ฟ้าเดียวกัน เป็นสำนักพิมพ์ภาษาไทยที่นำเสนอการเคลื่อนไหวทางสังคม ในรูปแบบของขบวนการประชาชนและทางความคิด และเป็นผู้ตีพิมพ์วารสาร ฟ้าเดียวกัน ซึ่งเป็นวารสารรายไตรมาส วางแผงฉบับแรกในปีพ.ศ. 2546 และวางแผงฉบับสุดท้ายในปี พ.ศ. 2565 ฟ้าเดียวกัน มี ธนาพล อิ๋วสกุล เป็นผู้พิมพ์ผู้โฆษณา เจ้าของ และบรรณาธิการใหญ่

ฟ้าเดียวกัน
บรรณาธิการ ธนาพล อิ๋วสกุล
ประเภท สังคม-การเมือง
นิตยสารราย ราย 3 เดือน
ผู้พิมพ์ สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
วันจำหน่ายฉบับแรก ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2546)
วันจำหน่ายฉบับสุดท้าย
— (ฉบับที่)
ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 (2565)[1]
56
ประเทศ ไทย
ภาษา ไทย
เว็บไซต์ sameskybooks.net
เลขมาตรฐานสากลสำหรับนิตยสาร (ISSN) 1685-6880

ในเดือนพฤษภาคม 2565 ฟ้าเดียวกัน ประกาศยุติการตีพิมพ์วารสารรายไตรมาสเนื่องจากขาดแคลนบทความ ในขณะที่สำนักพิมพ์ยังคงดำเนินการตีพิมพ์หนังสือและบทความต่อไปเหมือนเดิม เพียงแค่ยกเลิกส่วนวารสารรายไตรมาสเท่านั้น[1]

ในบทสัมภาษณ์ ลงนิตยสารศิลปวัฒนธรรม[2] ธนาพล อิ๋วสกุล กล่าวว่า

"สังคมไทยในปัจจุบันเติบโตเปิดกว้างจนมาถึงจุดที่ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของประชาชนซึ่งพยายามจะเสนอ 'ทางเลือก/ทางออก' ให้สังคม และความคิดความเห็นที่แตกต่างสวนทางกับความคิดความเชื่อกระแสหลัก ก็พอจะมีที่มีทางอยู่บ้างในพื้นที่สาธารณะ...แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า การเคลื่อนไหวต่อต้านท้าทายสภาวะสังคมจะสามารถลงรากปักฐานได้อย่าง มั่นคง ซ้ำยังมีแนวโน้มที่จะถูกตอบโต้ทำลาย หรือไม่ก็ถูกผนวกกลืนเข้าไปเป็นลูกไล่อยู่ในโครงสร้างเดิม..."

เว็บไซต์ฟ้าเดียวกันถูกกล่าวหาว่ามีเนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เคยถูกปิดกั้นให้เข้าถึงไม่ได้เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551 โดยเจ้าของระบุว่าเป็นเพราะเอกชนผู้ให้บริการพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตยกเลิกการให้บริการ หลังจากผู้ให้บริการรับฝากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ปิดเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพราะกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสั่งการ ด้วยเหตุที่มีเนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ต่อมากระทรวงฯ ปฏิเสธว่าไม่ได้มีการปิดกั้นแต่อย่างใด แต่ได้ให้เจ้าหน้าที่หาข้อมูลความเป็นมาและจับตาการให้บริการ เพราะเนื้อหาค่อนข้างรุนแรง และไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้นที่อยู่ระหว่างไว้อาลัยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์[3] ต่อมายุครัฐบาลสมัคร สุนทรเวช เว็บไซด์กลับมาใช้ได้อีก จนมาถึงรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ยังคงใช้การได้ แม้จะมีหลายฝ่ายร้องเรียนเนื้อหาที่จาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ และแม่กระทั่งในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งมีประกาศนโยบายปกป้องสถาบัน เว็บไซต์นี้ก็ยังใช้การได้เป็นปกติจนถึงปัจจุบัน และในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 37 พ.ศ. 2552 ฟ้าเดียวกันยังได้ร่วมเปิดบูธนิตยสารและหนังสือด้วย[4]

