สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก

สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก (Singapore Airlines Cargo หรือ SIA Cargo) เป็นสายการบินในเครือของสิงคโปร์แอร์ไลน์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 จัดว่าเป็นสายการบินขนส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามของโลก [1] เมื่อวัดจากหน่วยตันกิโลเมตร (tonne kilometres - FTK) มีเครือข่ายการบินสู่ 36 เมืองใน 18 ประเทศ ขนส่งสินค้า 8 พันล้านตันกิโลเมตรด้วยเครื่องบินขนส่งสินค้ารุ่น Boeing 747-412F จำนวน 14 ลำ [2] มีชื่อว่า MegaArk ใช้เครื่องยนต์ Pratt & Whitney รุ่น PW4056 และดำเนินการขนส่งสินค้าผ่านเครื่องบินโดยสารของสิงคโปร์แอร์ไลน์อีก 96 ลำ [3]

สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก
IATA ICAO รหัสเรียก
SQ SQC SINGCARGO
ก่อตั้งพ.ศ. 2544
ท่าหลักท่าอากาศยานจางีสิงคโปร์
ท่าอากาศยาน Sharjah (UAE)
ท่าอากาศยานบรัสเซลส์ (เบลเยียม)
พันธมิตรการบินWOW Alliance
ขนาดฝูงบิน13
จุดหมาย36
บริษัทแม่สิงคโปร์แอร์ไลน์
สำนักงานใหญ่สิงคโปร์
บุคลากรหลักGoh Choon Phong (CEO)
เว็บไซต์http://www.siacargo.com

สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โกเป็นหนึ่งในสมาชิก WOW Alliance ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรของสายการบินขนส่งสินค้า ประกอบไปด้วย Lufthansa Cargo, SAS Cargo Group และ JAL Cargo ก่อตั้งเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 นอกจากนี้สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โกยังถือหุ้น 25% ในเกรตวอลล์แอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสายการบินขนส่งสินค้ารายใหม่ มีฐานการบินอยู่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน และให้เช่าเครื่องบินขนส่งสินค้ารุ่น Boeing 747-412F จำนวน 2 ลำ ทำการบินขนส่งสินค้าจากเซี่ยงไฮ้ไปยังอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ [4]

สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โกเริ่มทำการบินเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 โดยเข้ามาดำเนินการและดูแลการขนส่งสินค้าทั้งหมดของสิงคโปร์แอร์ไลน์ในฐานะบริษัทลูก

ไม่กี่ปีต่อมาสายการบินได้ขยายเส้นทางการบินใหม่ๆ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการเปิดเสรีทางการบิน โดยได้เริ่มให้บริการครอบคลุมทั่วโลกเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เส้นทาง สิงคโปร์ – ฮ่องกง – ดัลลัส – ชิคาโก้ – บรัสเซลส์ (เบลเยี่ยม) – ซาร์จาห์ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) – สิงคโปร์ ในวันพุธ [5] และให้บริการเส้นทาง สิงคโปร์ – ฮ่องกง – ดัลลัส – ชิคาโก้ – บรัสเซลส์ – มุมไบ (อินเดีย) – สิงคโปร์ ในวันศุกร์ นอกจากนี้ยังเป็นสายการบินขนส่งสินค้าประเทศที่สามรายแรกที่ให้บริการบินตรงระหว่างประเทศจีนกับสหรัฐอเมริกา ในเส้นทาง เซียะเหมิน – นานกิง – ชิคาโก้ – ลอสแอนเจลิส – นานกิง [6] และในเดือนมีนาคม 2004 ได้เริ่มบินเส้นทาง นิวยอร์ก – บรัสเซลส์ – คูเวต – โคลอมโบ (ศรีลังกา) – สิงคโปร์ [7]

ฝูงบินของสิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก
เครื่องบิน จำนวน สั่งซื้อ Cargo capacity
โบอิง 747-400BCF 2 110 ตัน
โบอิง 747-400F 11 110 ตัน
รวม 13 0
เครื่องบินขนส่งสินค้าโบอิง 747-400Fของสิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก

