ซีตูจอทีน

(เปลี่ยนทางจาก สีตูจอทิน)

ซีตูจอทีน (พม่า: စည်သူကျော်ထင်, ออกเสียง: [sìθù tɕɔ̀tʰɪ̀ɰ̃]) หรือ นะระปะติซีตู (နရပတိ စည်သူ, [nəɹa̰pətḭ sìθù]) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรอังวะ ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1551–1555 พระองค์ก้าวขึ้นสู่อำนาจโดยการโค่นล้มนรปติที่ 3 ใน ค.ศ. 1551 ตลอด 6 ปีในการก่อกบฏของพระองค์ (ค.ศ. 1545–1551) ได้การสนับสนุนจากเมืองโม่ญี่น

ซีตูจอทีน
นรปติที่ 4 แห่งอังวะ
စည်သူကျော်ထင်
กษัตริย์แห่งอังวะ
ครองราชย์ประมาณ ตุลาคม ค.ศ. 1551 – 22 มกราคม ค.ศ. 1555
ก่อนหน้านรปติที่ 3
ถัดไปตะโดเมงสอ (ฐานะอุปราช)
อัครมหาเสนาบดีBaya Yandathu
ประสูติพฤศจิกายน/ธันวาคม ค.ศ. 1495
วันพุธ ปี 857 ME[note 1]
สวรรคตพะโค
ชายานรปติมิบะยา
สาลินมิบะยา (สมรส คริสต์ทศวรรษ 1530–1544)
พระราชบุตรMingyi Yan Taing[1]
ราชวงศ์โม่ญี่น
ศาสนาพุทธเถรวาท

ภูมิหลัง

แก้

ภูมิหลังเกี่ยวกับกษัตริย์องค์นี้มีน้อย ตามพงศาวดาร Zatadawbon Yazawin ระบุว่าพระองค์มีเชื้อสายพม่า[note 2] แต่ Arthur Purves Phayre และจี.อี. ฮาร์วีย์ นักประวัติศาสตร์สมัยอาณานิคม กล่าวว่าพระองค์มีเชื้อสายไทใหญ่[2][3] Phayre กล่าวไปไกลถึงขั้นว่าพระองค์เป็นพระราชโอรสในซะโลนที่ 1 แห่งโม่ญี่น ผู้พิชิตอังวะ[2] แต่นักประวัติศาสตร์ทั้งสองไม่ได้ระบุอ้างอิงเพื่อสนับสนุนข้อกล่าวอ้างของตน มหาราชวงศ์และมหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว พงศาวดารพม่ามาตรฐาน ระบุเพียงว่าซีตูจอทีนเป็นพระอนุชา/เชษฐา thwethauk ของซะโลนที่ 2 แห่งโม่ญี่น[4][5] (Thwethauk หมายถึงชายผู้เข้าสู่ "สัตยาธิษฐานภราดรภาพ" โดยการดื่มเลือดของกันและกัน)[note 3]

พระชนม์ชีพที่พะโค

แก้

ที่พะโค อดีตกษัตริย์ได้รับมรดกที่ดินพร้อมข้าราชบริพารกว่าสามสิบคน[6] พระองค์ทรงตอบแทนการปฏิบัติอันดีของพระเจ้าบุเรงนอง ในเดือนมีนาคม/เมษายน ค.ศ. 1565 ขณะที่พระเจ้าบุเรงนองอยู่ที่เชียงใหม่ เกิดการกบฏที่พะโค ซีตูจอทีนถูกเรียกตัวเพื่อช่วยปราบกบฏ พระองค์ปราบกบฏไว้ได้ พระเจ้าบุเรงนองทรงพอพระทัยกับผลงานของซีตูจอทีน โดยพระราชทานเกียรติยศอีกมากมายแก่ซีตูจอทีน[7] พระองค์เป็นหนึ่งในสี่อดีตกษัตริย์ (ร่วมกับโม่-บแยนะระปะติแห่งอังวะ พระเมกุฏิสุทธิวงศ์แห่งล้านนา และสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งสยาม) ที่ได้รับเกียรติจากพระเจ้าบุเรงนองในพิธีเปิดพระราชวังกัมโพชธานีที่สร้างขึ้นใหม่ในวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1568[8]

หมายเหตุ

แก้
  1. Zatadawbon Yazawin (Zata 1960: 47) ระบุว่าพระองค์เสด็จพระราชสมภพในวันพุธ เดือนสิบ (ปยาโต) 853 ME แต่มหาราชวงศ์ (Maha Yazawin Vol. 2 2006: 129) และมหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว (Hmannan Vol. 2 2003: 159) พงศาวดารฉบับมาตรฐาน แก้ให้ถูกเป็นปี 857 ME เลข 3 (၃) และ 7 (၇) ของพม่าเขียนคล้ายกันในแบบลายมือเขียน นอกจากนี้ เนื่องจากปี 857 ME เป็นปีอธิกสุรทิน เดือนที่สิบจึงเป็นเดือนนะดอ (18 พฤศจิกายนถึง 16 ธันวาคม ค.ศ. 1495) เนื่องจากพระองค์เสด็จพระราชสมภพในวันพุธ วันพระราชสมภพของพระองค์จึงอยู่ในวันใดวันหนึ่ง คือ: 18, 25 พฤศจิกายน หรือ 2, 9, 16 ธันวาคม ค.ศ. 1495
  2. Zatadawbon Yazawin (Zata 1960: 47) specifically notes that he was an ethnic Burman (Bamar).
  3. (Harvey 1925: 178): thwethauk means "a sacramental brotherhood of some round table as it were".

อ้างอิง

แก้
  1. Hmannan Vol. 2 2003: 221
  2. 2.0 2.1 Phayre 1967: 106
  3. Harvey 1925: 109
  4. Maha Yazawin Vol. 2 2006: 123
  5. Hmannan Vol. 2 2003: 149
  6. Hmannan Vol. 2 2003: 290
  7. Phayre 1967: 112
  8. Maha Yazawin Vol. 2 2006: 298–299

บรรณานุกรม

แก้
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Kala, U (1724). Maha Yazawin (ภาษาBurmese). Vol. 1–3 (2006, 4th printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  • Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.
  • Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาBurmese). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  • Thaw Kaung, U (2010). Aspects of Myanmar History and Culture. Yangon: Gangaw Myaing.
  • Zam, Ngul Lian. Mualthum Kampau Guite Hausate Tangthu. Amazon/CreateSpace, United States. ISBN 978-1721693559