การถูกตรวจพิจารณา

แก้

วารสารฉบับ สถาบันกษัตริย์กับสังคมไทย ที่มุ่งประเด็นการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย โดยการมองสถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง ได้ถูกเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับกรุงเทพมหานคร ลงชื่อโดย พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ห้ามการขายหรือจ่ายแจกและให้ยึดสิ่งพิมพ์ดังกล่าว โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 ด้วยสาเหตุว่าได้ลงโฆษณาอันอาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หนังสือลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2549[5] เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ระบุว่าข้อความใดในวารสารที่เข้าข่ายผิดในข้อหาดังกล่าว แต่ผู้อ่านหลายคนเชื่อว่าบทความที่เป็นปัญหา คือบทสัมภาษณ์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ชื่อ "การมีสถาบันกษัตริย์ถูกกว่าประธานาธิบดี" ซึ่งหากวิญญูชนคนปรกติได้อ่านเนื้อหาบทความนี้แล้วย่อมรับสารที่สื่อออกมาจากบทความได้ว่าหาได้มีเนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างใดไม่

ทางฟ้าเดียวกันได้อุทธรณ์โดยใช้มาตรา 10 ของพ.ร.บ.การพิมพ์ว่า คำสั่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่เปิดให้มีการชี้แจงข้อเท็จจริง นอกจากนี้ทางฟ้าเดียวกันยังได้กล่าวว่า พระะราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 นั้นขัดกับรัฐธรรมนูญ รวมถึงได้ยืนยันสิทธิในการเพยแพร่ ตามแนวทางอารยะขัดขืน โดยจะพิมพ์ซ้ำอีกไม่ต่ำกว่า 6,000 เล่ม และพร้อมเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายทุกกระบวนการถ้ามีการแจ้งความ[6][7]

ธนาพล อิ๋วสกุล ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.สำราญราษฎร์ แจ้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2549 โดยพนักงานนัดไปให้ปากคำในวันที่ 4 เมษายน 2549 โดยธนาพลได้เปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ระบุว่าข้อความใดในวารสารที่เข้าข่ายผิดในข้อหาดังกล่าว[8]

ในช่วงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เดือนตุลาคม 2563 ตำรวจเข้ายึดหนังสือชุดสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ[9]

ในเดือนมกราคม 2565 สำนักพิมพ์ได้รับหมายตรวจค้นจากตำรวจ ในขณะเดียวกัน ธนาพล อิ๋วสกุล เจ้าของและบรรณาธิการใหญ่ของ ฟ้าเดียวกัน ถูกยึดคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์มือถือ[10] ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2565 ธนาพลถูกตำรวจจับกุมในข้อหามีเอกสารลับของราชการไว้ในครอบครอง ที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ[11] เขาได้รับการประกันตัวในวันเดียวกัน โดยมีรังสิมันต์ โรม ใช้ตำแหน่งตนเป็นหลักคำ้ยันการประกันตัว[10] ธนาพลยังคงยืนยันว่าตนไม่ทราบว่า "เอกสารลับ" ที่ว่านั้นคืออะไร

รางวัล

แก้

พ.ศ. 2565

แก้
  • วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ชนะเลิศรางวัล ปรีซ์ วอลแตร์’ (Prix Voltaire)[12] โดย สมาคมผู้จัดพิมพ์นานาชาติ (International Publishers Association)[13] จากความกล้าหาญในการจัดพิมพ์สิ่งพิมพ์เผยแพร่ในสถานการณ์ทางการเมืองที่ถูกปิดกั้นอย่างหนักของรัฐ และกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก[14]

กระดานสนทนา

แก้

สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันเคยเปิดให้บริการกระดานสนทนา หรือเว็บบอร์ดสำหรับพูดคุยแลกเปลี่ยนและสนทนากัน คลายคลึงกับสังคมออนไลน์ในปัจจุบัน โดยในครั้งแรกเปิดตัวพร้อมกับสำนักพิมพ์ในช่วงปี พ.ศ. 2549[15] ใช้ชื่อว่าฟ้าเดียวกันเว็บบอร์ด ก่อนจะถูกปิดกั้นและเปิดกลับมาอีกครั้งและเปลี่ยนชื่อเป็น ชุมชนคนเหมือนกัน โดยได้รับความนิยมในฐานะเว็บบอร์ดสำหรับพูดคุยด้านการเมือง ในช่วงเดียวกันกับ พันทิพ ห้องราชดำเนิน, มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, ประชาไท และ เสรีไทย โดยมีผู้ใช้งานคนสำคัญในกระดานสนทนา อาทิ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล[15]

