สำนักงานกรรมการกลาง 39 แห่งพรรคแรงงานเกาหลี

รูม 39 (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ สำนักงานกรรมการกลาง 39 แห่งพรรคแรงงานเกาหลี[1] เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บูโร 39, ดิวิชั่น 39, หรือ ออฟฟิด 39[2]) เป็นองค์กรลับของพรรคแรงงานแห่งเกาหลี ที่พยายามเก็บรักษาเงินสกุลต่างประเทศด้วยการปลอม เพื่อผู้นำประเทศเกาหลีเหนือ[3]

สำนักงานกรรมการกลาง 39 แห่งพรรคแรงงานเกาหลี
โชซ็อนกึล
삼십구호실
ฮันจา
三十九號室
อาร์อาร์Samsipgu-hosil
เอ็มอาร์Samsipku-hosil

มีการนำเงินเข้าองค์กร ระหว่าง $500 ล้าน ถึง $1 พันล้านต่อปี หรือมากกว่านี้[4] และอาจจะเกี่ยวข้องกับกิจการที่ผิดกฏหมาย ตัวอย่างเช่น การปลอมธนบัตร 100 ดอลลาร์, ผลิตสารควบคุม (รวมทั้งการสังเคราะห์เมแทมเฟตามีน และการแปลงมอร์ฟีนที่มีฝิ่นปนเปื้อนสารบริสุทธิ์ เช่น เฮโรอีน) และการฉ้อโกงประกันระหว่างประเทศ[5]

แม้ว่าประเทศเกาหลีเหนือจะถูกโดดเดี่ยว แต่มันก็ยากที่จะประเมินข้อมูลชุดนี้ หลายข้อมูลของ รูม 39 นั้นเป็นวิกฤตศรัทธาของ คิม จ็อง-อึน อย่างต่อเนื่อง การเปิดสำนักงานของเขาสู่การสนับสนุนทางการเมืองและการช่วยกองทุน อาวุธนิวเคลียร์[6]

เชื่อกันว่าที่ทำการ รูม 39 ตั้งอยู่ภายในอาคารใน พรรคแรงงานแห่งชาติ ที่เปียงยาง[7] ไม่ไกลจากบ้านพักของผู้นำประเทศเกาหลีเหนือ

ประวัติ แก้

รูม 39 ก่อตั้งขึ้นโดย คิม อิล-ซ็อง ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 ได้รับการอธิบายเป็นหลักสำคัญที่ทำให้ประเทศเกาหลีเหนืออยู่ได้ โดยเรียกว่า "ศาลเศรษฐกิจ" ศูนย์กลางในราชวงศ์คิม[8] ปัจจุบันยังไม่มีใครทราบถึง ต้นกำเนิดของชื่อรูม 39

ช่วงต้นปี 2010  สำนักข่าวยอนฮับ ของประเทศประเทศเกาหลีใต้ รายงานว่า คิม ด็อง-อึน หัวหน้าสำนักงานเป็นรองหัวหน้าแทน จอน อิล-ชุน[9]

โชซ็อน อิลโบ รายงานเรื่อง รูม 38 นำโดยคิม จ็อง-อิล รวมเข้ากับ รูม 39 ในช่วงปลายปี 2009 แต่ทั้งสองสำนักงานก็แยกอีกครั้งในปี 2010 the two were split again in 2010 เนื่องจากความแตกต่างในการได้รับสกุลเงินต่างประเทศ[10]

วัตถุประสงค์และกิจกรรม แก้

รูม 39 เกี่ยวข้องกับการจัดการสกุลเงินต่างประเทศ รายได้มาจากคนต่างชาติมาอาศัยโรงแรมในกรุงเปียงยาง, ทองคำและการทำเหมืองแร่สังกะสี, และการเกษตรและการส่งออกประมง เชื่อว่าหลายบริษัทถูกควบคุมโดย รูม 39 ประกอบด้วย การค้าโซควัง และ ธนาคารทาเอะซ็อง

รายงานปี 2007 เผยแพร่โดย โครงการไมเลินเนียม ของ สมาคมสหพันธ์แห่งสหประชาชาติโลก รายงานว่า เกาหลีเหนือสร้างรายได้กว่า 500 ถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีจากวิสาหกิจอาชญากร[11]

ในปี 2009 วอชิงตันโพสต์ระบุรายงานร่างแผนประกันภัยการทุจริตทั่วโลก ของรัฐบาลเกาหลีเหนือ ในชื่อคอร์ปประกันภัยแห่งชาติเกาหลี (เคเอ็นไอซี) โดยหาสัญญารับประกันภัย กับบริษัทประกันภัยต่างประเทศและยื่นคำร้องในการฉ้อโกง สัญญาดังกล่าวอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศเกาหลีเหนือ และความท้าทายทางกฎหมายก็ไร้ผล

