อาคาร

อาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
(เปลี่ยนทางจาก สิ่งก่อสร้าง)

อาคาร เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยมนุษย์ ในรูปของโรง เรือน ร้าน หรือรูปแบบอย่างอื่นสำหรับใช้สอย แต่ในกฎหมายควบคุมอาคารได้รวม เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ท่อ ป้ายและอื่น ๆ ไว้ในนิยามคำว่าอาคารด้วยด้วยเหตุผลในการบังคับใช้

ตัวอย่างต่าง ๆ ของอาคารตลอดประวัติศาสตร์

อาคารมักมีส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมมากกว่าหนึ่งอย่างและปกติจะตั้งอยู่บนพื้นดิน อาคารสามารถเป็นได้ตั้งแต่บ้านที่พักอาศัยที่มีโครงสร้างเรียบง่ายจนถึงตึกระฟ้า อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานที่มีโครงสร้างซับซ้อน ตลอดจนโรงซ่อมเครื่องบินที่มีช่วงเสามากกว่า 100 เมตร

อาคารขนาดใหญ่สมัยใหม่จะมีส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ทำให้อาคารใช้งานได้เรียกว่าระบบอาคารนับตั้งแต่ระบบขนส่งภายในอาคารได้แก่ บันไดเลื่อน และ ลิฟต์ ไปจนถึงระบบไฟฟ้า ประปา ระบบปรับอากาศ ระบบป้องกันอัคคีภัย และอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ปกติ อาคาร จะถูกจัดไว้ในหมวดสิ่งก่อสร้างด้วยเหตุผลด้านการบังคับใช้

ความหมายของอาคารตามกฎหมายอาคาร ในประเทศไทย

แก้

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายแม่บท ที่เกี่ยวข้องแก่งานอาคารในประเทศไทย ได้ให้คำนิยาม และวิเคราะห์ศัพท์ คำว่า อาคาร เพิ่มเติมจาก ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่ หรือเข้าใช้สอยได้ โดยให้รวมถึงสิ่งก่อสร้างต่อไปนี้ให้จัดรวมอยู่ในความหมายของอาคารด้วย

  • อัฒจันทร์
  • เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ทาง หรือท่อระบายน้ำ อู่เรือ คานเรือ ท่าน้ำ รั้ว ท่าจอดเรือ กำแพง หรือประตู
  • ป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติด หรือตั้งป้าย
  • พื้นที่ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออก ของรถ สำหรับอาคาร
  • และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ประเภทของอาคารตาม ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2522

แก้

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2522 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้แบ่งประเภทของอาคารต่าง ๆ ดังนี้

  • อาคารที่พักอาศัย
  • อาคารสาธารณะ
  • อาคารเลี้ยงสัตว์
  • อาคารชั่วคราว
  • อาคารพิเศษ หมายความถึง อาคาร ดังต่อไปนี้
    • โรงมหรสพ อัฒจันทร์ หรือ หอประชุม
    • อู่เรือ คานเรือ หรือ ท่าเรือ สำหรับเรือ ขนาดใหญ่เกิน 100 ตัน และ โป๊ะจอดเรือ
    • อาคารสูงเกิน 15 เมตร หรือ สะพานช่วงหนึ่ง ยาวเกิน 10 เมตร
  • อาคารแผงลอย

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้