ประเด็นสำหรับการพูดคุยภายในกระดานสนทนาประกอบไปด้วยเนื้อเกี่ยวกับการวิพากษ์การเมืองในประเด็นต่าง ๆ รวมไปถึงประเด็นเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้กระดานสนทนาดังกล่าวถูกจับตาอย่างหนักหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 และมีการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ซึ่งพึ่งเริ่มมีการใช้งาน[15] และถูกปิดตัวลงครั้งแรกในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551 ผ่านการระงับการให้บริการโฮสต์ของกระดานสนทนาซึ่งอยู่ในประเทศ โดยผู้ดูแลระบบได้แถลงการตอบโต้พร้อมทั้งย้ายระบบไปยังผู้ให้บริการต่างประเทศ เพื่อตอบโต้การละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกในขณะนั้น ในชื่อแถลงการว่า "ปิดได้ ก็เปิด (ใหม่)ได้"[16] และมีการออกหมายเรียกบรรณาธิการสำนักพิมพ์เพื่อขอให้เปิดเผย IP ของสมาชิกซึ่งเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ในกระดานสนทนาหลายครั้ง แต่บรรณาธิการก็ปฏิเสธนอกจากจะมีหมายศาลสั่งมาเท่านั้น

แยกตัวจากสำนักพิมพ์

แก้

ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 บรรณาธิการของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ได้ประกาศแยกโดเมนเนมของกระดานสนทนาฟ้าเดียวกันออกจากเว็บสำนักพิมพ์ พร้อมทั้งประกาศปฏิเสธความรับผิดชอบต่อตัวกระดานสนทนาดังกล่าว ทำให้สมาชิกภายในกระดานสนทนาต้องคัดเลือกผู้ดูแลขึ้นมาใหม่กันเอง พร้อมทั้งลงมติเปลี่ยนชื่อกระดานสนทนาเป็น ชุมชนคนเหมือนกัน (weareallhuman) ในปี พ.ศ. 2553[17][15]

กระดานสนทนาชุมชนคนเหมือนกันปิดตัวลงในช่วงเวลาประมาณปี พ.ศ. 2554 ภายหลังการเข้ามาของสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก[15]

สัญลักษณ์เด่น

แก้

คุณซาบซึ้ง

แก้

คุณซาบซึ้ง เป็นสัญลักษณ์เด่นของกระดานสนทนาดังกล่าว ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากสติ๊กเกอร์ที่มากับกระดานสนทนา[15] มีความหมายที่สื่อถึงนัยยะของสถานการณ์ทางการเมืองบางอย่างที่ในช่วงนั้นไม่สามารถสื่อสารออกมาสาธารณะได้

นอกจากนี้คุณซาบซึ้งได้เป็นสัญลักษณ์ในการแสดงผ่านการนำไปทำสิ่งต่าง ๆ อาทิ เสื้อยืด[18] เข็มกลัด สติ๊กเกอร์

