ทูบีนัมเบอร์วัน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โครงการทูบีนัมเบอร์วัน (อังกฤษ: TO BE NUMBER ONE) คือโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ใน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงเป็นองค์ประธานอำนวยการโครงการรณรงค์ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด
ทูบีนัมเบอร์วัน TO BE NUMBER ONE | |
---|---|
พันธกิจ |
|
คำขวัญ | เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด |
เชิงพาณิชย์ | ไม่ใช่ |
ชนิดของโครงการ | โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด |
ทำเลที่ตั้ง | ทั่วประเทศ |
ผู้ก่อตั้ง | ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี |
ประเทศ | ประเทศไทย |
บุคคลสำคัญ | ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี |
ก่อตั้งเมื่อ | 15 กรกฎาคม 2545 |
สถานะ | ยังดำเนินโครงการ |
เว็บไซต์ | tobefriend |
ที่มา
แก้"ยาเสพติด" ปัญหาสำคัญระดับชาติที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะปัญหายาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของ ประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการเมืองและความมั่นคงของประเทศ
ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา สภาพปัญหายาเสพติดเปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นอยู่ในอดีตอย่างสิ้นเชิง จากเดิมที่ "เฮโรอีน" เป็นปัญหาสำคัญที่ตำรวจต้องเร่งปราบปรามให้สิ้นซาก กลายเป็น "ยาบ้า หรือสารเมทแอมเฟตามีน ที่กำลังระบาดตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคม และประเทศ จากข้อมูลการสำรวจพบว่ามีเยาวชนจำนวนกว่า 6 แสนคนหลงเข้าสู่วังวนของ ยาบ้า และจากสถิตินักโทษเด็ดขาด ของกรมราชทัณฑ์ที่ถูกจำคุกอยู่ตาม ทัณฑสถานทั่วประเทศ สำรวจ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 137,344 คน ในจำนวนนี้เป็นนักโทษคดียาเสพติดเกินกว่าครึ่ง คือประมาณ 87,966 คน คิดเป็นร้อยละ 64.05 และในจำนวนนักโทษเด็ดขาด คดียาเสพติดเหล่านี้มีจำนวนมากถึง 27,499 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 31.26 ของนักโทษคดียาเสพติดที่ต้องโทษในคดีเสพหรือครอบครองและทั้งเสพและครอบครอง
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงมีความห่วงใยต่อประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน อายุระหว่าง 6-25 ปี จำนวน 21 ล้านคน ซึ่งถือเป็นกลุ่ม เสี่ยงสูง จึงทรงรับเป็นองค์ประธานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อให้การรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในประเทศดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ โดยความร่วมมือ และรวมพลังจากภาครัฐและเอกชน กระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของปวงชนในชาติให้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักว่าการที่จะเอาชนะปัญหายาเสพติดมิใช่หน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่ทุกคนในชาติจะร่วมแรงร่วมใจกันเป็นพลังของแผ่นดินที่จะต่อสู้และเอาชนะปัญหา ยาเสพติดให้ได้โดยเร็ว
คำขวัญโครงการ
แก้เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด
การดำเนินการ
แก้- การรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและสร้างกระแสนิยมที่เอื้อต่อการ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
- การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชนในชุมชน
- การพัฒนาทักษะชีวิตและเครือข่ายการป้องกันและช่วยเหลือ
สัญลักษณ์โอกาสครบรอบ
แก้ภาพสัญลักษณ์ | ในโอกาส | ปี | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
เฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปี | พ.ศ. 2555 | ||
เฉลิมฉลองครบรอบ 12 ปี | พ.ศ. 2557 | ||
เฉลิมฉลองครบรอบ 15 ปี | พ.ศ. 2560 |
เพลง
แก้"ทูบีนัมเบอร์วัน" | |
---|---|
เพลงโดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี | |
ด้านเอ | "ทูบีนัมเบอร์วัน (ต้นฉบับ) " |
ด้านบี | "ทูบีนัมเบอร์วัน (รีมิกซ์) " |
วางจำหน่าย | พ.ศ. 2545 (ต้นฉบับ) พ.ศ. 2547 (รีมิกซ์) |
แนวเพลง | ป๊อป |
ทูบีนัมเบอร์วันซึ่งเป็นเพลงประจำโครงการทูบีนัมเบอร์วัน ทรงขับโดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และซึ่งเป็นเพลงแรกประจำโครงการและได้มีเพลงใหม่ออกมาซึ่งก็คือเพลง เก่งและดี TO BE NUMBER ONE ทรงขับร้องโดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ซึ่งเป็นเพลงหลักของโครงการอีกเพลงหนึ่ง