ยังเชื่ออีกว่า รูม 39 ดำเนินธุรกิจร้านอาหารเกาหลีเหนือ ที่ชื่อว่าเปียงยาง[12][12][11]

ในปี ค.ศ. 2015 สหภาพยุโรปได้มีมติเกี่ยวกับเคเอ็นไอซี โดยลงโทษและเพิ่มเคเอ็นไอซีเป็นหนึ่งในองค์กร รูม 39 [13] เคเอ็นไอซี (เป็นสำนักงานในเมืองฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี และลอนดอน สหราชอาณาจักร) โดยได้รายงานทรัพย์สินว่ามีทรัพย์สินราว 787 ล้านปอนด์ ในปี ค.ศ. 2014 โดยมีส่วนร่วมในการหลอกลวงตลาดประกันภัยและกองทุนอสังหาริมทรัพย์ และการเปลี่ยนเงินตราในต่างปรเทศ[14] แท ย็อง-โฮ อดีตผู้ช่วยเอกอัคราชทูตเกาหลีเหนือประจำสหราชอาณาจักรที่ได้หลบหนีจากประเทศในปี ค.ศ. 2016 ได้กล่าวถึงประเทศเกาหลีเหนือว่า ในแต่ละปีเกาหลีเหนือได้รับคนละ "สิบล้านดอลลาร์สหรัฐ" จากการฉ้อโกงประกัน[15]

รี จ็อง โฮ เป็นเจ้าหน้าอาวุธโส ประจำองค์กร รูม 39 ประมาณ 30 ปี เขาได้แปรพักตร์มาอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้ในปี ค.ศ. 2014 และประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2016 รียังเป็นประธานกลุ่ม คัมกังเกาหลี โดยได้ร่วมกับนักธุรกิจชาวจีนในบริษัทแท็กซี ในกรุงเปียงยาง[16] บริษัทการส่งสินค้าของประธานาธิบดีเกาหลีเหนือ ประธานสาขาในแดงฮยอง บริษัทการค้าเกาหลีเหนือที่เกี่ยวกับ อาหารทะเล, ถ่านหิน, การส่งสินค้า และน้ำมัน

ในปี ค.ศ. 2017 บทความในหนังสือพิมพ์ รี อธิบายถึง วิธีหลีกเลี่ยงจากการคว่ำบาตรโดยการโอนเงินสดจากประเทศจีนไปยังประเทศเกาหลีเหนือด้วยทางเรือและรถไฟ[17]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Rosett, Claudia (15 April 2010). "Kim Jong Il's 'Cashbox'". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2015-07-09.
  2. Landler, Mark (August 30, 2010). "New U.S. Sanctions Aim at North Korean Elite". The New York Times.
  3. David Rose (August 5, 2009). "North Korea's Dollar Store". Vanity Fair.
  4. Rose, David (September 2009). "North Korea's Dollar Store". Vanity Fair. สืบค้นเมื่อ 9 June 2015.
  5. "Global Insurance Fraud By North Korea Outlined". Washington Post. June 18, 2009.
  6. David Rose (August 5, 2009). "North Korea's Dollar Store". Vanity Fair.
  7. Kelly Olsen (June 11, 2009). "New sanctions could hit North Korea's fundraising". The Guardian.
  8. "North Korea fires head of secret bureau 'Room 39'". CTV News. Feb 4, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-23. สืบค้นเมื่อ 2017-07-15.
  9. "Report: NKorea Fires Director of Kim's Finances". AP. February 4, 2010.
  10. "Kim Jong-il Restores Special Department to Swell Coffers". Chosun Ilbo. June 22, 2010.
  11. Olsen, Kelly (June 11, 2009). "North Korea's secret: Room 39".
  12. Strangio, Sebastian (March 22, 2010). "Kingdom Kim's Culinary Outposts: Inside the bizarre world of Asia's North Korean restaurant chain". Slate.
  13. Booth, Robert (2017-04-23). "UK freezes assets of North Korean company based in south London". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.
  14. Gadher, Dipesh (2017-04-23). "Kim cooked up 'nuclear cash' in the suburbs". The Sunday Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.
  15. Gadher, Dipesh (2017-04-23). "Secrets of Kim's little house in the suburbs". The Sunday Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.
  16. Pearson, James (2015-10-19). "Taxis parade once-empty streets of North Korean capital". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2017-07-13.
  17. Fifield, Anna (2017-07-13). "He ran North Korea's secret moneymaking operation. Now he lives in Virginia". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2017-07-13.

บรรณานุกรม แก้