นิทานโรงงานปลากระป๋อง

แก้

นิทานโรงงานปลากระป๋อง เป็นเรื่องเล่าเชิงนิยาย[19]ที่ถูกเขียนขึ้นโดยผู้ใช้ชื่อว่า Hi s[15] มีโครงเรื่องพูดถึงเรื่องราวในโรงงานปลากระป๋องแห่งหนึ่งซึ่งมีตัวละครที่ใช้ชื่อสื่อความหมายถึงบุคคลต่าง ๆ ในสังคม ในช่วงเริ่มต้นมีคนออนไลน์รออ่านประมาณวันละพันกว่าราย และในช่วงสุดท้ายก่อนกระดานสนทนาจะปิดตัวลงมีผู้เข้าชมหัวข้อดังกล่าวถึงเกือบล้านยอดเข้าชม[15] หลังจากนั้นได้มีการเผยแพร่ต่ออีกครั้งผ่านเฟสบุ๊ค และหายไปประมาณปี พ.ศ. 2556[19]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ฟ้าเดียวกันยุติทำวารสาร เหตุบทความส่งเข้ามาน้อยลง หันไปทำหนังสือเล่ม-หนังสือชุดแทน". MGR Online. 2022-05-26. สืบค้นเมื่อ 2022-06-30.
  2. คอลัมน์สโมสรศิลปวัฒนธรรม. ศิลปวัฒนธรรม. 1 พ.ย. 2546 ปีที่ 25 ฉบับที่ 01. (อ้างตาม ความเห็นในกระดานข่าวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน[1] เก็บถาวร 2007-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  3. ไทยรัฐ, 'ไอซีที' ปัดสั่งบล็อกเว็บ 'ฟ้าเดียวกัน' เจ้าของยังลังเลเอาผิด, 9 มกราคม 2551
  4. ฟ้าเดียวกันยังได้ร่วมเปิดบูธนิตยสาร
  5. ประชาไท, สตช. สั่งยึด ’ฟ้าเดียวกัน’ ฉบับสถาบันกษัตริย์กับสังคมไทย, 29 มีนาคม พ.ศ. 2549
  6. ประชาไท, บ.ก. ฟ้าเดียวกัน ลั่น "ผมไม่กลัวคุณ" เตรียมฟ้องศาลปกครองกรณี สตช. ยึดหนังสือ, 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
  7. ประชาไท, เปิดใจ ‘ธนาพล อิ๋วสกุล’ แห่ง ‘ฟ้าเดียวกัน’, 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
  8. ประชาไท, บ.ก. ฟ้าเดียวกันถูกแจ้งข้อหา หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ, 2 เมษายน พ.ศ. 2549
  9. "ตำรวจบุก "ฟ้าเดียวกัน" ตรวจยึดหนังสือวิจารณ์สถาบันกษัตริย์". ูผู้จัดการออนไลน์. 19 October 2020. สืบค้นเมื่อ 19 October 2020.
  10. 10.0 10.1 "ธนาพล อิ๋วสกุล บ.ก.ฟ้าเดียวกัน ได้ประกันตัว งงเจอข้อหาเผยข้อมูลลับของประเทศ". Prachachat. 2022-06-29. สืบค้นเมื่อ 2022-06-30.
  11. "ตำรวจ ปอท. จับ 'บ.ก.ฟ้าเดียวกัน' ข้อหามีเอกสารลับ ตอนนี้ถูกเอาตัวไปโดยไม่รอทนาย". prachatai.com. 2022.
  12. "'ฟ้าเดียวกัน' ชนะรางวัลปรีซ์ วอลแตร์ ของสมาคมผู้จัดพิมพ์นานาชาติ จากการยึดมั่นเสรีภาพอย่างกล้าหาญ". The MATTER (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-09-27.
  13. "Same Sky Publishing announced as 2022 Prix Voltaire laureate". International Publishers Association (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  14. "'ฟ้าเดียวกัน' ได้รางวัลจาก สมาคม สนพ.นานาชาติ บก.แจงรางวัลนี้สะท้อนรัฐไทยปิดปากคนเห็นต่าง". prachatai.com.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 15.6 15.7 "รู้จักรุ่นพี่ตาสว่าง 'เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน' การแลกเปลี่ยนเรื่องสถาบันในโลกออนไลน์ยุคแรก". prachatai.com.
  16. "แถลงการณ์จากฟ้าเดียวกัน "ปิดได้ ก็เปิด (ใหม่) ได้" เปิดตัวเว็บบอร์ดใหม่ (ชั่วคราว)". prachatai.com.
  17. "dmc: เวบไซต์ชุมชนคนเหมือนกันออกแถลงการณ์กรณีกองปราบเตรียมดำเนินคดีหมิ่นฯต่อ50สมาชิก". dmc. 2011-05-04.
  18. "0000010032 เสื้อ คุณซาบซึ้ง | พิพิธภัณฑ์สามัญชน". commonmuze.com.
  19. 19.0 19.1 "โรงงานปลากระป๋อง (ตอนที่ ๑ - ๕๐): วรรณกรรม/ดราม่า/เสียดสีสังคม". ReadAWrite.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้