที่นี่เธอพบกับธรรมชาติอันเงียบสงบ และดวงตาไร้เดียงสาของเด็ก ๆ[3]
  • หมอพบธรรม แสดงโดย ศุกลวัฒน์ คณารส (เวียร์) : หมอพบธรรมเป็นหมอที่ใจเย็น สุขุม รักเด็ก ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เดินทางมาเป็นหมอที่ชนบท ที่หมู่บ้านเพียงหลวง เพื่อมารักษาเด็ก ๆ และเป็นเหมือนผู้นำคอยให้ความรู้ของหมู่บ้าน [3]
  • นิล แสดงโดย ศิรพันธ์ วัฒนจินดา (นุ่น) : นิลเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยที่เติบโตมาด้วยการมีชีวิตที่ยากลำบาก จึงทำให้มีนิสัยแข็ง ๆ ห้าว ๆ และลุย กล้าเผชิญหน้ากับปัญหา ชอบช่วยเหลือคน จะแสดงออกด้วยการกระทำมากกว่าคำพูด และเป็นคนยึดมั่นในอุดมการณ์ ไม่ชอบคนรวยที่ทำประโยชน์เพื่อเป็นการบังหน้า[3]
  • แพท แสดงโดย นิศารัตน์ อภิรดี (ฟาง) : แพทเป็นนักศึกษาปี 3 แสนเรียบร้อย มีโลกส่วนตัวสูง รักแม่มาก แต่ไม่ค่อยได้ใกล้ชิดกันเท่าไหร่ เพราะคุณแม่เป็นนักธุรกิจใหญ่โต ที่ประสบความสำเร็จมาก จึงไม่ค่อยมีเวลาให้ ชอบเก็บความรู้สึกไว้ภายในไม่แสดงออก จะถ่ายทอดทุกอย่างผ่านตัวอักษรลงไดอารี่ของเธอเท่านั้น[3]
  • เบญญา แสดงโดย ซีแนม สุนทร: เบญญาเป็นเลขานุการส่วนตัวของ พิมพ์ดาว เป็นเลขาที่กระตือรือร้นมาก ทำงานเก่ง เป็นมือขวาให้เจ้านาย คอยติดต่องานต่าง ๆ มีความสามารถด้านเทคโนโลยี และติดมือถือเป็นชีวิตจิตใจ[3]

งานสร้างภาพยนตร์

แก้

หนึ่งใจ..เดียวกัน เป็นบทพระนิพนธ์ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ จากหนังสือ เรื่องสั้น...ที่ฉันคิด ซึ่งทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ได้รับแนวคิดจากการดำเนินงานในโครงการ ทูบีนัมเบอร์วัน และ มูลนิธิคุณพุ่ม เจนเซ่น[4]

ฉากถ่ายทำ ทีมงานได้สร้างอำเภอขึ้นมาใหม่ที่ชื่อว่า "เพียงหลวง" โดยได้จัดสร้างโรงเรียน ทุ่งนาสีเขียวที่ลงมือปลูกข้าวเองจริง ๆ ทั้งดำนา ปักต้นกล้า จนข้าวออกรวง[5]

การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าชม

แก้

เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการพิจารณาเห็นว่าภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวได้สะท้อนปัญหาสังคม รวมทั้งปณิธานที่แน่วแน่ที่จะแก้ไขปัญหาทางการศึกษาของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีที่มีต่อเด็กด้อยโอกาส จึงได้แจ้งต่อองค์กรหลักในสังกัดกระทรวงเพื่อให้การสนับสนุนภาพยนตร์เรื่องนี้ จากนั้นทั้งคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเขตพื้นที่ต่าง ๆ ก็ได้แจ้งหนังสือไปยังผู้บริหารมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อเชิญชวนให้นำคณะนักเรียนนักศึกษาไปชมภาพยนตร์หนึ่งใจเดียวกันแบบเหมารอบในราคาพิเศษ[6]

รายได้หลังเข้าฉาย

แก้

เริ่มแรกภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการตอบรับที่ไม่ดีนัก ในสัปดาห์ที่เข้าฉายทำรายได้ไปเพียงแค่ 9.8 ล้านบาท ทั้งที่มีการประชาสัมพันธ์ไปในสื่อหลายแขนง แต่ภายหลังภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้รวมมากถึง 50 ล้านบาท[7]

ประวัติการเข้าฉาย

แก้
เขต/ภูมิภาค ปฐมทัศน์ วันที่เข้าฉาย
ฝรั่งเศส 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ไทย 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

อ้างอิง

แก้
  1. "MOVIES หนึ่งใจ..เดียวกัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-30. สืบค้นเมื่อ 2008-08-01.
  2. ทูลกระหม่อมฯ เสด็จเมืองคานส์ ต่างชาติชื่นชม 'หนึ่งใจ...เดียวกัน'[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 ดูหนัง หนึ่งใจ... เดียวกัน
  4. หนึ่งใจ..เดียวกัน, หนังสือพิมพ์มติชน, 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
  5. "หนึ่งในใจเดียว ณ ที่ซึ่งปาฏิหาริย์บังเกิด". นิตยสารสตาร์พิกส์ ฉบับที่ 731 ฉบับปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551, หน้า 56
  6. ขอรับการสนับสนุนการเหมารอบชมภาพยนตร์เรื่อง "หนึ่งใจ..เดียวกัน"[ลิงก์เสีย]
  7. มยุรี อำนวยพร, ที่สุดของหนังเด่น-หนังโดนแห่งปี เก็บถาวร 2008-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน dailynews.co.th

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้