สะพานมิตรภาพไทย–กัมพูชา (อรัญประเทศ–ปอยเปต)
สะพานมิตรภาพไทย–กัมพูชา (อรัญประเทศ–ปอยเปต) (อังกฤษ: Thailand–Cambodia Friendship Bridge (Aranyaprathet – Poipet); เขมร: ស្ពានមិត្តភាព)[1] เป็นสะพานข้ามคลองลึก เชื่อมต่อระหว่างบ้านคลองลึก ตำบลอรัญประเทศ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ประเทศไทย กับเมืองปอยเปต อำเภอโอโจรว จังหวัดบันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา[2] จังหวัดบันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างแดนของไทยกับกัมพูชาแห่งแรก
สะพานมิตรภาพไทย–กัมพูชา | |
---|---|
![]() บนสะพานมิตรภาพ มุ่งหน้ากัมพูชา | |
พิกัด | 13°39′41″N 102°32′58″E / 13.6615°N 102.5495°E |
เส้นทาง | ![]() ![]() |
ข้าม | คลองลึก |
ที่ตั้ง | ![]() ![]() |
ชื่อทางการ | สะพานมิตรภาพ |
ท้ายน้ำ | สะพานมิตรภาพไทย–กัมพูชา (บ้านหนองเอี่ยน–สตึงบท) |
ข้อมูลจำเพาะ | |
วัสดุ | คอนกรีตเสริมเหล็ก |
ประวัติ | |
วันเริ่มสร้าง | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 |
วันสร้างเสร็จ | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2536 |
วันเปิด | พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 |
ที่ตั้ง | |
![]() |
ความเป็นมา
แก้สะพานมิตรภาพไทย–กัมพูชา (อรัญประเทศ–ปอยเปต) ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร[3] มอบหมายให้กรมทหารช่าง กองทัพบก โดยกองพันทหารช่างเฉพาะกิจที่ 1[4] ซึ่งมีภารกิจในการช่วยฟื้นฟูประเทศกัมพูชาภายหลังสภาวะสงคราม โดยภารกิจหลักคือการฟื้นฟูทางหลวงและกวาดล้างรื้อถอนทุ่นระเบิดตามทางหลวงหมายเลข 5 ของกัมพูชาซึ่งต่อเนื่องมาถึงชายแดนไทย เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ความกว้าง 17 เมตร ยาว 50 เมตร ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 เสร็จสิ้นในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2536[4] และมอบให้เป็นของขวัญแด่ประชาชนชาวกัมพูชาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2536[3][1]
หลังจากนั้น สะพานมิตรภาพจึงกลายเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางข้ามผ่านแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชามาจนถึงปัจจุบัน[5] โดยมีการติดตั้งประตูปิดเปิดไว้ในทั้งสองด้านของสะพานเพื่อใช้ควบคุมการเข้าออกระหว่างประเทศในสถานการณ์ต่าง ๆ[6]
เส้นทางเชื่อมต่อ
แก้สะพานมิตรภาพไทย–กัมพูชา (อรัญประเทศ–ปอยเปต) เชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 ผ่านจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึกในฝั่งประเทศไทย และทางหลวงหมายเลข 5 ผ่านด่านพรมแดนปอยเปตในประเทศกัมพูชา[7] ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 1
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Jib. "#เที่ยวไม่กลับบ้าน มารพิณ: รีวิววิธีข้ามแดนไทยกัมพูชา โรงเกลือไปปอยเปต". #เที่ยวไม่กลับบ้าน มารพิณ.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ข้อมูลช่องทางผ่านแดนและความตกลงเรื่องการสัญจรข้ามแดน - ตารางจุดผ่านแดนทั่วประเทศ 19 มี.ค. 2561 (ด้านกัมพูชา)". www.fad.moi.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-06. สืบค้นเมื่อ 2022-06-16.
- ↑ 3.0 3.1 "ภาพถ่ายจารึกบนสะพานมิตรภาพ ไทย - กัมพูชา | Google Maps". Google Maps.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 "..:: กรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังษี อ.เมือง จว.ราชบุรี ::." www.engrdept.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-09. สืบค้นเมื่อ 2022-06-16.
- ↑ "[CR] ปุ๊บปั๊บเสียมเรียบ เที่ยวมหาปราสาทมรดกโลก นครวัด นครธม". Pantip.
- ↑ "พ่อค้าแม่ค้าเขมร ฮือปิดสะพานด่านอรัญฯ เข้าใจผิดคิดว่าศุลกากรรีดภาษีแพง". www.thairath.co.th. 2017-03-30.
- ↑ "กมธ.คมนาคม ตรวจดูความคืบหน้าหน้าเขต ศก.พิเศษ อรัญประเทศ-ปอยเปต". www.thairath.co.th. 2016-06-21.