สะพานมหาดไทยอุทิศ

สะพานมหาดไทยอุทิศ หรือชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า สะพานร้องไห้ เปิดใช้เป็นทางการเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2457 เป็นสะพานของถนนบริพัตร ในพื้นที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เพื่อข้ามคลองมหานาค ณ จุดบรรจบระหว่างคลองมหานาคกับคลองรอบกรุงหรือคลองโอ่งอ่าง-บางลำพู มาเชื่อมกับถนนดำรงรักษ์และถนนหลานหลวง รวมทั้งถนนราชดำเนิน

สะพานมหาดไทยอุทิศ
เส้นทางถนนบริพัตร
ข้ามคลองมหานาค
ที่ตั้งแขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
ชื่ออื่นสะพานร้องไห้
ตั้งชื่อตามกระทรวงมหาดไทย
ผู้ดูแลกรุงเทพมหานคร
สถานะเปิดใช้งาน
เหนือน้ำคลองรอบกรุง
ท้ายน้ำสะพานนริศดำรัส
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานแบบคาน
จำนวนตอม่อ2
ประวัติ
วันเปิด23 ตุลาคม พ.ศ. 2457
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนสะพานมหาดไทยอุทิศ
ขึ้นเมื่อ18 มีนาคม พ.ศ. 2518
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0000110
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานมหาดไทยอุทิศตั้งอยู่ใกล้เคียงกับภูเขาทอง วัดสระเกศและป้อมมหากาฬ สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยร่วมกับข้าราชการของกระทรวงทั่วประเทศร่วมกันบริจาคค่าก่อสร้าง ซึ่งรวมเงินได้ 41,241 บาท 61 สตางค์ มอบให้กรมสุขาภิบาลเป็นผู้สร้าง สิ้นค่าก่อสร้างไปทั้งสิ้น 57,053 บาท 29 สตางค์ ส่วนที่เกินโปรดเกล้าให้กรมสุขาภิบาลออกเงินสมทบ

การก่อสร้างสะพานมหาดไทยอุทิศเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อให้การสัญจรไปมาสะดวกขึ้นเนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่รวมของถนนหลายสาย แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามสะพานมหาดไทยอุทิศและโปรดเกล้าให้กรมสุขาภิบาลทำหุ่นจำลองตัวสะพานไปตั้งถวายตัวในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

สะพานมหาดไทยอุทิศมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและก่อสร้างตามวิธีสมัยใหม่ กลางราวสะพานด้านขวามีภาพประติมากรรมนูนต่ำเป็นรูปสตรีอุ้มเด็ก ในมือมีช่อดอกซ่อนกลิ่น ด้านซ้ายเป็นรูปผู้ชายยืนจับไหล่ของเด็ก เป็นภาพแสดงถึงความโศรกเศร้าอาลัยรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นที่มาของชื่อ "สะพานร้องไห้"

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดสะพานด้วยพระองค์เองในคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม 2457[1]

นอกจากนี้แล้ว ในปัจจุบัน สะพานมหาดไทยอุทิศยังเป็นสะพานที่เป็นโบราณสถานที่สามารถให้รถวิ่งข้ามได้เพียงแห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร โดยไม่ได้มีการขยายพื้นที่ของสะพานออก จึงยังคงสภาพเดิมตั้งแต่แรกสร้างไว้ได้มากถึงร้อยละ 90

ระเบียงภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  • แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, ม.ร.ว. มรดกสถาปัตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ สำนักราชเลขาธิการพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. 2538
  • กนกวลี ชูชัยยะ. พจนานุกรมสามานยนามไทย: วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม. ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์เผยแพร่ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 พ.ศ. 2548.
  • ใหม่ซ้อน, ณัฐดนัย (2015-09-12). "'สะพานมหาดไทยอุทิศ' เพชรล้ำค่ามรดกทางวัฒนธรรม". สำนักข่าวอิศรา.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°45′21″N 100°30′22″E / 13.755737°N 100.506199°E / 13.755737; 100.506199

สะพานข้ามคลองมหานาคในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
คลองรอบกรุง
สะพานมหาดไทยอุทิศ
 
ท้ายน้ำ
สะพานนริศดำรัส