ป้อมมหากาฬ

ป้อมปราการเก่าแก่ในกรุงเทพมหานคร

ป้อมมหากาฬ ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ติดกับถนนมหาไชย แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ทางด้านหลังมีกำแพงเมืองพระนครหลงเหลืออยู่

ป้อมมหากาฬ
Fort Mahakan The day.jpg
ป้อมมหากาฬ
ประเภทป้อมปราการ
ที่ตั้งแขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°45′20″N 100°30′20″E / 13.7556218°N 100.5055368°E / 13.7556218; 100.5055368
ความสูง15 เมตร
ความยาว38 เมตร
สร้างเมื่อพ.ศ. 2326
สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
การใช้งานดั้งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของระบบกำแพงเมืองและป้อมปราการกรุงเทพมหานคร
บูรณะพ.ศ. 2525
สถานะปิดใช้งาน, ยังมีอยู่
ผู้ดูแลกรมศิลปากร
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนป้อมมหากาฬพร้อมด้วยปราการ
ขึ้นเมื่อ22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0000002
สี่แยก ทางแยก
ชื่ออักษรไทยป้อมมหากาฬ
ชื่ออักษรโรมันPom Maha Kan
รหัสทางแยกN398
ที่ตั้งแขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนราชดำเนินนอก
» สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
ถนนมหาไชย
» แยกสำราญราษฎร์
ถนนราชดำเนินกลาง
» อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ถนนพระสุเมรุ
» แยกสะพานวันชาติ

ป้อมมหากาฬสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ในปี พ.ศ. 2326 เป็นป้อม 1 ใน 14 ป้อมที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อป้องกันรักษาพระนคร มีลักษณะรูปแปดเหลี่ยม มีกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น เป็นป้อมประจำพระนครด้านตะวันออก ปัจจุบันป้อมมหากาฬเป็น 1 ใน 2 ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ในกรุงเทพมหานคร อีกป้อมหนึ่งคือป้อมพระสุเมรุ ทางกรุงเทพมหานคร และกรมศิลปากรได้บูรณะซ่อมแซมป้อมมหากาฬเมื่อคราวพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในปี พ.ศ. 2525 และได้มีการบูรณะเรื่อยมาจนมีสภาพที่เห็นในปัจจุบัน

ที่ตั้งด้านหนึ่งของป้อมเป็นที่อยู่ของชุมชนของผู้คนที่ตั้งรกรากอยู่มาตั้งแต่แรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงด้านลิเกโบราณ รวมถึงเป็นแหล่งจำหน่ายดอกไม้ไฟ หรือพลุต่าง ๆ โดยเป็นแหล่งซื้อขายที่ได้รับความนิยมโดยเฉพาะในวันลอยกระทง ในช่วงรัชกาลที่ 1–4 เป็นบ้านพักขุนนางชั้นสูงหลายท่าน เช่น เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เสนาบดีกรมเวียง (กรมเมือง) ฯลฯ เป็นต้น โดยชุมชนป้อมมหากาฬนี้ ผู้ที่ศึกษาด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศมักจะมาสำรวจและทำวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมฯ ณ ชุมชนแห่งนี้ โดยมีประวัติการชุมนุมและต่อสู้มายาวนานกว่า 20 ปี โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 หลังจากที่คณะรัฐบาลที่มี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีมติคณะรัฐมนตรีออกมา โดยรัฐบาลต้องการปรับปรุงภูมิทัศน์ และปรับพื้นที่ให้เป็นสวนสาธารณะ

แต่ทว่าชาวชุมชนได้ต่อสู้คัดค้านเรื่อยมา แต่ทว่าก็ได้มีการรื้อถอนบ้านเรือนต่าง ๆ ออกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2561 และในวันที่ 24 กรกฎาคม ปีเดียวกันนั้น กรุงเทพมหานครได้เปิดสวนสาธารณะแห่งใหม่ คือ สวนป้อมมหากาฬ ขึ้นมาอย่างเป็นทางการ[1] [2]

อ้างอิงแก้ไข

  1. "กทม.เปิด "สวนสาธารณะป้อมมหากาฬ" อย่างเป็นทางการวันนี้". เวิร์คพอยท์ทีวี. 2016-07-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-26. สืบค้นเมื่อ 2018-07-25.
  2. "ข่าวฟ้ายามเย็น". ฟ้าวันใหม่. 2016-07-24. สืบค้นเมื่อ 2018-07-25.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′20″N 100°30′20″E / 13.7556218°N 100.5055368°E / 13.7556218; 100.5055368