สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ

ตราสัญลักษณ์

สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency -EPA) หรือ "อีพีเอ" เป็นหน่วยงานระดับประเทศ หรือระดับรัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา มีหน้าที่ดูแลปกป้องสุขภาพของมวลมนุษย์และปกป้องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ซึ่งได้แก่อากาศ น้ำและแผ่นดิน EPA เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2513 จัดตั้งโดยประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน โดยมีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชา หน่วยงานนี้ไม่ใช่กระทรวงแต่ผู้อำนวยการได้รับการเทียบเท่ากับรัฐมนตรี ผู้อำนวยการคนปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) คือนายสตีเฟน แอล จอห์นสัน (Stephen L. Johnson) และผู้ช่วยผู้อำนวยการคือนายมาร์คัส พีคอค พนักงานเต็มเวลาในหน่วยงานนี้มีจำนวนประมาณ 18,000 คน[1]

ภาพรวม แก้

 
ที่ทำการใหญ่ของ อีพีเอ.ในวอชิงตัน ดีซี

อีพีเอ.มีพนักงาน 17,000 คนในสำนักงานใหญ่ ในสำนักงานภาค 10 แห่งและในหอปฏิบัติการทดลองที่กระจายทั่วประเทศ 27 แห่ง มากกว่าครึ่งของพนักงานเป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อมและกลุ่มอื่นที่รวมทั้ง ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย สาธารณกิจ การคลังและผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์


สำนักงานฯ ทำหน้าที่ดำเนินการประเมินสิ่งแวดล้อม วิจัยและให้การศึกษา มีความรับผิดชอบหลักในด้านการกำหนดและใช้บังคับมาตรฐานระดับชาติภายใต้กฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับต่างๆ โดยการปรึกษาหารือกับรัฐต่างๆ ชนเผ่าและรัฐบาลส่วนท้องถิ่น ในบางกรณี อีพีเอ.จะมอบอำนาจหน้าที่การให้การอนุญาต, และการตรวจตราเฝ้าระวังให้แก่รัฐต่างๆ และแก่ชนอเมริกันพื้นเมือง อีพีเอ.ใช้อำนาจโดยการปรับ การบังคับและอื่นๆ

สำนักงานฯ ทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและกับรัฐบาลทุกระดับในโครงการปกป้องสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ตามความสมัครใจ และโครงการอนุรักษ์พลังงาน


ประวัติ แก้

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันได้นำส่งแผนปรับปรุงองค์การหมายเลข 3 (Reorganization Plan No. 3) ต่อรัฐสภาด้วยมติคณะรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมโดยให้เป็นหน่วยงานเอกเทศที่มีความเป็นอิสระจากการบังคับบัญชาของหน่วยงานอื่นๆ ที่มีอยู่ในทุกระดับและจากรัฐบาลกลาง ก่อนมีการจัดตั้งอีพีเอ. ยังไม่มีหน่วยงานใดในสหรัฐฯ ที่มีโครงสร้างที่สามารถต่อสู้กับการโจมตีของมลพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษยชาติและการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมอย่างใหญ่หลวง อีพีเอ.ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ทำหน้าที่ซ่อมความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติแล้วนั้น และทำการวางกฎเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับชาวอเมริกันให้ช่วยกันทำให้อเมริกามีความสะอาดและปลอดภัยมากขึ้น


โครงการอากาศ แก้

ดาวพลังงาน แก้

ดูบทความหลัก: ดาวพลังงาน

เมื่อ พ.ศ. 2537 อีพีเอ.ได้เปิดโครงการดาวพลังงานขึ้น ซึ่งเป็นโครงการสมัครใจส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ในปี พ.ศ. 2549 อีพีเอเปิดโครงการในทำนองเดียวกันคือโครงการ "สำนึกน้ำ" ที่ส่งเสริมการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ อีพีเอ.ยังได้บริหารกฎหมายรัฐบาลกลางว่าด้วยยาฆ่าแมลง ยากำจัดเชื้อราและยากำจัดหนู (FIFRA) ซึ่งบังคับมานานก่อนตั้งอีพีเอ. โดยบังคับให้มีการจดทะเบียนการจำหน่ายยากำจัดแมลง เชื้อราและหนูในประเทศสหรัฐฯ รวมทั้งความรับผิดชอบในการตรวจผลการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลกลาง


การทดสอบการประหยัดเชื้อเพลิงและผลลัพธ์ แก้

บริษัทผู้ผลิตถูกบังคับให้นำผลการทดสอบการประหยัดเชื้อเพลิงของอีพีเอ.ไปใช้ในการโฆษณาอัตราการใช้เชื้อเพลิงของรถที่ตนผลิตและห้ามผู้ผลิตใช้ผลทดสอบจากที่อื่นใด การคำนวณการประหยัดน้ำมันใช้ข้อมูลการปลดปล่อยที่เก็บจากผลการทดสอบที่มีใบรับรองตามกฎหมาอากาศสะอาด (Clean Air Act (1970) - 1970) โดยการวัดปริมาณคาร์บอนรวมที่ได้จากการจับจากไอเสียทั้งหมดระหว่างการทดสอบ ผลการคำนวณนี้จะถูกปรับอีกครั้งหนึ่งโดยปรับลง 10% สำหรับการขับขี่ในเมืองและ 22% สำหรับทางหลวงเพื่อชดเชยตามสภาพการขับขี่ซึ่งใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2515

ระบบการทดสอบที่ใช้ในปัจจุบันได้พัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 โดย ทำการจำลองสภาพการขับขี่ในชั่วโมงเร่งด่วนของลอสแอนเจลิส ในสมัยนั้น ก่อน พ.ศ. 2527 อีพีเอยังไม่ได้ปรับค่าประหยัดเชื้อเพลิงลงมาและยังใช้ตัวเลขค่าการประหยัดพลังงานตายตัวที่คำนวณได้จากการทดสอบโดยตรง ในปี พ.ศ. 2549 อีพีเอได้ดำเนินการจัดทำวิธีการทดสอบครั้งสุดท้ายเพื่อปรับปรุงการประหยัดเชื้อเพลิงและการปลดปล่อยใอเสียซึ่งจะมีผลใช้บังคับกับรถยนต์รุ่น 2008 เป็นต้นไป[2] เป็นการวางรอบกรรมวิธีการทดสอบ 12 ปีเป็นครั้งแรก

นับถึงปัจจุบัน ปรากฏว่าผู้ใช้รถเกือบทั้งหมดรายงานว่ารถยนต์ที่ใช้อยู่โลกแห่งความจริงประหยัดเชื้อเพลิงได้มากกว่าข้อกำหนดของอีพีเอ ปัญหานี้เห็นได้ชัดเจนมากในรถยนต์ลูกผสม (hybrid vehicle).......

คุณภาพของอากาศและมลพิษในอากาศ (Air quality and air pollution) แก้

การป้องกันมลภาวะจากน้ำมัน (Oil Pollution Prevention) แก้

ห้องสมุด แก้

ข้อถกเถียง แก้

การห้ามใช้ดีดีที แก้

การปลดปล่อยสารปรอท แก้

ระดับคุณภาพอากาศเหตุการณ์ 9/11 แก้

ดู EPA 9/11 pollution controversy

ปรากฏการณ์โลกร้อน แก้

การปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก แก้

การประหยัดเชื้อเพลิง แก้

อนุภาคแขวนลอยขนาดเล็กมากในอากาศ (Very fine airborne particulates) แก้

การทบทวนมาตรฐานอากาศสะอาด (Review of air quality standards) แก้

สำนักงานอีพีเอ แก้

รายชื่อผู้อำนวยการสำนักปกป้องสิ่งแวดล้อม แก้

พ.ศ. 2513-2516 William D. Ruckelshaus
พ.ศ. 2516-2520 Russell E. Train
พ.ศ. 2520-2524 Douglas M. Costle
พ.ศ. 2524-2526 Anne M. Gorsuch (Burford)
พ.ศ. 2526-2528 William D. Ruckelshaus
พ.ศ. 2528-2532 Lee M. Thomas
พ.ศ. 2532-2536 William K. Reilly
พ.ศ. 2536-2544 Carol M. Browner
พ.ศ. 2544-2546 Christine Todd Whitman
พ.ศ. 2546-2548 Michael O. Leavitt
พ.ศ. 2548-2552 Stephen L. Johnson
พ.ศ. 2552-2556 Lisa Jackson
พ.ศ. 2556-2560 Gina McCarthy
พ.ศ. 2560- Scott Pruitt

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แก้

อากาศ แก้

น้ำ แก้

ผืนแผ่นดิน แก้

สิ่งมีชีวิตชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ แก้

ของเสียอันตราย แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Joseph Kahn and Jim Yardley (August 26, 2007). "As China Roars, Pollution Reaches Deadly Extremes". New York Times.
    Also see U.S. Census Bureau spreadsheet
  2. EPA Fuel Economy

แหล่งข้อมูลอื่น แก้