สารานุกรมภาษาไทย

การจัดทำสารานุกรมในภาษาไทย เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2486[1] โดยราชบัณฑิตยสถาน แต่ก็หยุดชะงักไป จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2497 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี (ในตำแหน่งบังคับบัญชาราชบัณฑิตยสถาน) ในขณะนั้น ได้เสนอให้ราชบัณฑิตยสถานวางโครงการจัดทำสารานุกรมไทยขึ้นมาใหม่ แล้วเสนอต่อนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาอนุมัติตั้งคณะบรรณาธิการทำสารานุกรม โดยมี พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) เป็นประธานคนแรก โดยได้จัดทำในชื่อ สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งถือเป็นสารานุกรมเล่มแรกในประเทศไทย โดยจัดทำเดือนละ 2 เล่ม เล่มละ 2 หน้ายก และจัดพิมพ์รวมเล่มเป็นขนาดใหญ่ โดยจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2498 ซึ่งปัจจุบันจัดพิมพ์ครบทุกตัวอักษรแล้ว โดยใช้เวลาถึง 60 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498-2558 รวม 30 เล่ม

ในปี พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดทำสารานุกรมไทยโดยรวบรวมความรู้จากแขนงต่างๆ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสอ่านและศึกษาจากสารานุกรมนี้ด้วยตนเอง โดยได้จัดพิมพ์หนังสือสารานุกรมเล่มแรกเมื่อปี พ.ศ. 2516[2] ปัจจุบันจัดพิมพ์ไปแล้ว 42 เล่ม นอกจากนี้ยังมีหนังสือ สารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก, สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฉบับเสริมการเรียนรู้ เป็นต้น

ตัวอย่างสารานุกรมภาษาไทย แก้

หนังสือ แก้

  • สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา (2498-ปัจจุบัน: 30 เล่ม)
  • สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน (2516-ปัจจุบัน: 42 เล่ม)
  • สารานุกรมไทย โดย อุทัย สินธุสาร (2516: 25 เล่ม)
  • พจนะ-สารานุกรมฉบับทันสมัย โดย เปลื้อง ณ นคร (2518: เล่ม 1 พจนานุกรม, เล่ม 2 สารานุกรม)
  • สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย (2517) และ สารานุกรมวัฒนธรรมไทย โดย ส.พลายน้อย
  • Britannica Concise Encyclopedia ฉบับภาษาไทย (2551: 3 เล่ม)

ออนไลน์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. รอง ศยามานนท์ (2526). "วิวัฒนาการของสารานุกรม". ราชบัณฑิตยสถาน ๔ (เมษายน-มิถุนายน 2526): 25-33.
  2. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=history/his-sara.htm