เพลงประจำโครงการในปัจจุบันประกอบด้วย
- เพลง TO BE NUMBER ONE
- เพลงไม่มีอะไรไกลเกินฝัน
- เพลงเก่งและดี TO BE NUMBER ONE
- เพลงเป็นหนึ่งไม่พึ่งยา
- เพลงรักเมื่อพร้อม
นิตยสาร
แก้โครงการย่อย
แก้ใครติดยายกมือขึ้น
แก้โครงการใครติดยายกมือขึ้น ซึ่งจัดขึ้นเพื่อให้บริการรับเข้าบำบัดรักษาในสถานบริการ, โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งทั่วประเทศ เป็นบริการสำหรับสมาชิกชมรมทูบีนัมเบอร์วันที่เสพหรือติดยา และมีความประสงค์จะรักษาตัวเพื่อให้หายและเลิกเสพอย่างถาวร
ศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE
แก้ศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE เป็นกิจกรรมหนึ่งของชมรม TO BE NUMBER ONE ที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เน้นการช่วยเหลือดูแลสมาชิกและพัฒนาสมาชิกให้มีคุณภาพและมีความสุข การดำเนินงานภายใต้แนวคิด “ปรับทุกข์ สร้างสุข แก้ปัญหา พัฒนา EQ” ทั้งจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม อาศัยกระบวนการกลุ่มให้เกิดความสนุก พร้อมกับการพัฒนาทักษะต่างๆ อาทิ การควบคุมอารมณ์ และความต้องการของตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม (ดี)มีความสามารถ ในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหา แสดงออกได้อย่างเหมาะสม และมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น (เก่ง) มีความภาคภูมิใจในตนเอง พอใจในชีวิต มีความสงบสุขทางใจ และสามารถดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข (สุข) รวมทั้งจัดบริการเพื่อให้โอกาสสำหรับการแสดงออกถึงพลังสร้างสรรค์ที่มีอยู่ ของวัยรุ่นในสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิต และป้องกันแก้ไขปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่นเชิงรุกในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาวัยรุ่นได้ง่าย
-
สัญลักษณ์ศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE
ทีนแดนเซอซายไทยแลนด์แชมเปียนชิพ
แก้การแข่งขันทีนแดนเซอร์ซายไทยแลนด์แชมเปียนชิพ จัดขึ้นเพื่อแสดงความสามารถทางด้านการออกกำลังกายหรือเต้นที่แสดงถึงความสร้างสรรค์ของเยาวชน
เยาวชนต้นแบบเก่งและดี
แก้โครงการเยาวชนต้นแบบเก่งและดี TO BE NUMBER ONE IDOL จัดขึ้นเพื่อให้สมาชิกที่ความสามารถในด้านการเต้นและการร้องเพลงได้แสดงออกในทางสร้างสรรค์และเป็นแบบอย่างให้กับสมาชิกทั่วประเทศ
-
สัญลักษณ์การประกวดเยาวชนต้นแบบเก่งและดี TO BE NUMBER ONE IDOL
ข้อวิจารณ์
แก้การวิจารณ์บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
แก้เวทีทูบีนัมเบอร์วันไอดอลรุ่นที่ 15 ประจำจังหวัดพิษณุโลก ได้เกิดกระแสดราม่าขึ้นเมื่อหนึ่งในกรรมการที่ตัดสินได้กล่าวถึงผู้เข้าแข่งขันรายหนึ่งที่มีความหลากหลายทางเพศว่า "เวทีนี้ไม่เปิดรับขนาดนั้น ผู้ชายคือผู้ชาย ผู้หญิงคือผู้หญิง" ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กรรมการรายนี้ในโลกโซเชียลจำนวนมาก[1] รวมถึงแพรี่ ไพรวัลย์ วรรณบุตร อดีตพระนักเทศน์ชื่อดัง ที่ได้นำพระโอวาทของทูลกระหม่อมหญิงที่ทรงประทานในรายการทูบีนัมเบอร์วันวาไรตี้มารีโพสต์[2] ต่อมา ได้มีผู้เข้าไปคอมเมนต์ทูลฟ้องทูลกระหม่อมหญิงถึงในอินสตาแกรมส่วนพระองค์ถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ซึ่งพระองค์ได้เข้ามาตอบคอมเม้นต์นี้ว่า "เราไม่เคยปิดกั้น LGBTQ+ เราสนับสนุนทุกคน"[3] ก่อนที่ในเวลาต่อมา กรรมการหญิงคนดังกล่าวจะได้เดินทางไปหาผู้เข้าแข่งขันและอาจารย์พร้อมกระเช้าผลไม้ขอโทษกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยได้กล่าวยอมรับว่าตัวเองพูดจาไม่เหมาะสม[4]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "ถกสนั่น เวทีประกวดไอดอลชื่อดัง ไม่เปิดรับ "เพศที่สาม" ชาวเน็ตสวด ไม่น่ามาเป็นกรรมการ". Thaiger. 7 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2024.
- ↑ "แชร์โอวาท"ทูลกระหม่อมฯ" เกิดอะไรขึ้น "แพรรี่" ไม่ทนโพสต์ลงโซเชียล". คมชัดลึก. 8 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2024.
- ↑ "ทูลกระหม่อม ย้ำ "ทูบีนัมเบอร์วัน" ไม่ปิดกั้น LGBTQ กรรมการสาวขอโทษปมเหยียดเพศผู้เข้าแข่งขัน". sanook.com. 8 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2024.
- ↑ "หิ้วกระเช้าขอโทษ! ปมพูดเหยียด LGBTQ เวทีประกวดไอดอล รับพูดจาไม่เหมาะสม". เดลินิวส์. 8 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2024.