สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิม ศรี เป็นสมเด็จพระสังฆราชไทยพระองค์ที่ 2 แห่งกรุงธนบุรี และเป็นพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสถิต ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2325 สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2337 ดำรงตำแหน่งอยู่ 12 ปี โดยน่าจะมีพระชันษาถึง 81 ปี

สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชไทย พระองค์ที่ 1
ดำรงพระยศพ.ศ. 2325–2337
สถาปนาพ.ศ. 2325
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ก่อนหน้าสมเด็จพระสังฆราช (ดี) (สมัยกรุงธนบุรี)
ถัดไปสมเด็จพระสังฆราช (ศุข)
สถิตวัดระฆังโฆสิตาราม
ศาสนาพุทธเถรวาท
ประสูติพ.ศ. 2256 กรุงศรีอยุธยา
ศรี
สิ้นพระชนม์พ.ศ. 2337 (81 พรรษา)
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

พระประวัติ แก้

พระประวัติในตอนต้นไม่ปรากฏรายละเอียด พบแต่เพียงว่า เดิมเป็นพระอาจารย์ศรีอยู่วัดพนัญเชิงวรวิหาร หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2310 ได้หนีภัยสงครามไปอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปตีเมืองนครศรีธรรมราช ได้อาราธนาพระองค์ให้มาอยู่ที่วัดบางว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) และทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช[1] นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 2 แห่งกรุงธนบุรี

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึ้นครองราชย์ ณ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2325 ได้โปรดเกล้า ฯ ให้คงที่สมณฐานันดรศักดิ์ดังเดิม และไปครองพระอารามตามเดิมด้วย ทรงเห็นว่าเป็นผู้มีความสัตย์ซื่อมั่นคง ดำรงรักษาพระพุทธศาสนาโดยแท้ มิได้อาลัยแก่ร่างกายและชีวิต ควรแก่นับถือเคารพสักการบูชา

พระองค์ทรงเป็นกำลังสำคัญในการชำระและฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทั้งในด้านความประพฤติปฏิบัติของภิกษุสามเณร การบูรณปฏิสังขรณ์พุทธสถาน การชำระตรวจสอบพระไตรปิฎก ตลอดจนการประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป

ทรงถูกถอดจากตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช แก้

ครั้นถึง พ.ศ. 2324 อันเป็นปีสุดท้ายแห่งรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ได้ถูกถอดจากตำแหน่งเนื่องจากได้ถวายวิสัชนาร่วมกับ พระพุฒาจารย์​ วัดบางหว้าน้อย (วัดอมรินทราราม) และพระพิมลธรรม​ วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนหรือวัดโพธิ์) เรื่องพระสงฆ์ปุถุชนไม่ควรไหว้คฤหัสถ์ที่เป็นอริยบุคคล เนื่องจากคฤหัสถ์เป็นหินเพศต่ำ พระสงฆ์เป็นอุดมเพศที่สูง เพราะทรงผ้ากาสาวพัสตร์และพระจาตุปาริสุทธิศีลอันประเสริฐ ดังความว่า

ถึงมาตรว่าคฤหัสถ์เป็นพระโสดาก็ดี แต่เป็นหินเพศต่ำ อันพระสงฆ์ถึงเป็นปุถุชน ก็ตั้งอยู่ในอุดมเพศอันสูง เหตุทรงผ้ากาสาวพัสตร์ และพระจตุปาริสุทธิศีลอันประเสริฐ ซึ่งจะไหว้นบคฤหัสถ์ อันเป็นพระโสดานั้นก็บ่มิควร

ข้อวิสัชนาดังกล่าวนี้ไม่ต้องพระทัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์จึงให้ถอดเสียจากตำแหน่งพระสังฆราช นำไปเฆี่ยนแล้วให้ไปขนของโสโครกที่วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร[1] แล้วทรงตั้งพระโพธิวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช และตั้งพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นพระวันรัต

สมเด็จพระสังฆราชครั้งที่ 2 แก้

ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษกและสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2325 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คืนสู่สมณฐานันดรศักดิ์และพระอารามตามเดิม และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทตรัสสรรเสริญว่าพระองค์ท่านซื่อสัตย์มั่นคงที่จะรักษาพระศาสนาโดยไม่อาลัยชีวิต ควรเป็นที่นับถือ ต่อไปหากมีข้อสงสัยใดในพระบาลี ก็ให้ถือตามถ้อยคำพระองค์ท่าน แล้วให้รื้อตำหนักทองของเจ้ากรุงธนบุรีนั้นไปปลูกเป็นกุฎีถวาย ณ วัดบางว้าใหญ่[2]

สิ้นพระชนม์ แก้

ถึงเดือน 5 ปีขาล จ.ศ. 1156 (พ.ศ. 2337) สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) อาพาธถึงแก่มรณภาพ[3]

การทำสังคายนาครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ แก้

งานสังคายนาพระไตรปิฎกในครั้งนี้ นับเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 2 ของราชอาณาจักรไทย กระทำเมื่อปี พ.ศ. 2331 โดยนำพระไตรปิฎก ที่รวบรวมบรรดาพระไตรปิฎกฉบับที่เป็นอักษรลาว อักษรรามัญ ตรวจชำระแล้วแปลงเป็นอักษรขอม จารึกลงลานประดิษฐานไว้ ณ หอพระมณเทียรธรรม และสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกถวายพระสงฆ์ ไว้ศึกษาทุกพระอารามหลวง เมื่อตอนต้นรัชกาล มาตรวจชำระ โดยอาราธนาสมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะให้ดำเนินการ สมเด็จพระสังฆราชได้เลือกพระราชาคณะฐานานุกรม เปรียญอันดับที่เล่าเรียนพระไตรปิฎกได้พระสงฆ์ 218 รูป กับราชบัณฑิตยาจารย์ 32 คน ทำการสังคายนาที่วัดนิพพานาราม แบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 4 กอง ดังนี้

การชำระพระไตรปิฎกครั้งนี้ใช้เวลา 5 เดือน ได้จารึกพระไตรปิฎกลงลานใหญ่ แล้วปิดทองทึบ ทั้งปกหน้าปกหลัง และกรอบ เรียกว่า ฉบับทอง ทำการสมโภช แล้วอัญเชิญเข้าประดิษฐานในตู้ประดับมุก ตั้งไว้ในหอพระมณเทียรธรรม กลางสระในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
บรรณานุกรม
  • ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (11 สิงหาคม พ.ศ. 2531). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  • สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 51. ISBN 974-417-530-3


ก่อนหน้า สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ถัดไป
สมเด็จพระสังฆราช (ดี)    
สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงธนบุรี
(พ.ศ. 2319 - 2324)
  สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น)
สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น)
(สมัยกรุงธนบุรี)
   
สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
(พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2337)
  สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)