เส้นทางบิน แก้

  • สิงคโปร์ (Singapore Changi Airport) ประเทศสิงคโปร์
  • ซาร์จาห์ (Sharjah International Airport) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  • บรัสเซลส์ (Brussels Airport) ประเทศเบลเยียม
  • ไนโรบี (Jomo Kenyatta International Airport) ประเทศเคนยา
  • โจฮันเนสเบิร์ก (Johannesburg International Airport) ประเทศแอฟริกาใต้
  • ฮ่องกง (Hong Kong International Airport) สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • มาเก๊า (Macau International Airport) สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • นานกิ่ง (Nanjing Lukou International Airport) สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • เซี่ยงไฮ้ (Shanghai Pudong International Airport) สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • เทียนจิน (Tianjin Binhai International Airport) สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • เซียะเหมิน (Xiamen Gaoqi International Airport) สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • ไทเป (Taiwan Taoyuan International Airport) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
  • นาโกยา (Chubu Centrair International Airport) ประเทศญี่ปุ่น
  • โอซาก้า (Kansai International Airport) ประเทศญี่ปุ่น
  • โตเกียว (Narita International Airport) ประเทศญี่ปุ่น
  • อาห์เมดาบัด (Sardar Vallabhbhai Patel International Airport) ประเทศอินเดีย
  • บังกาลอร์ (HAL Bangalore International Airport) ประเทศอินเดีย
  • เชนไน (Chennai International Airport) ประเทศอินเดีย
  • ไฮเดอราบัด (Rajiv Gandhi International Airport) ประเทศอินเดีย
  • โกลกาต้า (Netaji Subhash Chandra Bose International Airport) ประเทศอินเดีย
  • มุมไบ (Chatrapati Shivaji International Airport) ประเทศอินเดีย
  • นิวเดลี (Indira Gandhi International Airport) ประเทศอินเดีย
  • ฮานอย (Noi Bai International Airport) ประเทศเวียดนาม
  • คูเวต (Kuwait International Airport) ประเทศคูเวต
  • ดูไบ (Dubai International Airport) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  • โคเปนฮากน์ (Copenhagen Airport) ประเทศเดนมาร์ก
  • แฟรงก์เฟิร์ต (Frankfurt International Airport) ประเทศเยอรมนี
  • ไลป์สิก (Leipzig/Halle Airport) ประเทศเยอรมนี
  • อัมสเตอร์ดัม (Schiphol Airport) ประเทศเนเธอร์แลนด์
  • ลอนดอน (London Heathrow Airport) สหราชอาณาจักร
  • แองคอเรจ (Ted Stevens Anchorage International Airport) สหรัฐอเมริกา
  • ชิคาโก (O'Hare International Airport) สหรัฐอเมริกา
  • ดัลลัส (Dallas-Fort Worth International Airport) สหรัฐอเมริกา
  • ลอสแอนเจลิส (Los Angeles International Airport) สหรัฐอเมริกา
  • อเดเลด (Adelaide Airport) ประเทศออสเตรเลีย
  • เมลเบิร์น (Melbourne Airport) ประเทศออสเตรเลีย
  • ซิดนีย์ (Sydney Airport) ประเทศออสเตรเลีย
  • โอ๊คแลนด์ (Auckland Airport) ประเทศนิวซีแลนด์
  • กรุงเทพมหานคร (Suvarnabhumi Airport) ประเทศไทย

อ้างอิง แก้

  1. Cargo Rankings 2006" (November 2008). Airline Business
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-21. สืบค้นเมื่อ 2008-10-29.
  3. [1]
  4. [2]
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-17. สืบค้นเมื่อ 2008-10-29.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-12. สืบค้นเมื่อ 2008-10-29.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-14. สืบค้นเมื่อ 2008-10-29.