สามเหลี่ยมจิตรลดา

สามเหลี่ยมจิตรลดา เป็นสามเหลี่ยมกลับรถจักรเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ยังมีการใช้งาน ตั้งอยู่ในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างสถานีรถไฟกรุงเทพ - สถานีรถไฟจิตรลดา

แผนที่สามเหลี่ยมจิตรลดา

ส่วนประกอบ

แก้

สามเหลี่ยมจิตรลดา ประกอบด้วยทางรถไฟที่เป็นรางทางตรง (ฐานสามเหลี่ยม) อยู่ในแนวเหนือ-ใต้ (สามเสน-กรุงเทพ) กับด้านประกอบมุมยอดเป็นทางโค้ง

สามเหลี่ยมจิตรลดาช่วยให้การเดินรถระหว่างกรุงเทพ-สามเสน และมักกะสัน ทำได้ทุกทิศทาง โดยไม่ต้องกลับทิศขบวนรถ มีมุมด้านเหนือ อยู่ที่ถนนศรีอยุธยา (ใกล้แยกเสาวนี) มุมด้านใต้อยู่ที่ถนนเพชรบุรี (แยกยมราช) และมุมด้านตะวันออก อยู่ที่ถนนพระราม 6 (ใกล้แยกอุรุพงษ์) ระยะทางยาวด้านละประมาณ 700-800 เมตร ตรงกลางสามเหลี่ยม มีสระขนาดใหญ่ ชื่อว่า "สระแก้ว"

โค้งด้านเหนือ (สามเสน - มักกะสัน)

แก้

แยกออกจากเส้นทางสายหลักที่ถนนศรีอยุธยา (ใกล้แยกเสาวนี) โค้งเลียบถนนกำแพงเพชร 5 บรรยากาศข้างทางเป็นป่าไม้หย่อม ๆ บรรจบกับโค้งด้านใต้ที่สถานีรถไฟมักกะสัน (ก่อนถึงมักกะสัน รางในโค้งที่ 2 จะขนานกัน ทำให้มีลักษณะคล้ายทางคู่) มีรถไฟผ่านเพียงวันละ 1 ขบวน ไม่นับรวมรถสินค้า คือ ขบวนรถชานเมืองที่ 376 รังสิต - หัวตะเข้ ในเวลารุ่งเช้า

โค้งด้านใต้ (กรุงเทพ - มักกะสัน)

แก้

แยกออกจากเส้นทางสายหลักที่ถนนเพชรบุรี (แยกยมราช) โค้งเลียบทางด่วนพิเศษศรีรัช บรรยากาศข้างทางเป็นชุมชนแออัด ขบวนรถไฟที่ผ่านได้แก่ รถไฟสายตะวันออกทุกขบวน

จุดบรรจบ

แก้

โค้งรถไฟทั้ง 2 จะมาขนานกันที่ถนนพระราม 6 (ใกล้แยกอุรุพงษ์) ทำให้ดูเหมือนเป็นทางคู่ และรางจะบรรจบกันที่สถานีรถไฟมักกะสัน

การนับเสาโทรเลข

แก้

โค้งด้านเหนือจะมีการกำหนดพิกัดเสาโทรเลขล้อกับโค้งด้านใต้

  • โค้งด้านใต้ ใช้ระบบพิกัดเสาโทรเลขแบบลดลงไปเรื่อยๆ เช่น 3/2 3/1 2/16 2/15 2/14 2/13...
  • โค้งด้านเหนือ ใช้ระบบพิกัดเดียวกันกับโค้งด้านใต้ เช่น 3/2 3/1 2/16 2/15 2/14 2/13...

พิกัดเสาโทรเลขที่เลขน้อยที่สุดของโค้งด้านเหนือคือ 2/7 พอเลยเสาโทรเลขที่ 2/7 สายโทรเลขก็ไปเชื่อมกับเสาโทรเลขที่ 2/15 ของทางรถไฟสายเหนือ ณ หอประแจจิตรลดา

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้