สุริยัน สุจริตพลวงศ์

สุริยัน สุจริตพลวงศ์ หรือ หมอหยอง (16 พฤศจิกายน 2505[1] — 7 พฤศจิกายน 2558[2]) คือ อดีตนักโหราศาสตร์และนักสังคมสงเคราะห์ชาวไทย อดีตกรรมการและที่ปรึกษาในหลายหน่วยงาน และผู้ต้องหาในคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

สุริยัน สุจริตพลวงศ์
เกิดสุริยัน อริยวงศ์โสภณ
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505
จังหวัดตรัง ประเทศไทย
เสียชีวิต7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (52 ปี)
ฑัณฑสถานโรงพยาบาล​ราชทัณฑ์กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สัญชาติ ไทย
ชื่ออื่นหมอหยอง
การศึกษามหาวิทยาลัยเซนต์มาติน
อาชีพนักโหราศาสตร์
มีชื่อเสียงจากนักโหราศาสตร์ ผู้ต้องหาในคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

ประวัติ

แก้

สุริยัน สุจริตพลวงศ์ มีสกุลเดิมว่า "อริยวงศ์โสภณ" ซึ่งสกุล "สุจริตพลวงศ์" นั้นเป็นนามสกุลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร หมายความว่าเผ่าพันธุ์ที่เจริญรุ่งเรืองด้วยพลังแห่งความสุจริต ในโอกาสวันคล้ายวันเกิดวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[1] เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2505 ที่ตำบลคลองเต็งอำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรคนที่ 9 ของครอบครัวในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 13 คน ของนายย่องอื้อและนางปราณี อริยวงศ์โสภณ บิดาประกอบอาชีพค้าขาย ส่วนมารดาช่วยบิดาทำงาน ฐานะทางบ้านค่อนข้างยากจน หมอหยองจึงต้องกัดฟันดิ้นรนต่อสู้กับชีวิต ทั้งรับหนังสือพิมพ์ไปส่ง ขายลอตเตอรี่ โดยหมอหยองนั้นเป็นคนที่ปากหวานมาก คนจึงชอบที่จะซื้อของกับหมอหยอง

การศึกษา

แก้

ประวัติการทำงาน

แก้
  • อาจารย์พิเศษ สอนวิชาโฆษณา และประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยหลายแห่ง
  • อาจารย์พิเศษ สอนวิชาจิตวิทยา และการพัฒนาตนเอง ให้ประสบความสำเร็จ
  • ผู้บริหารสถาบันพัฒนาการฝึกอบรมชีวิตและคุณภาพ โดยจัดทีมอบรมให้กับหน่วยงาน องค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาบุคลากร

ละครโทรทัศน์

แก้

ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีหมิ่นเบื้องสูง

แก้

เขาถูกจับกุมและจำคุกในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ด้วยคดีอาญามาตรา 112[3]

การเสียชีวิต

แก้

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในขณะนั้น แถลงว่าสุริยัน สุจริตพลวงศ์ ได้เสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน เวลาประมาณ 22.00 น. อันเนื่องมาจากติดเชื้อในกระแสเลือด[2]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "รู้จักหมอหยอง". หมอหยองแฟนคลับ. 9 พฤศจิกายน 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-27. สืบค้นเมื่อ 09-11-2015. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "รมว.ยธ. แถลง'หมอหยอง'เสียชีวิตแล้ว ติดเชื้อในกระแสเลือด". ไทยรัฐ. 9 พฤศจิกายน 2558. สืบค้นเมื่อ 09-11-2015. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. พลิกประวัติ "หมอหยอง" จากหมอดูชื่อดังตกเป็นผู้ต้องหาคดี112