สุสานใต้ดินกาปูชิน

(เปลี่ยนทางจาก สุสานใต้ดินคาพูชิน)

สุสานใต้ดินกาปูชิน (อิตาลี: Catacombe dei Cappuccini, อังกฤษ: Capuchin catacombs of Palermo หรือ Catacombs of the Capuchins) เป็นที่เก็บศพแห้งแบบมัมมี่ภายใน “สุสานใต้ดิน” ที่เมืองปาแลร์โมในซิซิลีทางตอนใต้ของประเทศอิตาลี ในปัจจุบันเป็นสถานที่ดึงดูดท่องเที่ยวแนวสยองขวัญ (macabre) และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แนวแปลก

มัมมีของโรซาเลีย ลอมบาร์โดผู้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1920

เมื่ออารามของคณะภราดาน้อยกาปูชินแห่งปาแลร์โมขยายตัวเลยจากสุสานเดิมในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ไฟรอาร์ในอารามก็ทำการขุดห้องเก็บศพใต้อาราม ในปี ค.ศ. 1599 ท่านก็ได้ทำศพภราดาซิลเวสเตอร์แห่งจุบบีโอที่เพิ่งเสียชีวิตและวางร่างไว้ในสุสานใต้ดินที่พบ

ร่างของผู้ตายก็แห้งบนคานที่ทำด้วยเซรามิคภายในสุสานใต้ดิน ต่อมาบางครั้งก็จะมีการล้างด้วยน้ำส้มสายชู บางร่างก็จะทำการดองศพ (Embalming) หรือบางร่างก็จะใส่ตู้กระจกไว้ นักบวชที่รักษาไว้ก็จะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวมใส่ประจำวันพร้อมด้วยเชือกที่เป็นเครื่องหมายของการชดใช้บาป (penance)

เดิมสุสานใต้ดินใช้สำหรับบรรจุศพของเหล่าไฟรอาร์เท่านั้น แต่ในคริสต์ศตวรรษต่อ ๆ มาการมีศพไว้ในสุสานใต้ดินของนักบวชกาปูชินชินก็ถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะ ผู้มีฐานะดีก็จะทิ้งพินัยกรรมไว้ให้รักษาร่างของตนไว้ในเครื่องแต่งกายที่ระบุไว้ หรือบางครั้งก็ถึงกับสั่งว่าให้เปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นระยะ ๆ นักบวชที่ฝังก็จะแต่งกายอย่างนักบวช ส่วนฆราวาสก็จะแต่งตัวตามสมัย ญาติพี่น้องผู้มาสวดมนต์ให้แก่ผู้ตายก็จะมีหน้าที่ดูแลรักษาสภาพของศพให้ดูดีด้วย ค่าบำรุงรักษาสุสานใต้ดินมาจากเงินอุทิศของญาติพี่น้องผู้ที่มีร่างอยู่ในสุสาน

ร่างใหม่แต่ละร่างก็จะถูกนำไปไว้ชั่วคราวในช่องก่อนที่จะย้ายไปยังที่ตั้งที่ถาวร ถ้าญาติพี่น้องยังคงบริจาคเงินสำหรับดูแลรักษาร่างของผู้ตายก็จะยังคงตั้งไว้ แต่ถ้าเลิกบริจาคร่างก็จะถูกย้ายไปไว้บนชั้นจนกว่าญาติพี่น้องจะกลับมาบริจาค

คนที่มีชื่อเสียง แก้

  • มาร์ควิส Vincenzo Natoli หัวหน้าผู้พิพากษาของปาแลร์โมและประธานของ Royal Heritage แพ่งและทางอาญา
  • Artale Natoli, หัวหน้าผู้พิพากษาของศาลแพ่งโตปาแลร์โม

การบรรจุและการรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย แก้

ไฟรอาร์องค์สุดท้ายที่ได้รับการบรรจุในสุสานใต้ดินคือภราดาริกการ์โดในปี ค.ศ. 1871 แต่หลังจากนั้นก็ยังคงมีการบรรจุร่างของฆราวาสที่สำคัญ ๆ กันอยู่ สุสานมาปิดอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1880 แต่นักท่องเที่ยวก็ยังคงเดินทางมาชม ร่างสุดท้ายที่ได้รับการบรรจุคือร่างของโรซาเลีย ลอมบาร์โดเด็กหญิงอายุสองขวบผู้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1920 ด้วยโรคปอดบวม ซึ่งยังอยู่ในสภาพที่ยังคงดีอยู่มากโดยใช้สูตรการรักษาร่างที่หายไปเป็นเวลานานก่อนที่จะมาพบอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้ วิธีการรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยทำโดยศาสตราจารย์อัลเฟรโด ซาลาเฟีย โดยการใช้สารละลายฟอร์มาลิน (formalin) เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย, แอลกอฮอล์เพื่อทำให้ร่างแห้ง, กลีเซอรินเพื่อไม่ให้ร่างแห้งจนเกินไป, กรดซาลิไซลิคเพื่อฆ่าเชื้อรา และสารที่สำคัญที่สุดคือเกลือสังกะสี (ซิงค์ซัลเฟต และ ซิงค์คลอไรด์) เพื่อทำให้ร่างมีความแข็ง (rigidity) ไม่อ่อนตัวลง[1][2] สูตรที่ใช้ประกอบด้วยกลีเซอริน 1 ส่วน, ฟอร์มาลินชุ่มด้วยซิงค์ซัลเฟต และ ซิงค์คลอไรด์ 1 ส่วน และสารละลายแอลกอฮอล์กับกรดซาลิไซลิคอีก 1 ส่วน

สุสานใต้ดินประกอบด้วยมัมมีราว 8,000 ศพที่ตั้งรายตามผนังของสุสาน ห้องเก็บศพแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ประกอบด้วย ชาย หญิง หญิงพรหมจารี เด็ก นักบวช และผู้มีอาชีพการงาน (Professional) สภาวะของศพก็แตกต่างกันออกไป บางร่างก็ยังอยู่ในสภาพดีกว่าร่างอื่น ๆ บางร่างก็ตั้งเป็นแบบวางท่าเช่นร่างของเด็กสองคนที่นั่งด้วยกันบนเก้าอี้โยก สุสานเปิดให้แก่ญาติพี่น้องของผู้ตายผู้สามารถเข้ามาสวดมนต์ร่วมกับผู้ตายด้วยกัน

ในสุสานใต้ดินก็มีร่างของบุคคลสำคัญ ๆ หลายคนที่ และอ้างกันว่าร่างของเดียโก เบลัซเกซจิตรกรชาวสเปนถูกบรรจุไว้ที่นี่ด้วย

การเข้าชม แก้

สุสานใต้ดินเปิดให้ประชาชนเข้าชมแต่ตามกฎแล้วห้ามการถ่ายภาพ ในปัจจุบันได้มีการติดตั้งกรงเหล็กเพื่อป้องกันไม่ให้นักท่องเที่ยววางท่าถ่ายภาพกับร่างของผู้ตาย

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. http://news.nationalgeographic.com/news/2009/01/090126-sicily-mummy.html
  2. Piombino-Mascali D, Aufderheide AC, Johnson-Williams M, Zink AR (March 2009). "The Salafia method rediscovered". Virchows Arch. 454 (3): 355–7. doi:10.1007/s00428-009-0738-6. PMID 19205728.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สุสานใต้ดินคาพูชิน